บาลีวันละคำ

อวัจนภาษา (บาลีวันละคำ 4,401)

อวัจนภาษา

เรียนรู้ในแง่ภาษา

อ่านว่า อะ-วัด-จะ-นะ-พา-สา

ประกอบด้วยคำว่า อวัจน + ภาษา

(๑) “อวัจน

เขียนแบบบาลีเป็น “อวจน” อ่านว่า อะ-วะ-จะ-นะ รากศัพท์มาจาก + วจน 

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

กฎการประสมของ + : 

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “วจน” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ (คือ -) จึงแปลง เป็น  

(ข) “วจน” อ่านว่า วะ-จะ-นะ รากศัพท์มาจาก วจ (ธาตุ = พูด) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วจฺ + ยุ > อน = วจน แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขาพูด” “คำเป็นเครื่องพูด

วจน” ในบาลีหมายถึง –

(1) คำพูด, การเปล่งเสียง, ถ้อยคำ, การร้องเรียก (speaking, utterance, word, bidding)

(2) วิธีแสดงออกซึ่งคำพูด, พจน์, การแสดงออก (way of speech, term, expression)

+ วจน = นวจน > อวจน แปลว่า “การไม่พูด” หมายถึง การไม่เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำที่มีความหมาย (เสียงบางเสียงที่เปล่งออกมาอาจไม่มีความหมายอยู่ในเสียงนั้น)

อวจน” ในที่นี้ใช้เป็น “อวัจน” 

(๒) “ภาษา” 

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “ภาสา” (ส เสือ) อ่านว่า พา-สา รากศัพท์มาจาก –

(1) ภาส (ธาตุ = พูด) + (อะ) ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ภาส + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “การพูด” “วาจาอันคนพูด

(2) ภา (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ภา + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ส่องสว่าง” “สิ่งที่รุ่งเรือง

ความหมายที่เข้าใจกัน “ภาสา” คือ คำพูด, ถ้อยคำ, วาจา (speech, language)

บาลี “ภาสา” (ส เสือ) สันสกฤตเป็น “ภาษา” (ษ ฤๅษี) เราเขียนตามสันสกฤตเป็น “ภาษา” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ภาษา” ไว้ดังนี้ –

(1) ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม

(2) เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ

(3) (คำโบราณ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา (พงศ. ร. ๓)

(4) (ศัพท์คอมพิวเตอร์) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา

(5) โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา

อวัจน + ภาษา = อวัจนภาษา แปลเชิงขยายความว่า “ภาษาที่ไม่เปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูดที่มีความหมาย” คือ ภาษาที่ใช้กิริยาอาการ สิ่งหรือเสียงอื่น ๆ แทนคำพูด

ขยายความ :

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่คำว่า “อวัจนภาษา” (อ่านเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เวลา 20:30 น.) อธิบายไว้ดังนี้ –

…………..

อวัจนภาษา (อังกฤษ: nonverbal communication, NVC) หมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ การพูด การอ่านตามตัวหนังสือ และการเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือหมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ระบบคำและประโยค ตัวอย่างเช่น ป้ายจราจร ภาษามือ สัญรูปอารมณ์ เป็นต้น

…………..

เอกสารแห่งหนึ่ง (ไม่ทราบที่มา) อธิบายไว้ดังนี้ –

…………..

        อวัจนภาษา (non-verbal language) หมายถึง การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้ สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้

…………..

ดูก่อนภราดา!

บางเรื่อง –

: ไม่ต้องพูด

: เข้าใจง่ายกว่าพูด

#บาลีวันละคำ (4,401)

30-6-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *