บาลีวันละคำ

บรรณนิทัศน์ (บาลีวันละคำ 4,376)

บรรณนิทัศน์

คืออะไรใครรู้บ้าง

อานตามความรักภาษาว่า บัน-นะ-นิ-ทัด

อ่านตามความรักง่ายว่า บัน-นิ-ทัด

ประกอบด้วยคำว่า บรรณ + นิทัศน์

(๑) “บรรณ” 

บาลีเป็น “ปณฺณ” อ่านว่า ปัน-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปูร (ธาตุ = เต็ม) + (อะ) ปัจจัย, แปลง ปูร เป็น ปณฺณ 

: ปูรฺ + = ปูร > ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทำให้เต็ม” (คือทำให้ต้นไม้เต็มต้น)

(2) ปต (ธาตุ = ตกไป) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น ณฺณ 

: ปตฺ + = ปต > ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะร่วงไปโดยไม่นาน

(3) ปณฺณฺ (ธาตุ = เขียวสด) + (อะ) ปัจจัย 

: ปณฺณฺ + = ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เขียวสด

ปณฺณ” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ใบไม้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพลู) (a leaf [esp. betel leaf])

(2) ใบไม้ที่ใช้เขียน, ใบไม้ที่มีหนังสือจารึกอยู่, จดหมาย; ของบริจาค, เครื่องบรรณาการ (a leaf for writing upon, written leaf, letter; donation, bequest) 

(3) ขนนก, ปีกนก (a feather, wing)

ชั้นเดิมศัพท์นี้หมายถึง “ใบไม้” แต่ต่อมาความหมายขยายไปถึง “หนังสือ” อาจเป็นเพราะแต่เดิมมนุษย์ใช้ใบไม้เป็นที่ขีดเขียนลายลักษณ์ลงไป “ปณฺณ” จึงหมายถึงหนังสือไปด้วย 

ปณฺณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “บรรณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรณ, บรรณ– : (คำนาม) ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).”

(๒) “นิทัศน์” 

บาลีเป็น “นิทสฺสน” อ่านว่า นิ-ทัด-สะ-นะ รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + ทิสฺ (ธาตุ = ดู, เห็น) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง ทิสฺ เป็น ทสฺส 

: นิ + ทิสฺ = นิทิสฺ + ยุ > อน = นิทิสน > นิทสฺสน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องแสดงให้เห็นชัดเจน” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “นิทสฺสน” ว่า อุทาหรณ์, ตัวอย่าง 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นิทสฺสน” ว่า “pointing at” evidence, example, comparison, apposition, attribute, characteristic; sign, term (“การชี้ไปที่” พยาน, หลักฐาน, ตัวอย่าง, การเปรียบเทียบ, การขยายความ, คุณลักษณะ; เครื่องหมาย, ข้อกำหนด)

บาลี “นิทสฺสน” สันสกฤตเป็น “นิทรฺศน” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นิทรฺศน : (คำนาม) ‘นิทรรศน์,’ ‘สิ่งซึ่งแสดงเต็มที่หรือแน่นอน’ ตัวอย่างหรืออุทาหรณ์; ศาสน์หรือธรรมสูตร์; อรรถ, ภาวารถหรือภาวะ; มูลหรือสูตร์; ‘what fully or certainly shows,’ an example or illustration; injunction or precept; tenor or purport; authority or text.”

บาลี “นิทสฺสน” ภาษาไทยใช้เป็น “นิทัศน์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิทัศน์ : (คำนาม) ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์, บางทีใช้ว่า นิทัศนอุทาหรณ์. (ส. นิทรฺศน; ป. นิทสฺสน).”

บรรณ + นิทัศน์ = บรรณนิทัศน์ แปลตามศัพท์ว่า “การแสดงหนังสือ” 

คำว่า “บรรณนิทัศน์” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

ขยายความ :

คำว่า “บรรณนิทัศน์” บ้างว่าเป็นศัพท์บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า Annotation บ้างว่าเป็นศัพท์บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า Bibliography

เว็บไซต์แห่งหนึ่งอธิบายคำว่า “บรรณนิทัศน์” ไว้ดังนี้ –

…………..

      บรรณนิทัศน์ (Annotation) คือ การบอกกล่าวให้ทราบถึงสาระหรือเนื้อเรื่องของเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือวัสดุแต่ละชิ้น เป็นเครื่องช่วยการตัดสินใจเลือกเอกสาร และยังเป็นเครื่องมือแจ้งให้แก่ผู้ใช้ทราบถึงคุณค่า สาระของเอกสารนั้น ๆ

https://bonjourprincess.wordpress.com

…………..

เว็บไซต์อีกแห่งหนึ่งอธิบายคำว่า “บรรณนิทัศน์” ไว้ดังนี้ –

…………..

      บรรณนิทัศน์ หมายถึง ข้อเขียนที่ผู้อ่านหรือผู้เขียนบรรณนิทัศน์เขียนขึ้นเพื่อแนะนำผู้อ่าน เกี่ยวกับหนังสือชื่อหนึ่งๆ ในแง่มุมต่างๆ เช่น เกี่ยวกับผู้แต่ง เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง วิธีดำเนินเรื่องหรือ แนวการเขียน เป็นต้น ลักษณะของการเขียนอาจแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนไว้ด้วย นอกเหนือจากเรื่องราวที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนั้นก็ได้

      บรรณนิทัศน์เป็นสารสนเทศประเภททุติยภูมิ ที่เกิดจากการรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศปฐมภูมิ เป็นการนำสารสนเทศประเภทเดียวกันมาไว้ด้วยกัน จัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ ย่อเรื่องให้เข้าใจง่าย เช่นเดียวกับการจัดทำดรรชนีวารสารหรือสาระสังเขป

บรรณนิทัศน์ (Bibliography)

…………..

ญาติมิตรท่านใดมีข้อมูลที่แสดงความหมายของ “บรรณนิทัศน์” ที่เป็นทางการ เช่นความหมายที่ราชบัณฑิตยสภาอธิบายไว้เป็นต้น ถ้าจะกรุณานำมาร่วมบูรณาการเพื่อเป็นองค์ความรู้ร่วมกัน ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำแนะนำให้รู้

: มิได้แปลว่าให้รู้แค่คำแนะนำ

#บาลีวันละคำ (4,376)

5-6-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *