บาลีวันละคำ

อภัยโทษ (บาลีวันละคำ 4,099)

อภัยโทษ

ให้อภัยแบบไทยๆ

อ่านว่า อะ-ไพ-ยะ-โทด

ประกอบด้วยคำว่า อภัย + โทษ 

(๑) “อภัย” 

อ่านว่า อะ-ไพ แยกศัพท์เป็น + ภัย

(ก) “” (อะ) รูปคำเดิมเป็น “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

กฎการประสมของ + คือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ คำหลังคือ “ภย” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – จึงต้องแปลง เป็น

(ข) “ภัย” ภาษาไทยอ่านว่า ไพ บาลีเป็น “ภย” อ่านว่า พะ-ยะ รากศัพท์มาจาก ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี (ที่ ภี) เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ภี + = ภีณ > ภี > เภ > ภย แปลตามศัพท์ว่า “ความกลัว” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภย” เป็นอังกฤษว่า fear, fright, dread (ความกลัว, ความหวาดหวั่น, สิ่งที่น่ากลัว)

บาลี “ภย” สันสกฤตก็เป็น “ภย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ – 

ภย : (คำวิเศษณ์) อันน่ากลัว; frightful; dreadful. – (คำนาม) ‘ภย. ภัย,’ ความกลัว; อันตราย; fear; danger or peril.”

ภย” ใช้ทับศัพท์ในภาษาไทยว่า “ภัย” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัย : (คำนาม) สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).”

ความหมายของ “ภย” ในบาลีคือ “ความกลัว” (fear) หรือ “สิ่งที่น่ากลัว” (fright) แต่ “ภัย” ในภาษาไทยน้ำหนักของความหมายอยู่ที่ “อันตราย” (danger, dangerous) 

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ที่ฝรั่งเป็นผู้ทำไม่ได้แปล “ภย” ว่า danger หรือ dangerous 

+ ภย = นภย > อภย (อะ-พะ-ยะ) แปลว่า “ไม่มีภัย” “ไม่เป็นภัย” 

ใช้เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า ปลอดจากความกลัวหรืออันตราย, ไม่มีความกลัว, ปลอดภัย (free from fear or danger, fearless, safe) 

ใช้เป็นคำนาม มีความหมายว่า ความไว้วางใจ, ความปลอดภัย (confidence, safety)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อภัย, อภัย– : (คำนาม) ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษให้ ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. (คำกริยา) ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.”

(๒) “โทษ

บาลีเป็น “โทส” อ่านว่า โท-สะ รากศัพท์มาจาก ทุสฺ (ธาตุ = ประทุษร้าย, เกลียดชัง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ ทุ-(สฺ) เป็น โอ (ทุสฺ > โทส)

: ทุสฺ + = ทุสณ > ทุส > โทส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การประทุษร้าย” “การเกลียดชัง” “เครื่องประทุษร้ายกัน” “เหตุทำให้เกลียดชังกัน

โทส” ในบาลีมีความหมาย 2 นัย คือ –

(1) ความชั่ว, มลทิน, ความผิด, สภาพไม่ดี, ความบกพร่อง; ความเลวร้าย, ความเสื่อมทราม (corruption, blemish, fault, bad condition, defect; depravity, corrupted state)

(2) โทสะ, ความโกรธ, ความประสงค์ร้าย, เจตนาร้าย, ความชั่วช้า, ความมุ่งร้าย, ความเกลียด (anger, ill-will, evil intention, wickedness, corruption, malice, hatred)

หรือจำสั้นๆ :

(1) ความชั่ว (corruption) 

(2) ความโกรธ (anger)

โทส” ในบาลีเป็น “โทษ” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

โทษ : (คำนาม) โทษ, ความผิด, พิรุทธ; บาป; โทษ, การละเมิด; ธาตุพิการ, หรือที่พิการ, และลมในร่างเดิรไม่สะดวก; fault, defect, blemish; sin; offence; transgression; disorder of the humours of the body or defect in the functions of the bile, and circulation of the mind.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โทษ, โทษ– : (คำนาม) ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความเกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. (คำกริยา) อ้างเอาความผิดให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).”

อภัย + โทษ = อภัยโทษ อ่านว่า อะ-ไพ-ยะ-โทด เป็นคำประสมแบบไทย

อภัย” แปลแบบไทยว่า “ยกโทษ” (ดูพจนานุกรมฯ ข้างต้น)

อภัยโทษ” ก็ยังแปลแบบไทยว่า “ยกโทษ” อยู่นั่นเอง (ดูพจนานุกรมฯ ต่อไป)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

อภัยโทษ : (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำกริยา) ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับแก้คำนิยามใหม่ เป็นดังนี้ –

อภัยโทษ : (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำนาม) การยกโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา หรือลดโทษให้.”

โปรดสังเกตว่า การบอกลักษณะของคำ พจนานุกรมฯ ฉบับ 2542 บอกว่า “อภัยโทษ” เป็นคำกริยา แต่พจนานุกรมฯ ฉบับ 2554 บอกว่า “อภัยโทษ” เป็นคำนาม

แถม :

ใครทำผิดต่อเราหรือทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ เรายกโทษให้ ไม่ถือโทษ ไม่เอาผิด รู้กันว่าคำอังกฤษว่า forgive

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล forgive ว่า อภัยให้ได้

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล forgive (คำกริยา) เป็นบาลีดังนี้: 

(1) khamati ขมติ (ขะ-มะ-ติ) = อดทน, อดกลั้น, ให้อภัย

(2) titikkhati ติติกฺขติ (ติ-ติก-ขะ-ติ) = ทน, อดทน

และแปล forgiveness (คำนาม) เป็นบาลีดังนี้: 

(1) khamā ขมา (ขะ-มา) = ความอดทน, การให้อภัย 

(2) khanti ขนฺติ (ขัน-ติ) = ความอดทน, การให้อภัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

รู้ตัวว่าผิด: ดี

ยอมรับผิด: ดีมาก

ไม่เอาผิด: ดีกว่า

ไม่ทำผิด: ดีที่สุด

#บาลีวันละคำ (4,099)

2-9-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *