บาลีวันละคำ

มหกรรม (บาลีวันละคำ 777)

มหกรรม

อ่านว่า มะ-หะ-กำ

บาลีเป็น “มหกมฺม” อ่านว่า มะ-หะ-กำ-มะ

ประกอบด้วย มห + กมฺม

มห” รากศัพท์มาจาก มหฺ (ธาตุ = บูชา) + ปัจจัย แปลว่า “งานเป็นที่บูชา” หมายถึง –

(1) การควรเคารพ, ความน่านับถือ (worthiness, venerableness)

(2) การสมโภช, การฉลอง (festival, celebration)

กมฺม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย ลบ รฺ ที่ธาตุ และลบ ที่ปัจจัย

: กรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำ” “สิ่งที่ทำ” นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

กมฺมกรรม” มีความหมายหลายนัย :

– การกระทำทั้งปวง เรียกว่า กรรม

– การถูกทำ, สิ่งที่ถูกทำ, ผลของการกระทำ ก็เรียกว่า กรรม

– การทำกิจการงาน, การประกอบอาชีพ ก็เรียกว่า กรรม

– พิธีกรรม, พิธีการต่างๆ ก็เรียกว่า กรรม

มห + กมฺม = มหกมฺม > มหกรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มหกรรม : การฉลอง, การบูชา. (ป. มหกมฺม)”

มักมีผู้เข้าใจว่า “มหกรรม” คืองานที่ยิ่งใหญ่ หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างเป็นงานใหญ่หรืองานสำคัญ นั่นคือเข้าใจว่า “มห” คือ “มหา” ที่แปลว่า ยิ่งใหญ่

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า มหกรรม เป็นอังกฤษว่า a great festival ก็คือยังเข้าใจว่า “มห” ก็คือ ยิ่งใหญ่ คือ great

คำว่า “มห” หมายถึงงานฉลองที่จัดขึ้นหลังจากได้ทำกิจสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จเรียบร้อย ชั้นเดิมมุ่งเน้นที่กิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา เช่น สร้างโบสถ์ สร้างวิหารเสร็จ ก็จัดให้มี “มหกรรม” เป็นการบูชาหรือฉลองที่ได้ทำบุญสำเร็จลงด้วยดี

มห-” คำนี้จึงไม่ใช่ “มหา” ไม่เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ การฉลองเล็กๆ ก็เรียกว่า “มหกรรม” ได้

ถ้าจะให้หมายถึง great festival งานฉลองที่ยิ่งใหญ่ ภาษาบาลีใช้ว่า “มหามห” คือต้องเป็น “มหามหกรรม

ข้อควรจำก็คือ ถ้าเป็นการทำกิจการงาน หรือกิจกรรมทั่วไป ไม่ใช่การเฉลิมฉลอง หรือที่คำฝรั่งเรียกว่า festival แล้ว อย่าใช้คำว่า “มหกรรม” มิฉะนั้นคำผิดจะกลายเป็นคำถูกไปอีกคำหนึ่ง

: ทำดี ยังไม่ได้ฉลองไม่ต้องกลัว

: เพราะความดีที่ทำ เป็น “มหกรรม” อยู่แล้วในตัว

#บาลีวันละคำ (777)

4-7-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *