บาลีวันละคำ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (บาลีวันละคำ 4,178)

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ไตรสรณคมน์ที่สาม

ไตรสรณคมน์เต็ม ๆ เขียนแบบไทยเป็นดังนี้ –

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ” แต่ละคำมีอธิบายดังนี้ –

(๑) “สังฆัง” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สงฺฆํ” อ่านว่า สัง-คัง รูปคำเดิมเป็น “สงฺฆ” อ่านว่า สัง-คะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + หนฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สงฺ), แปลง หนฺ เป็น

: สํ > สงฺ + หนฺ > + = สงฺฆ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลักๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า “สงฺฆ

(2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น “สงฺฆ” อยู่ได้

สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่, กอง, กลุ่ม, คณะ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆ” เป็นอังกฤษว่า –

(1) multitude, assemblage (ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง)

(2) the Order, the priesthood, the clergy, the Buddhist church (คณะสงฆ์, พระ, นักบวช, พุทธจักร)

(3) a larger assemblage, a community (กลุ่มใหญ่, ประชาคม)

สงฺฆ” ปกติในภาษาไทยใช้ว่า “สงฆ์” ถ้าอยู่หน้าคำสมาสมักใช้เป็น “สังฆ-”

สงฆ์” ในพระพุทธศาสนามีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) “สาวกสงฆ์” หมายถึงหมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ที่ได้บรรลุธรรมในภูมิอริยบุคคลคือเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ดังคำสวดในสังฆคุณที่ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ 

(2) “ภิกขุสงฆ์” หมายถึงชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย 

บางทีเรียกอย่างแรกว่า “อริยสงฆ์” อย่างหลังว่า “สมมติสงฆ์

ในภาษาไทย คำว่า “สงฆ์” อาจหมายถึงภิกษุที่รวมกันเป็นหมู่คณะก็ได้ หมายถึงภิกษุแต่ละรูปก็ได้ 

ในที่นี้ “สงฆ์” หมายถึง “อริยสงฆ์

สงฺฆ” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “สงฺฆํ” (สัง-คัง) เขียนแบบไทยเป็น “สังฆัง” (ไม่มีจุดใต้ ) แปลว่า (ข้าพเจ้าขอถึง) ซึ่งพระสงฆ์

(๒) “สะระณัง

เขียนแบบบาลีเป็น “สรณํ” อ่านว่า สะ-ระ-นัง รูปคำเดิมเป็น “สรณ” อ่านว่า สะ-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก สรฺ (ธาตุ = กำจัด, เบียดเบียน; คิดถึง) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น

: สรฺ + ยุ > อน = สรน > สรณ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ธรรมเป็นเครื่องกำจัดกิเลสโดยเฉพาะแห่งมรรคสี่” (2) “การเบียดเบียน” (3) “ที่เป็นที่นึกถึงการกระทำที่ดีและไม่ดี” 

สรณ” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายว่า – 

(1) ที่กำบัง, บ้าน (shelter, house) 

(2) ที่พึ่ง, สรณะ (refuge, protection) 

(3) การระลึกถึง (remembrance; remembering)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สรณ-, สรณะ : (คำนาม) ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).”

สรณ” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “สรณํ” (สะ-ระ-นัง) เขียนแบบไทยเป็น “สะระณัง” แปลว่า (ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า) ว่าเป็นที่พึง

(๓) “คัจฉามิ

เขียนแบบบาลีเป็น “คจฺฉามิ” อ่านว่า คัด-ฉา-มิ เป็นคำกริยาที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “กิริยาอาขยาต” กัตตุวาจก อุตตมบุรุษ (ตัวผู้พูดเองเป็นประธานในประโยค) เอกวจนะ รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + (อะ) ปัจจัยประจำหมวด ภู ธาตุ + มิ วิภัตติอาขยาตหมวดวัตตมานา (อหํ = ข้าพเจ้า เป็นประธาน), แปลง คมฺ เป็น คจฺฉฺ 

: คมฺ > คจฺฉฺ + + มิ = คจฺฉมิ > คจฺฉามิ (คัด-ฉา-มิ) แปลว่า (ข้าพเจ้า)ย่อมถึง” 

รวมทั้ง 3 คำเป็นประโยคว่า “สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” 

เขียนแบบไทยเป็น “สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ” 

แปลยกศัพท์: –

(อหํ = อันว่าข้าพเจ้า)

คจฺฉามิ = ย่อมถึง 

สงฺฆํ = ซึ่งพระสงฆ์

สรณํ = ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

แปลโดยพยัญชนะ: 

อันว่าข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ (ที่พึ่งที่ระลึก)

แปลโดยอรรถ (แปลเอาความ):

ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

(ยังไม่สิ้นกระแสความ)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จะหาพระแท้ไว้กราบไหว้ก็ใช่ว่าจะกันดาร

: พระอริยสาวกในสมัยพุทธกาลมีให้น้อมนึกเป็นอเนกอนันต์

#บาลีวันละคำ (4,178)

20-11-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *