บาลีวันละคำ

ปหิตตฺต มีใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง (บาลีวันละคำ 4,129)

ปหิตตฺต มีใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง

คำที่ฝรั่งเถียงพระอรรถกถาจารย์

ปหิตตฺต” เขียนแบบไทยเป็น “ปหิตัตตะ” อ่านว่า ปะ-หิ-ตัด-ตะ แยกศัพท์เป็น ปหิต + อตฺต

(1) “ปหิต

อ่านว่า ปะ-หิ-ตะ เป็นคำกิริยากิตก์ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทหฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบต้นธาตุ (ทหฺ > ), ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย

: + ทหฺ = ปทหฺ > ปหฺ + อิ + = ปหิต แปลตามศัพท์ว่า “ตั้งมั่นแล้ว” หมายถึง ตั้งมั่น, ตั้งใจ, กระตือรือร้น (resolute, intent, energetic)

(๒) “อตฺต

อ่านว่า อัด-ตะ มาจากรากศัพท์ดังนี้ :

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้) 

๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ) 

๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง เป็น  

: อทฺ + = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > )และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul)

อตฺต” หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ

ในทางปรัชญา “อตฺต” หรือ “อตฺตา” หมายถึง ความยึดมั่นในตัวเอง ที่เรียกกันว่า “ตัวกูของกู” หรือที่รู้กันในคำอังกฤษว่า ego

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) 

ปหิต + อตฺต = ปหิตตฺต (ปะ-หิ-ตัด-ตะ) แปลว่า “มีตนตั้งมั่นแล้ว” หมายถึง มีใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง (of resolute will)

อภิปรายขยายความ :

คำว่า “ปหิตตฺต” นักเรียนบาลีไทยแปลกันว่า “มีตนส่งไปแล้ว” และแทบจะไม่ได้อธิบายขยายความว่า “มีตนส่งไปแล้ว” หมายความว่าอย่างไร (แปลได้ แต่ไม่รู้ความหมาย)

ที่แปลว่า “มีตนส่งไปแล้ว” ก็เป็นการแปลตามคำอธิบายของอรรถกถา คืออรรถกถาอธิบาย “ปหิต” ว่า “เปสิต

ควรทราบความหมายของ “เปสิต” และ “ปหิต” ดังนี้ 

(1) “เปสิต” อ่านว่า เป-สิ-ตะ รากศัพท์มาจาก ปิสฺ (ธาตุ = ส่งไป) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ ปิ-(สฺ) เป็น เอ (ปิสฺ > เปสฺ), ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย

: ปิส + อิ + = ปิสิต > เปสิต แปลตามศัพท์ว่า “ถูกส่งไปแล้ว” หมายถึง

(1) ส่งไป, ส่งออกไป (sent out or forth)

(2) ได้สั่งไว้, สิ่งที่ได้สั่งไว้ (ordered, what has been ordered)

(2) “ปหิต1” (ดูรากศัพท์และความหมายข้างต้น)

(3) “ปหิต2” 

อ่านว่า ปะ-หิ-ตะ เป็นคำกิริยากิตก์ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + หิ (ธาตุ = ส่งไป) + ปัจจัย

: + หิ + = ปหิต แปลตามศัพท์ว่า “ส่งไปแล้ว” หมายถึง ส่งไป (sent)

ปหิต2 นี้คือ “เปสิต

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ที่ฝรั่งชาติอังกฤษเป็นผู้ทำ บอกไว้ที่คำว่า “ปหิตตฺต” ว่า –

expld by Bdhgh with wrong derivation fr. peseti as “pesit-atta” thus identifying pahita1 & pahita2 

(พุทธโฆษเข้าใจที่มาของคำผิดไปว่ามาจาก เปเสติ จึงอธิบายเป็น “เปสิต-อตฺต” ซึ่งเป็นการทำให้ ปหิต1 และ ปหิต2 เป็นคำเดียวกัน)

และบอกไว้ที่คำว่า “เปสิต” ว่า –

Bdhgh incorrectly taking pahita as pp. of pahiṇati to send whereas it is pp. of padahati.

(พุทธโฆษถืออย่างไม่ถูกต้องว่า ปหิต เป็น ต ปัจจัย ของ ปหิณติ ( = ส่งไป) แต่ที่จริง ปหิต เป็น ต ปัจจัย ของ ปทหติ)

…………..

สรุปก็คือ “ปหิตตฺต” ไม่ได้แปลว่า “มีตนส่งไปแล้ว” อย่างที่นักเรียนบาลีไทยแปลกัน หากแต่แปลว่า “มีตนตั้งมั่นแล้ว” หมายถึง มีใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง (of resolute will) (“ตน” ในที่นี้หมายถึง จิต)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ฝรั่งเรียนบาลีเพื่อเอาความรู้

: ไทยเรามือชั้นครูเรียนบาลีเพื่อเอาวุฒิ

#บาลีวันละคำ (4,129)

2-10-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *