บาลีวันละคำ

สารกัป (บาลีวันละคำ 4,180)

สารกัป

กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติพระองค์เดียว

…………..

กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติแยกย่อยเป็น 5 ประเภท ได้แก่ –

(1) สารกัป กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติพระองค์เดียว

(2) มัณฑกัป กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 2 พระองค์

(3) วรกัป กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 3 พระองค์

(4) สารมัณฑกัป กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 4 พระองค์

(5) ภัทรกัป กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 5 พระองค์

…………..

สารกัป” อ่านว่า สา-ระ-กับ ประกอบด้วยคำว่า สาร + กัป

(๑) “สาร” 

อ่านว่า สา-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) สรฺ (ธาตุ = ขยาย, พิสดาร) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (สรฺ > สาร)

: สรฺ + = สรณ > สร > สาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายออก

(2) สา (ธาตุ = มีกำลัง, สามารถ) + ปัจจัย

: สา + = สาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีกำลัง

สาร” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง (essential, most excellent, strong)

(2) ชั้นในที่สุด และส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้ (the innermost, hardest part of anything, the heart or pith of a tree)

(3) แก่นสาร, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด (substance, essence, choicest part)

(4) คุณค่า (value)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “สาระ” ซึ่งมีความหมายตรงกับ “สาร” ในที่นี้ บอกไว้ดังนี้ –

สาระ : (คำนาม) ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, เช่น เขียนมายืดยาวแต่มีสาระน้อย ทำดีย่อมได้ดีเป็นสาระสำคัญของเรื่องนี้; ประโยชน์ เช่น เรื่องไม่เป็นสาระ ไร้สาระ.”

(๒) “กัป

อ่านว่า กับ บาลีเป็น “กปฺป” อ่านว่า กับ-ปะ รากศัพท์มาจาก กปฺป (ธาตุ = กำหนด) + (อะ) ปัจจัย

: กปฺป + = กปฺป แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะอันเขากำหนดขึ้น

กปฺป” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) เหมาะสม, สมควร, ถูกต้อง, เหมาะเจาะ (fitting, suitable, proper)

(2) บังเหียน, เครื่องประกอบ, จุดสีดำเล็กๆ, ทำเลศนัย (harness, trapping, a small black dot, a making-up of a trick)

(3) คำสั่ง, คำสั่งสอน, กฎ, ข้อปฏิบัติ, มรรยาท (ordinance, precept, rule; practice, manner)

(4) เวลาที่แน่นอน, เวลาที่กำหนดไว้, อายุของโลก (a fixed time, an age of the world)

บาลี “กปฺป” ในที่นี้ภาษาไทยใช้เป็น “กัป” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

กัป : (คำนาม) อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต อธิบายเรื่อง “กัป” ไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้ –

…………..

กัป, กัลป์ : กาลกำหนด, กำหนดอายุของโลก, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาล ประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของมนุษย์หรือสัตว์จำพวกนั้นๆ ในยุคนั้นๆ เรียกเต็มว่า ‘อายุกัป’ เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี

…………..

สาร + กปฺป = สารกปฺป (สา-ระ-กับ-ปะ) แปลว่า “กัปที่มีสาระ” หรือ “กัปที่มีประโยชน์” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สารกัป” (สา-ระ-กับ)

ขยายความ :

เหตุที่เรียก “สารกัป” มีอธิบายว่า โลกนี้มีช่วงเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เป็นเวลายาวนานนักหนา เรียกว่า “สุญกัป” (สุน-ยะ-กับ) แปลว่า กัปที่ว่างเปล่า คือไม่มีพระพุทธเจ้า ครั้นผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้วก็มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ กลับเป็น “อสุญกัป” (อะ-สุน-ยะ-กับ) แปลว่า กัปที่ไม่ว่างเปล่า คือไม่ว่างจากพระพุทธเจ้า 

“อสุญกัป” นั้น ยังแยกย่อยออกไปอีกเป็น 5 ประเภท ประเภทหนึ่งเรียกว่า “สารกัป” โดยอธิบายว่า ช่วงเวลาแห่ง “สุญกัป” เปรียบเหมือนสิ่งที่ไม่มีสาระ ครั้นต่อมาเกิดมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ เปรียบเหมือนสิ่งที่ไม่มีสาระนั้นกลับมีสาระขึ้นมาได้ จึงเรียกอสุญกัปช่วงแรกว่า “สารกัป” มีความหมายว่า กัปที่เกิดมีสาระขึ้นมาได้อีก

กัปที่เรียกว่า “สารกัป” กำหนดด้วยจำนวนพระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในกัปนั้นมีพระองค์เดียว 

นับพระทีปังกรเป็นองค์ที่ 1 มี “สารกัป” มาแล้ว 4 ครั้ง พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในสารกัปแต่ละครั้งมีดังนี้ –

สารกัปครั้งที่ 1 พระโกณฑัญญะ (องค์ที่ 2)

สารกัปครั้งที่ 2 พระปทุมุตตระ (องค์ที่ 10)

สารกัปครั้งที่ 3 พระสิทธัตถะ (องค์ที่ 16)

สารกัปครั้งที่ 4 พระวิปัสสี (องค์ที่ 19)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: น่าสุข ที่ได้พบศาสนาของพระพุทธเจ้า

: น่าเศร้า ที่ไม่เอาคำสอนมาประพฤติปฏิบัติ

#บาลีวันละคำ (4,180)

22-11-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *