บาลีวันละคำ

สังฆปูรณ (บาลีวันละคำ 4,406)

สังฆปูรณ

หนึ่งใน 3 สังฆ์

ท่านว่านักบวช-รวมทั้งสมาชิกของหมู่คณะ-มี 3 สังฆ์ คือ –

สังฆโสภณ (สัง-คะ-โส-พน) = บวชเข้ามาทำให้ศาสนางดงาม

สังฆหายน (สัง-คะ-หา-ยน) = บวชเข้ามาทำให้ศาสนาเสื่อมทราม

สังฆปูรณ (สัง-คะ-ปู-รน) = บวชเข้ามาเป็นอาสาเฝ้าอาราม

…………..

สังฆปูรณ” อ่านโดยประสงค์ว่า สัง-คะ-ปู-รน ประกอบด้วยคำว่า สังฆ + ปูรณ

(๑) “สังฆ

เขียนแบบบาลีเป็น “สงฺฆ” อ่านว่า สัง-คะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + หนฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สงฺ), แปลง หนฺ เป็น

: สํ > สงฺ + หนฺ > + = สงฺฆ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลักๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า “สงฺฆ

(2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น “สงฺฆ” อยู่ได้

สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่, กอง, กลุ่ม, คณะ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆ” เป็นอังกฤษว่า –

(1) multitude, assemblage (ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง)

(2) the Order, the priesthood, the clergy, the Buddhist church (คณะสงฆ์, พระ, นักบวช, พุทธจักร)

(3) a larger assemblage, a community (กลุ่มใหญ่, ประชาคม)

สงฺฆ” ปกติในภาษาไทยใช้ว่า “สงฆ์” ถ้าอยู่หน้าคำสมาสมักใช้เป็น “สังฆ-”

สงฆ์” ในพระพุทธศาสนามีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) “สาวกสงฆ์” หมายถึงหมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ที่ได้บรรลุธรรมในภูมิอริยบุคคลคือเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ดังคำสวดในสังฆคุณที่ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ 

(2) “ภิกขุสงฆ์” หมายถึงชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย 

บางทีเรียกอย่างแรกว่า “อริยสงฆ์” อย่างหลังว่า “สมมติสงฆ์

ในที่นี้ “สงฺฆสงฆ์” หมายถึง “หมู่คณะ” โดยตรง และหมายถึง “ศาสนา” โดยนัย

(๒) “ปูรณ

บาลีอ่านว่า ปู-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก –

อ่านว่า ปู-ระ-นี รากศัพท์มาจาก ปูรฺ (ธาตุ = เต็ม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น  

: ปูรฺ + ยุ > อน = ปูรน > ปูรณ แปลตามศัพท์ว่า “การทำให้เต็ม” หรือ “สิ่งที่ทำให้เต็ม” หมายถึง ทำให้เต็ม, ทำให้อิ่ม (filling)

บาลี “ปูรณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “บูรณ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “บูรณ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

บูรณ-, บูรณ์ : (คำวิเศษณ์) เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).”

ในที่นี้ใช้คงรูปบาลีเป็น “ปูรณ” อ่านโดยประสงค์ว่า ปู-รน

สงฺฆ + ปูรณ = สงฺฆปูรณ แปลว่า “ทำสงฆ์ให้เต็ม” “ทำหมู่คณะให้เต็ม

สงฺฆปูรณ” เขียนแบบบาลี อ่านว่า สัง-คะ-ปู-ระ-นะ

เขียนแบบไทยเป็น “สังฆปูรณ” อ่านโดยประสงค์ว่า สัง-คะ-ปู-รน

ขยายความ :

สังฆปูรณ” ผู้ทำหมู่คณะให้เต็ม มีความหมายว่า หมู่นั้นคณะนั้นควรจะมีสมาชิกเป็นจำนวนเท่าใดจึงจะสามารถดำรงความเป็นหมู่คณะอยู่ได้ ถ้าเป็นการประชุม ก็คือต้องมีสมาชิกมาประชุมเป็นจำนวนเท่าไรจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม คนชนิดนี้ก็เข้าร่วมอยู่ในหมู่คณะนั้นเพื่อให้มีจำนวนครบตามกฎเกณฑ์ แต่ไม่ทำประโยชน์อะไรให้หมู่คณะ เพราะไม่สามารถจะทำได้ หรือสามารถจะทำได้ แต่ก็ไม่มีแก่ใจที่จะทำหรือไม่มีความคิดไม่มีอุดมคติอุดมการณ์ที่จะทำ

ถ้าเป็นพระ ก็เป็นอย่างที่เรียกกันว่า-อยู่เฝ้าวัด 

ไม่ได้ทำให้วัดเสื่อม

แต่ก็ไม่ได้ทำให้วัดเจริญ

ทำได้แค่-อยู่เฝ้าวัด

…………..

ดูก่อนภราดา!

ความเหมือนกันระหว่างคนใบ้กับคนเขลา คือ ไม่พูด

แต่ความต่างกัน คือ –

: คนใบ้ไม่พูด เพราะพูดไม่ได้

: คนเขลาไม่พูด เพราะไม่รู้จะพูดอะไร

#บาลีวันละคำ (4,406)

5-7-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *