บาลีวันละคำ

อสมาทานจาโร (บาลีวันละคำ 4,171)

อสมาทานจาโร

อานิสงส์กฐินที่ไม่มีใครนึกถึง

…………..

ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ (คือข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระวินัย) 5 ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา) คือ 

(1) จาริกไปไม่ต้องบอกลา 

(2) จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ 

(3) ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ 

(4) เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา 

(5) จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่พวกเธอ

อานิสงส์กฐินทั้ง 5 ข้อนี้ควรแก่การศึกษาให้เข้าใจ

คำหนึ่งที่น่ารู้คือ “จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ” 

จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ” หมายความว่าอย่างไร?

จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ” แปลมาจากคำบาลีว่า “อสมาทานจาโร” อ่านว่า อะ-สะ-มา-ทา-นะ-จา-โร แยกศัพท์เป็น อสมาทาน + จาโร 

(๑) “อสมาทาน

อ่านว่า อะ-สะ-มา-ทา-นะ รูปคำเดิมมาจาก + สมาทาน

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “สมาทาน” อ่านว่า สะ-มา-ทา-นะ รากศัพท์มาจาก สํ + อา + ทา + ยุ ปัจจัย 

(1) “สํ” อ่านว่า สัง เป็นคำจำพวก “อุปสรรค” ในบาลีมีคำ “อุปสรรค” ประมาณ 20 คำ

คำ “อุปสรรค” มีความหมายอย่างไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อุปสรรค : (คำนาม) … คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.”

คำว่า “สํ” นักเรียนบาลีท่องจำว่า “สํ = พร้อม, กับ, ดี” ใช้ในความหมายว่า พร้อมกัน, ร่วมกัน มักแปลงรูปเป็นอย่างอื่น เช่นในที่นี้แปลงนิคหิตเป็น : สํ > สม

(2) “อา” เป็นคำจำพวกอุปสรรค นักเรียนบาลีท่องจำว่า “อา = ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ

ในที่นี้ “อา” ใช้ในความหมาย “กลับความ” เช่น –

คม” แปลว่า “ไป” 

อาคม” กลับความ แปลว่า “มา” 

ในที่นี้ “ทาน” แปลว่า “ให้” 

อาทาน” กลับความ แปลว่า “เอา” คือ รับเอา ถือเอา

(3) “ทาน” อ่านแบบบาลีว่า ทา-นะ รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ = ให้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) 

: ทา + ยุ > อน = ทาน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การให้” “สิ่งของสำหรับให้

ทาน” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) การให้, ยกมอบแก่ผู้อื่น, ให้ของที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

(2) สิ่งที่ให้, ทรัพย์สินสิ่งของที่มอบให้หรือแจกออกไป 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ทาน” ว่า giving, dealing out, gift; almsgiving, liberality, munificence (การให้, การแจกให้, ของขวัญ; การให้ทาน, การมีใจคอกว้างขวาง)

ทาน” ใช้ในรูปเดียวกันทั้งบาลีและสันสกฤต 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ทาน : (คำนาม) ‘ทาน’, การให้, การบริจาค; มันเหลวซึ่งเยิ้มออกจากขมับช้างตกน้ำมัน; การอุปถัมภ์, การบำรุง; วิศุทธิ, นิรมลีกรณ์; การตัด, การแบ่ง; ทักษิณา, ของถวาย, ของให้เปนพิเศษ; การตี, การเฆาะ; อรัณยมธุ, น้ำผึ้งป่า; giving, gift, donation; fluid that flows from the temples of an elephant in rut; nourishing, cherishing; a present, a special gift; striking, beating; wild honey.”

การประสมคำ สมาทาน :

(๑) อา + ทาน = อาทาน 

อาทาน” ในบาลีมีความหมายว่า การถือเอา, การรวบเอา, การจับเอา, การยึดเอา (taking up, getting, grasping, seizing)

อาทาน” ใช้ในความหมายโดยอุปมาหมายถึง การยึดถือ, การเกาะติดอยู่กับโลก, การยึดถือใน [โลกิยารมณ์] (appropriating, clinging to the world, seizing on [worldly objects])

อาทาน” ยังใช้ในความหมายอื่นๆ อีก คือ –

(1) การกิน [อาหาร], การกินหญ้า (taking [food], pasturing)

(2) การรับเอา, การได้มา, การถือเอา, การยึดถือ (getting, acquiring, taking, seizing)

(3) ตัณหา (attachment, clinging)

(๒) สํ + อาทาน แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น

: สํ > สม + อาทาน = สมาทาน บาลีอ่านว่า สะ-มา-ทา-นะ ใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) ถือเอา, นำไป (taking, bringing) 

(2) สมาทาน, กระทำ, ได้มา (taking upon oneself, undertaking, acquiring)

(3) ความตั้งใจ, การอธิษฐาน (resolution, vow)

ในภาษาไทย “สมาทาน” อ่านว่า สะ-มา-ทาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

สมาทาน : (คำกริยา) รับเอาถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล. (ป., ส.).”

ในที่นี้ “สมาทาน” ใช้ในความหมายว่า นำไป (bringing) 

+ สมาทาน 

ตามกฎไวยากรณ์บาลี : 

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “สมาทาน” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “

: + สมาทาน = นสมาทาน > อสมาทาน แปลว่า “การไม่ถือเอาไปพร้อมกัน” หมายถึง ไม่ต้องนำไปทั้งหมด

(๒) “จาโร” 

รูปคำเดิมเป็น “จาร” บาลีอ่านว่า จา-ระ รากศัพท์มาจาก จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ; ศึกษา) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (จรฺ > จาร)

: จรฺ + = จรฺณ > จร > จาร แปลตามศัพท์ว่า “การเที่ยวไป” “การประพฤติ” หมายถึง การเคลื่อนไหว, การเดิน, การไป; การกระทำ, ความประพฤติ, การปฏิบัติ, พิธีกรรม (motion, walking, going; doing, behaviour, action, process)

อสมาทาน + จาร = อสมาทานจาร (อะ-สะ-มา-ทา-นะ-จา-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “การไปโดยไม่ถือเอาไปพร้อมกัน” หมายถึง การไปไหนมาไหนโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปทุกผืน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อสมาทานจาร” ว่า going for alms without taking with one [the usual set of three robes] (การไปบิณฑบาตโดยปราศจากการครอง [ไตรจีวร] ผืนใดผืนหนึ่ง)

ในอานิสงส์กฐิน ท่านแปล “อสมาทานจาร” ว่า จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ

อสมาทานจาร” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “อสมาทานจาโร

ขยายความ :

อานิสงส์กฐินข้อนี้ เกี่ยวโยงกับสิกขาบทที่ 2 แห่งจีวรวรรคในหมวดอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ 2 แห่งจีวรวรรค บัญญัติไว้ดังนี้ –

…………..

นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ  ภิกฺขุนา  อุพฺภตสฺมึ  กฐิเน  เอกรตฺตมฺปิ  เจ  ภิกฺขุ  ติจีวเรน  วิปฺปวเสยฺย  อญฺญตฺร  ภิกฺขุสมฺมติยา  นิสฺสคฺคิยํ  ปาจิตฺติยนฺติ  ฯ

ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 2 ข้อ 11

…………..

หนังสือ วินัยมุขเล่ม 1 พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แปลไว้ดังนี้ –

…………..

จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นเสียแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

ที่มา: วินัยมุขเล่ม 1 หน้า 84-85

…………..

หนังสือ “นวโกวาท” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แปลสรุปไว้ดังนี้ –

…………..

ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ

…………..

ผ้าคือเครื่องนุ่งห่มเป็นของจำเป็น สมัยพุทธกาลผ้าหายาก เครื่องนุ่งห่มของภิกษุมี 3 ผืน ที่เรียกว่า “ไตรจีวร” มีพุทธบัญญัติให้ภิกษุมีได้เพียงชุดเดียว จึงเป็นบริขารที่ต้องดูแลรักษาอย่างเข้มงวด 

เจตนาของสิกขาบทนี้ก็คือ ให้ภิกษุเก็บรักษาไตรจีวรไว้กับตัวตลอดเวลา มีหลักปฏิบัติว่า ทุกเช้าของแต่ละวันภิกษุจะต้องมีไตรจีวรอยู่กับตัว ถ้าอรุณขึ้น จีวรผืนใดผืนหนึ่งไม่อยู่ติดตัว ถือว่ามีความผิด ที่เรียกว่า “ต้องอาบัติ”

หลักปฏิบัติที่พระสมัยก่อนในเมืองไทยยึดถือก็คือ เวลาประมาณตีสี่จะตื่นขึ้นมานุ่งห่มไตรจีวรครบชุด เรียกกันว่า “ครองผ้า” เวลาดังกล่าวนี้จึงเป็นโอกาสให้ได้ไหว้พระสวดมนต์ที่เรียกว่า “ทำวัตร” และปฏิบัติจิตภาวนาไปด้วย จนกระทั่งอรุณขึ้นเป็นวันใหม่แล้วจึงจะเปลื้องจีวรออกได้ เรียกว่า “เปลื้องครอง” และจะปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน กรณีที่ไปค้างแรมที่อื่นจึงต้องนำไตรจีวรไปด้วยครบสำรับ เมื่อถึงเวลาจะได้ครองผ้าตามพระวินัย

คำว่า “ครองผ้า” และ “เปลื้องครอง” นี้พระรุ่นเก่าจะรู้ความหมายกันดี 

แต่ถ้าภิกษุได้กรานกฐิน (ที่เราเรียกกันว่าได้รับกฐิน) จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ ไม่ต้องมีไตรจีวรอยู่กับตัวครบชุดทุกเช้าก็ได้ นั่นคือที่คำในอานิสงส์กฐินบอกว่า “จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ” สิทธิพิเศษข้อนี้ได้รับเป็นเวลา 5 เดือนนับจากวันออกพรรษา

อย่างไรก็ตาม สิกขาบทนี้ก็มีพุทธานุญาตผ่อนผันเพื่อไม่ให้เกิดความลำบากเกินไปในการปฏิบัติ ข้อผ่อนผันก็คือ ในเขตที่อยู่ด้วยกัน เช่นบัดนี้คือในวัด สงฆ์ในวัดนั้น ๆ อาจกำหนดให้บางพื้นที่ภายในวัดเป็นพื้นที่ผ่อนผัน เมื่อภิกษุไปอยู่ในพื้นที่นั้นจนรุ่งอรุณ แม้ไม่ได้มีไตรจีวรอยู่ติดตัวครบสำรับ คือไม่ได้ครองผ้า ก็ให้ถือว่าไม่ต้องอาบัติ พื้นที่ดังกล่าวนี้ ภาษาพระวินัยเรียกว่า “ติจีวราวิปปวาส” (ติ-จี-วะ-รา-วิบ-ปะ-วาด) แปลว่า พื้นที่ซึ่งถือว่าไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบางรูป เช่นภิกษุอาพาธเป็นต้น ไม่สะดวกที่จะปฏิบัติตามสิกขาบทนี้ สงฆ์อาจประกาศอนุญาตเฉพาะรายให้การไม่ครองไตรจีวรครบสำหรับของภิกษุรูปนั้นไม่เป็นความผิด กรณีเช่นนี้คือที่เรียกว่า “ได้รับสมมติ”

…………..

ดูก่อนภราดา!

กฎเกณฑ์ของสมาคมหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม –

: ปฏิบัติไม่ได้ อย่าเข้าไป

: ปฏิบัติไม่ไหว ถอยออกมา

#บาลีวันละคำ (4,171)

13-11-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *