บาลีวันละคำ

กิริยาบุญ (บาลีวันละคำ 4,098)

กิริยาบุญ

คำคนเก่า ฝากคนใหม่ให้ช่วยใช้ 

อ่านว่า กิ-ริ-ยา-บุน

ประกอบด้วยคำว่า กิริยา + บุญ

(๑) “กิริยา” 

รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย แปลง ที่ เป็น อิ, ลง อิ อาคม ที่ –, ลบ ณฺ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

(1) แปลง ที่ เป็น อิ = กรฺ > กิรฺ

(2) ลง อิ อาคม ที่ – = กิรฺ > กิริ

(3) ลบ ณฺ = กิริ + ณฺย = กิริณฺย > กิริย

(4) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ = กิริย + อา > กิริยา

: กร > กิร + อิ = กิริ + ณฺย > = กิริย + อา = กิริยา

กิริยา” ตามความหมายทั่วไป คือ การกระทำ, การปฏิบัติ, กรรม; การที่กระทำลงไป (action, performance, deed; the doing)

กิริยา” ตามความหมายพิเศษ คือ การสัญญา, การสาบาน, การอุทิศ, การตั้งใจ, คำปฏิญาณ; ความยุติธรรม (promise, vow, dedication, intention, pledge; justice)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายความหมายของ “กิริยา” ไว้ดังนี้ –

…………..

1. การกระทำ หมายถึงการกระทำใดๆ ที่กล่าวถึงอย่างกว้างๆ หรืออย่างเป็นกลางๆ ถ้าเป็น “กิริยาพิเศษ” คือเป็นการกระทำซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ก่อให้เกิดวิบาก ก็เรียกว่า กรรม, การกระทำซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ไม่ก่อวิบาก เช่นการกระทำของพระอรหันต์ ไม่เรียกว่ากรรม แต่เป็นเพียงกิริยา (พูดให้สั้นว่า เจตนาที่ก่อวิบาก เป็นกรรม, เจตนาที่ไม่ก่อวิบาก ถ้ามิใช่เป็นวิบาก ก็เป็นกิริยา); ดู กรรม 

2. ในภาษาไทย มักหมายถึงอาการแสดงออกทางกายในเชิงมารยาท บางทีใช้ควบคู่กันว่า กิริยามารยาท 

3. ในทางไวยากรณ์ ได้แก่คำแสดงอาการหรือบอกการกระทำของนามหรือสรรพนาม, ในไวยากรณ์ไทย บางทีกำหนดให้ใช้รูปสันสกฤตว่า กริยา แต่ในบาลีไวยากรณ์โดยทั่วไป ใช้รูปบาลี คือ กิริยา 

…………..

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

กิริยา : (คำนาม) การกระทำ; อาการที่แสดงออกมาทางกาย, มารยาท, เช่น กิริยานอบน้อม กิริยาทราม. (ป.).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกว่า “กิริยา” หมายถึง “คำแสดงอาการหรือบอกการกระทำของนามหรือสรรพนาม, ในไวยากรณ์ไทย บางทีกำหนดให้ใช้รูปสันสกฤตว่า กริยา” 

คำว่า “กริยา” ตามรูปสันสกฤต พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

กริยา : (คำที่ใช้ในไวยากรณ์) (คำนาม) คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม. (ส. กฺริยา; ป. กิริยา).”

อภิปรายแทรก :

โปรดสังเกตว่า “กิริยา” กับ “กริยา” ในภาษาไทยใช้ต่างกันเด็ดขาด กล่าวคือ –

กิริยา” หมายถึง การกระทำหรืออาการที่แสดงออกมาทางกาย ไม่ใช้ในความหมายทางไวยากรณ์ที่ว่า “คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม” 

กริยา” เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์เท่านั้น หมายถึง คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม ไม่ใช้ในความหมายว่าการกระทำหรืออาการที่แสดงออกมาทางกาย

ที่มักใช้กันผิดๆ ก็อย่างเช่น “กริยามารยาท” “บุญกริยาวัตถุ” คำเช่นนี้หมายถึง “การกระทำหรืออาการที่แสดงออกมาทางกาย” ต้องใช้คำว่า “กิริยา” ไม่ใช่ “กริยา” 

เทียบคำอังกฤษอาจช่วยให้จำได้แม่นขึ้น –

กิริยา = action, doing

กริยา = verb

(๒) “บุญ

บาลีเป็น “ปุญฺญ” อ่านว่า ปุน-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม, ลบ ณฺ, แปลง นฺย (คือ อาคม + (ณฺ)- ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ + + ณฺย = ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ 

: ปุชฺช + ชนฺ + = ปุชฺชชนฺ + ณฺย = ปุชฺชชนณฺย > ปุชนณฺย > ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา” 

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย (คือ ที่ กรฺ + ที่ ณฺ) เป็น , ซ้อน ญฺ 

: ปุณฺณ + กรฺ = ปุณฺณกร + ณฺย = ปุณฺณกรณฺย > ปุกรณฺย > ปุรณฺย > ปุรฺย > ปุ (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ” 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “บุญ” เป็นอังกฤษว่า merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works. adj. meritorious; good.

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปุญฺญ” ว่า merit, meritorious action, virtue (บุญ, กรรมดี, ความดี, กุศล)

ปุญฺญ” สันสกฤตเป็น “ปุณฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปุณฺย : (คำคุณศัพท์) ‘บุณย, บุณย์,’ สาธุ, บริศุทธ์, ธรรมิก; สวย, น่ารัก; หอม; virtuous, pure, righteous; beautiful, pleasing; fragrant;- (คำนาม) สทาจาร, คุณธรรม; บุณย์หรือกรรมน์ดี; ความบริศุทธิ; virtue, moral or religious merit; a good action; purity.”

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. (คำวิเศษณ์) ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้คำนิยามใหม่เป็น –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) ความสุข เช่น หน้าตาอิ่มบุญ; การกระทําดีตามหลักคําสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด; ความดี เช่น ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ, คุณงามความดี เช่น เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก, ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น คนใจบุญ, ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน เช่น เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

กิริยา + บุญ = กิริยาบุญ เป็นคำประสมแบบไทย แปลว่า “การกระทำที่พอจะนับได้ว่าเป็นบุญ” 

กิริยาบุญ” เป็นคำของคนเก่า ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยได้ยินและเคยได้อ่านคำที่ว่า “ทำพอเป็นกิริยาบุญ” 

ตัวอย่างที่น่าจะเห็นได้ชัดก็อย่างเช่น ในงานทำบุญเลี้ยงพระ เจ้าภาพจัดดอกไม้ธูปเทียนเครื่องไทยธรรมใส่ถาดเวียนส่งให้แขกที่มาร่วมงานยกขึ้นจบเพื่ออนุโมทนา 

กิริยาที่ยกถาดเครื่องไทยธรรมขึ้นจบนี่แหละ คนเก่าพูดว่า “ทำพอเป็นกิริยาบุญ” 

คือ แม้แขกจะไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องไทยธรรม แต่การที่ยกถาดเครื่องไทยธรรมขึ้นจบก็นับว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เท่ากับมีส่วนร่วมในเครื่องไทยธรรมนั่นด้วย จึงพูดว่า “ทำพอเป็นกิริยาบุญ”

กับอีกนัยหนึ่ง หมายถึงทำการกุศลบางอย่างที่ไม่เต็มที่ตามรูปแบบ หรือทำแบบย่นย่อพอให้ได้ชื่อว่าทำ แบบนี้ก็เรียกว่า “ทำพอเป็นกิริยาบุญ” เช่นกัน

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอฝากคำพูด “ทำพอเป็นกิริยาบุญ” ให้คนรุ่นใหม่ได้ช่วยกันรับรู้ และถ้าเห็นว่าเป็นคำที่มีความหมายงดงาม ก็โปรดช่วยกันพูดช่วยกันใช้ต่อๆ ไปด้วย เป็นการช่วยกันรักษาสมบัติวัฒนธรรมของชาติ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เรียนคำ ไม่จน

: เรียนคน ไม่จบ

#บาลีวันละคำ (4,098)

1-9-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *