บาลีวันละคำ

อนามนฺตจาโร (บาลีวันละคำ 4,170)

อนามนฺตจาโร

อานิสงส์กฐินที่ไม่มีใครนึกถึง

…………..

ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ (คือข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระวินัย) 5 ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา) คือ 

(1) จาริกไปไม่ต้องบอกลา 

(2) จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ 

(3) ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ 

(4) เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา 

(5) จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่พวกเธอ

อานิสงส์กฐินทั้ง 5 ข้อนี้ควรแก่การศึกษาให้เข้าใจ

คำหนึ่งที่น่ารู้คือ “จาริกไปไม่ต้องบอกลา” 

จาริกไปไม่ต้องบอกลา” หมายความว่าอย่างไร?

จาริกไปไม่ต้องบอกลา” แปลมาจากคำบาลีว่า “อนามนฺตจาโร” อ่านว่า อะ-นา-มัน-ตะ-จา-โร แยกศัพท์เป็น อนามนฺต + จาโร 

(๑) “อนามนฺต

อ่านว่า อะ-นา-มัน-ตะ รูปคำเดิมมาจาก + อามนฺต

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “อามนฺต” อ่านว่า อา-มัน-ตะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ) + มนฺตฺ (ธาตุ = ปรึกษา) + (อะ) ปัจจัย

: อา + มนฺตฺ = อามนฺตฺ + = อามนฺต แปลตามศัพท์ว่า “การถามโดยเอื้อเฟื้อ” หมายถึง การบอกกล่าว หรือการบอกลา (permission or leave) 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า “อามนฺต” ว่า asking or asked, invited (ขอร้องหรือถูกร้องเรียก, ถูกเชื้อเชิญ) 

อีกคำหนึ่งที่รากศัพท์เดียวกัน คือ “อามนฺตน” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า addressing, calling; invitation, greeting (การเรียกขาน, การร้องเรียก; การเชื้อเชิญ, การต้อนรับ)

+ อามนฺต 

ตามกฎไวยากรณ์บาลี : 

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “อามนฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “อน

: > อน + อามนฺตฺ = อนามนฺต แปลว่า “การไม่บอกลา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อนามนฺต” ว่า without being asked, unasked, uninvited (ไม่ถูกขอร้อง, ไม่ถูกถามหา, ไม่ถูกเชื้อเชิญ)

(๒) “จาโร” 

รูปคำเดิมเป็น “จาร” บาลีอ่านว่า จา-ระ รากศัพท์มาจาก จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ; ศึกษา) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (จรฺ > จาร)

: จรฺ + = จรณ > จร > จาร แปลตามศัพท์ว่า “การเที่ยวไป” “การประพฤติ” หมายถึง การเคลื่อนไหว, การเดิน, การไป; การกระทำ, ความประพฤติ, การปฏิบัติ, พิธีกรรม (motion, walking, going; doing, behaviour, action, process)

อนามนฺต + จาร = อนามนฺตจาร (อะ-นา-มัน-ตะ-จา-ระ) แปลว่า “การไปโดยไม่บอกลา” 

ในอานิสงส์กฐิน ท่านแปล “อนามนฺตจาร” ว่า จาริกไปไม่ต้องบอกลา

อนามนฺตจาร” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “อนามนฺตจาโร

ขยายความ :

อานิสงส์กฐินข้อนี้ ท่านระบุลงไปด้วยว่า “จาริกไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ 6 แห่งอเจลกวรรค” หมายความว่า กรณีที่ไม่ต้องบอกลานั้นคือการบอกลาตามที่กำหนดไว้ในสิกขาบทที่ 6 แห่งอเจลกวรรค

สิกขาบทที่ 6 แห่งอเจลกวรรค บัญญัติไว้ดังนี้ –

…………..

โย  ปน  ภิกฺขุ  นิมนฺติโต  สภตฺโต  สมาโน  สนฺตํ  ภิกฺขุํ  อนาปุจฺฉา  ปุเรภตฺตํ  วา  ปจฺฉาภตฺตํ  วา  กุเลสุ  จาริตฺตํ  อาปชฺเชยฺย  อญฺญตฺร  สมยา  ปาจิตฺติยํ  ฯ  ตตฺถายํ  สมโย  จีวรทานสมโย  จีวรการสมโย  อยํ  ตตฺถ  สมโยติ  ฯ

ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 2 ข้อ 551

…………..

หนังสือ วินัยมุขเล่ม 1 พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แปลไว้ดังนี้ –

…………..

อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือคราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร

ที่มา: วินัยมุขเล่ม 1 หน้า 157

…………..

หนังสือ “นวโกวาท” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แปลสรุปไว้ดังนี้ –

…………..

ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะทั้ง 5 แล้ว จะไปในที่อื่นจากที่นิมนต์นั้น ในเวลาก่อนฉันก็ดี ฉันกลับมาแล้วก็ดี ต้องลาภิกษุที่มีอยู่ในวัดก่อนจึงจะไปได้ ถ้าไม่ลาก่อนเที่ยวไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือจีวรกาลและเวลาทำจีวร

…………..

สิกขาบทนี้มีรายละเอียดอีกบ้าง แต่ในชั้นต้นนี้ ขอให้ทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานไว้ทีหนึ่งก่อนว่า ภิกษุอยู่ด้วยกัน จะไปไหนมาไหนต้องกล่าวให้กันรู้ นี่เป็นธรรมเนียมของคนอยู่ด้วยกัน ถ้าไปโดยไม่บอกกล่าว มีความผิด คือที่เรียกว่า “ต้องอาบัติ”

แต่ถ้าภิกษุได้กรานกฐิน (ที่เราเรียกกันว่าได้รับกฐิน) จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ อยู่ด้วยกัน ไปไหนมาไหนแม้ไม่บอกกล่าวให้กันรู้ ก็ไม่ต้องอาบัติ 

สิทธิพิเศษข้อนี้ได้รับเป็นเวลา 5 เดือนนับจากวันออกพรรษา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีสิทธิ์ แต่ไม่ขอใช้สิทธิ์

: เป็นวิถีที่บัณฑิตนิยมประพฤติกัน

#บาลีวันละคำ (4,170)

12-11-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *