บาลีวันละคำ

ทุติยัมปิ – ตะติยัมปิ (บาลีวันละคำ 4,179)

ทุติยัมปิตะติยัมปิ 

ย้ำคำเมื่อรับไตรสรณคมน์

ไตรสรณคมน์เต็ม ๆ เขียนแบบไทยเป็นดังนี้ –

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

โปรดสังเกตว่า ไตรสรณคมน์นั้นนิยมกล่าว 3 เที่ยว เที่ยวที่ 2 และเที่ยวที่ 3 คำหลักเหมือนเที่ยวแรก ต่างตรงที่เที่ยวที่ 2 เพิ่มคำว่า “ทุติยัมปิ” นำหน้า และเที่ยวที่ 3 เพิ่มคำว่า “ตะติยัมปิ” นำหน้า

(๑) “ทุติยัมปิ

เขียนแบบบาลีเป็น “ทุติยมฺปิ” อ่านว่า ทุ-ติ-ยำ-ปิ ประกอบด้วยคำว่า ทุติยํ + ปิ 

(ก) “ทุติยํ” อ่านว่า ทุ-ติ-ยัง รูปคำเดิมเป็น “ทุติย” (ทุ-ติ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ทุ (ศัพท์สังขยา คือศัพท์บอกจำนวน) = สอง (จำนวน 2) + ติย ปัจจัยในปูรณตัทธิต 

: ทุ + ติย = ทุติย แปลว่า “ที่สอง” ที่ (the second)

ทุติย” เป็นคุณศัพท์ ในที่นี้เป็นคำขยายคำว่า “วาร” (วา-ระ) = วาระ, ครั้ง, หน (the time) แต่ไม่ปรากฏคำว่า “วาร” เพราะละไว้ฐานเข้าใจ เพราะฉะนั้น “ทุติย” ในที่นี้จึงแปลว่า “ครั้งที่สอง” (the second time) 

ทุติย” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “ทุติยํ” (ทุ-ติ-ยัง)

(ข) “ปิ” เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” ประกอบข้างท้ายคำอื่นเสมอ ไม่ใช่เดี่ยว นักเรียนบาลีในเมืองไทยแปลว่า “แม้” คำเดียวยืนพื้น 

แต่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปิ” ไว้หลายนัย ขอยกมาเพื่อการศึกษาดังนี้ –

(1) also, and also, even so (ด้วย, และ, ถึงกระนั้น) 

(2) even, just so; with numbers or num. expressions “altogether, in all, just that many” (ถึงแม้, เช่นนั้นทีเดียว; ถ้าแสดงจำนวนหรือกล่าวถึงตัวเลข “หมดด้วยกัน, ทั้งหมด, มากเท่านั้น”) 

(3) but, however, on the other hand, now (continuing a story) (แต่, อย่างไรก็ตาม, อีกอย่างหนึ่ง, บัดนี้ [ดำเนินเรื่องให้ติดต่อกัน]) 

(4) although, even if (แม้ว่า, ถึงแม้ว่า) 

(5) perhaps, it is time that, probably (บางที, พอจะ, อาจจะ) 

(6) pi . . . pi in correlation (like api . . . api) (ปิ…ปิ ในการนำมาใช้คู่กัน [เหมือน อปิ…อปิ]): 

(ก) both . . . and; very often untranslatable (ทั้ง…และ; บ่อยมากที่ไม่แปล) 

(ข) either . . . or (อย่างนี้ … หรือ) 

ทุติยํ + ปิ แปลงนิคหิตที่ (ทุติ)-ยํ เป็น มฺ (ทุติยํ > ทุติยมฺ)

: ทุติยํ + ปิ = ทุติยํปิ > ทุติยมฺปิ แปลว่า “แม้วาระที่สอง” 

(๒) “ตะติยัมปิ

เขียนแบบบาลีเป็น “ตติยมฺปิ” อ่านว่า ตะ-ติ-ยำ-ปิ ประกอบด้วยคำว่า ตติยํ + ปิ 

(ก) “ตติยํ” อ่านว่า ตะ-ติ-ยัง รูปคำเดิมเป็น “ตติย” (ตะ-ติ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ติ (ศัพท์สังขยา คือศัพท์บอกจำนวน) = สาม (จำนวน 3) + ติย ปัจจัยในปูรณตัทธิต, “ลบสระหน้า” คือลบ อิ ที่ ติ (ติ > )

: ติ + ติย = ติติย > ตติย แปลว่า “ที่สาม” ที่ (the third)

ตติย” เป็นคุณศัพท์ ในที่นี้เป็นคำขยายคำว่า “วาร” (วา-ระ) = วาระ, ครั้ง, หน (the time) แต่ไม่ปรากฏคำว่า “วาร” เพราะละไว้ฐานเข้าใจ เพราะฉะนั้น “ตติย” ในที่นี้จึงแปลว่า “ครั้งที่สาม” (the third time) 

ตติย” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “ตติยํ” (ตะ-ติ-ยัง)

(ข) “ปิ” ดูข้างต้น

ตติยํ + ปิ แปลงนิคหิตที่ (ตติ)-ยํ เป็น มฺ (ตติยํ > ตติยมฺ)

: ตติยํ + ปิ = ตติยํปิ > ตติยมฺปิ แปลว่า “แม้วาระที่สาม” 

ขยายความ :

ขอยกบทไตรสรณคมน์ทั้งหมดมาแปล ดังนี้ 

แปลยกศัพท์: –

(เที่ยวที่ 1)

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

พุทฺธํ = ซึ่งพระพุทธเจ้า

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

ธมฺมํ = ซึ่งพระธรรม

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

สงฺฆํ = ซึ่งพระสงฆ์

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

(เที่ยวที่ 2)

ทุติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สอง

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

พุทฺธํ = ซึ่งพระพุทธเจ้า

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สอง

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

ธมฺมํ = ซึ่งพระธรรม

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สอง

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

สงฺฆํ = ซึ่งพระสงฆ์

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

(เที่ยวที่ 3)

ตติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สาม

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

พุทฺธํ = ซึ่งพระพุทธเจ้า

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ตติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สาม

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

ธมฺมํ = ซึ่งพระธรรม

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ตติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สาม

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

สงฺฆํ = ซึ่งพระสงฆ์

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

แปลโดยพยัญชนะ: 

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระธรรม ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ในวาระที่สอง อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ในวาระที่สอง อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระธรรม ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ในวาระที่สอง อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ในวาระที่สาม อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ในวาระที่สาม อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระธรรม ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ในวาระที่สาม อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

แปลโดยอรรถ (แปลเอาความ):

ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ในวาระที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ในวาระที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก

แถม :

มีญาติมิตรปรารภว่า เด็กสมัยใหม่ไม่รู้ไม่เข้าใจความหมายของนะโม และไตรสรณคมน์ บอกให้ว่าก็ว่าไป ว่าได้ แต่ถ้อยคำในบทนะโมและไตรสรณคมน์มีความหมายว่าอย่างไรไม่รู้ จึงขอให้ผู้เขียนบาลีวันละคำช่วยแปลและอธิบายบทนะโมและไตรสรณคมน์ให้เด็กสมัยใหม่เข้าใจสักหน่อย 

บทนะโมผู้เขียนบาลีวันละคำได้นำมาเขียนไปแล้ว ส่วนบทไตรสรณคมน์เขียนจบลงไปดังที่นำเสนอเป็นลำดับมา

งานเช่นนี้ ถ้าพระภิกษุสามเณรของเรา-โดยเฉพาะท่านที่เรียนบาลี-จะมีอุตสาหะช่วยกันอธิบายให้คนสมัยใหม่เข้าใจ ก็จะเป็นการช่วยกันเผยแผ่พระศาสนาให้เป็นที่เข้าใจถูกต้องกว้างขวางยิ่งขึ้น จึงขอกราบอาราธนามา ณ ที่นี้ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อยากมีสติ ขยันระลึกถึงพระรัตนตรัย

: อยากมีสตังค์ใช้ ขยันทำงานนะจ๊ะ

#บาลีวันละคำ (4,179)

21-11-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *