บาลีวันละคำ

สปทานจาริกังคะ ธุดงค์ข้อที่ 4 (บาลีวันละคำ 4,113)

สปทานจาริกังคะ ธุดงค์ข้อที่ 4

รับบิณฑบาตไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

…………..

ธุดงค์มี 13 ข้อ คือ –

1. ปังสุกูลิกังคะ ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 

2. เตจีวริกังคะ ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร 

3. ปิณฑปาติกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร 

4. สปทานจาริกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร 

5. เอกาสนิกังคะ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร 

6. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร 

7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร 

8. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร 

9. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร 

10. อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร 

11. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร 

12. ยถาสันถติกังคะ ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ 

13. เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร 

…………..

สปทานจาริกังคะ” อ่านว่า สะ-ปะ-ทา-นะ-จา-ริ-กัง-คะ ประกอบด้วยคำว่า สปทานจาริก + อังคะ

(๑) “สปทานจาริก

เป็นรูปคำบาลี อ่านว่า สะ-ปะ-ทา-นะ-จา-ริ-กะ ประกอบด้วยคำว่า สปทาน + จาร + อิก ปัจจัย

(ก) “สปทาน” อ่านว่า สะ-ปะ-ทา-นะ รากศัพท์มาจาก สห (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่ววมกัน) + อปทาน (ความไม่ขาดตอน), แปลง สห เป็น

: สห + อปทาน = สหปทาน > สปทาน แปลตามศัพท์ว่า “เป็นไปกับด้วยความไม่ขาดตอน” หมายถึง ไม่มีการหยุด (without a stop)

(ข) “จาร” อ่านว่า จา-ระ รากศัพท์มาจาก + จรฺ (ธาตุ = ดำเนินไป, ประพฤติ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (จรฺ > จารฺ)

: จรฺ + = จรณ > จร > จาร แปลตามศัพท์ว่า “การดำเนินไป” 

สปทาน + จาร = สปทานจาร (สะ-ปะ-ทา-นะ-จา-ระ) แปลว่า “การดำเนินไปโดยไม่ขาดตอน” 

(ค) สปทานจาร + อิก = สปทานจาริก (สะ-ปะ-ทา-นะ-จา-ริ-กะ) แปลว่า “ผู้ดำเนินไปโดยไม่ขาดตอน” หมายถึง ผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก (one who goes on uninterrupted alms-begging)

(๒) “อังคะ

เขียนแบบบาลีเป็น “องฺค” อ่านว่า อัง-คะ รากศัพท์มาจาก องฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป; รู้) + (อะ) ปัจจัย

: องฺคฺ + = องฺค (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างที่เดินได้” (2) “เหตุเป็นเครื่องรู้ที่เกิด” (คือทำให้รู้ต้นกำเนิด) (3) “ส่วนอันเขารู้ว่าเป็นส่วนย่อย

องฺค” ในบาลีหมายถึง –

(1) ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ (a constituent part of the body, a limb)

(2) ชิ้นส่วน, ส่วนประกอบ (member, part)

(3) องค์ประกอบของทั้งหมด หรือของระบบ หรือส่วนย่อยที่ประกอบเข้าเป็นส่วนใหญ่ (a constituent part of a whole or system or collection)

สปทานจาริก + องฺค = สปทานจาริกงฺค (สะ-ปะ-ทา-นะ-จา-ริ-กัง-คะ) แปลว่า “องค์แห่งผู้ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก” หมายถึง วิธีปฏิบัติธุดงค์ว่าด้วยการรับบิณฑบาตไม่ข้ามลำดับบ้าน

สปทานจาริกงฺค” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สปทานจาริกังคะ” 

ขยายความ :

สปทานจาริกังคะ” เป็นธุดงค์ข้อที่ 4 ในจำนวนธุดงค์ 13 ข้อ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “ธุดงค์” และ “สปทานจาริกังคะ” ไว้ดังนี้ 

…………..

(1) ธุดงค์ : องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติเข้มงวด ที่สมัครใจสมาทานประพฤติประจำตัว ชั่วระยะกาลสั้น หรือยาว หรือแม้ตลอดชีวิต ก็ได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น มี 13 ข้อ 

(2) สปทานจาริกังคะ : องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้าน คือรับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว, เที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถว เรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน่นที่นี่ตามใจชอบ, คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร” (ข้อ ๔ ใน ธุดงค์ ๑๓)

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [342] แสดง “สปทานจาริกังคะ” ธุดงค์ข้อที่ 4 ไว้ดังนี้ –

…………..

4. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้—” — Sapadānacārikaṅga: house-to-house-seeker’s practice)

…………..

ในการออกบิณฑบาต ภิกษุบางรูปอาจเลือกรับอาหารบิณฑบาตบางบ้าน ไม่รับบางบ้าน ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น สังเกตเห็นว่าบ้านไหนใส่อาหารประณีต (คืออาหารอย่างดี มีราคา คุณภาพดี) ก็เลือกรับบ้านนั้น บ้านไหนใส่อาหารไม่ประณีตก็หาเลศเลี่ยงไปเสีย ไม่รับ อย่างนี้เป็นต้น

แต่ภิกษุที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะไม่ประพฤติเช่นนั้น คือจะรับบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านที่ไปถึงเข้า ไม่เว้นบ้านไหน ไม่เลือกอาหารดีอาหารเลว จนกว่าจะพอแก่ความต้องการ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใส่บาตรด้วยน้ำใจเลื่อมใสศรัทธา

: คือใส่ทิพยรสโอชาลงในบิณฑบาต

#บาลีวันละคำ (4,113)

16-9-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *