บาลีวันละคำ

อมตวาจา (บาลีวันละคำ 4,414)

อมตวาจา

มีความหมายว่าอย่างไร

อ่านว่า อะ-มะ-ตะ-วา-จา

ประกอบด้วยคำว่าว่า อมต + วาจา

(๑) “อมต” 

อ่านว่า อะ-มะ-ตะ รากศัพท์มาจาก + มต 

(ก) “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

แปลง เป็น ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “มต” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

(ข) “มต” อ่านว่า มะ-ตะ รากศัพท์มาจาก มรฺ (ธาตุ = ตาย) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (มรฺ >

: มรฺ + = มรต > มต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ตายแล้ว

+ มต = นมต > อมต (คุณศัพท์, นปุงสกลิงค์) แปลว่า ผู้ไม่ตาย, สิ่งที่ทำให้ไม่ตาย 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อมต” ดังนี้ –

(1) The drink of the gods, ambrosia, water of immortality (น้ำดื่มของเทพยดา, กระยาทิพย์, น้ำอมฤต) 

(2) A general conception of a state of durability & non-change, a state of security i. e. where there is not any more rebirth or re-death (มโนภาพทั่ว ๆ ไปของความยั่งยืนและความไม่เปลี่ยนแปลง, สถานะความมั่นคง คือที่ซึ่งไม่มีการกลับมาเกิดหรือกลับมาตายอีก) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “อมต” ไว้ดังนี้ –

อมต-, อมตะ : (คำวิเศษณ์) ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. (คำนาม) พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).”

บาลี “อมต” สันสกฤตเป็น “อมฤต” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า – 

อมฤต : (คำนาม) อาหารของเทพดา; น้ำ; เนย; ข้าว; เหล้า; ของหวาน; ยาพิษ; ทองคำ; ปรอท; ดีปลี, ฯลฯ; the food of the gods (ambrosia, nectar); water; butter; rice; spirituous liquor; sweetmeat; poison; gold; quicksilver; long pepper &c.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “อมฤต” ไว้ดังนี้ –

อมฤต, อมฤต– : (คำนาม) นํ้าทิพย์ เรียกว่า นํ้าอมฤต; เครื่องทิพย์. (ส.; ป. อมต).”

ในที่นี้ใช้เป็น “อมต” ตามรูปบาลี

(๒) “วาจา

รากศัพท์มาจาก วจฺ (ธาตุ = พูด) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(จฺ) เป็น อา ตามสูตร “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (วจฺ > วาจ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตฺถีลิงค์

: วจฺ + = วจณ > วจ > วาจ + อา = วาจา แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขาพูด” หมายถึง คำพูด การกล่าว, การพูด, วาจา (word, saying, speech)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วาจา : (คำนาม) ถ้อยคํา, คํากล่าว, คําพูด, เช่น วาจาสุภาพ วาจาอ่อนหวาน วาจาสัตย์. (ป., ส.).”

อมต + วาจา = อมตวาจา (อะ-มะ-ตะ-วา-จา) แปลว่า “คำอันไม่ตาย

อมตวาจา” เป็นรูปคำบาลี เมื่อเขียนเป็นคำไทยก็สะกดตรงกัน คือรูปคำบาลีกับรูปคำไทยใช้ตรงกัน

คำว่า “อมตวาจา” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

มีปัญหาว่า คำนี้ควรสะกดอย่างไร? 

อมตวาจา” 

หรือ “อมตะวาจา” (มีสระ อะ กลางคำด้วย)

ตามหลักภาษาไทย คำสมาสสนธิที่มีเสียง อะ กลางคำ ไม่ต้องมีสระ อะ ภาษาวิชาการว่า ไม่ต้องประวิสรรชนีย์

ตัวอย่างเช่น สาธารณะ + สุข เป็น “สาธารณสุข” ไม่ใช่ “สาธารณะสุข”

คำเทียบในพจนานุกรมฯ คือ “อมตบท” ก็ไม่ได้สะกดเป็น “อมตะบท” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อมตบท : (คำนาม) ทางพระนิพพาน. (ป. อมตปท; ส. อมฺฤตปท).”

เพราะฉะนั้น คำนี้จึงสะกดเป็น “อมตวาจา” 

ไม่ใช่ “อมตะวาจา

อภิปรายขยายความ :

เมื่อกล่าวถึง “อมตวาจา” หรือคำสัตย์ เรานิยมอ้างภาษิต “สจฺจํ  เว  อมตา  วาจา” แปลว่า “คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย” (สังยุตนิกาย สคาถวรรค 15/740/278, ขุทกนิกาย เถรคาถา 26/401/434) 

แล้วก็จะได้ยินคำเหน็บแนมว่า คำจริงไม่ตาย แต่คนพูดความจริงมักตาย 

ความคิดเช่นนี้นับเป็นการบั่นทอนกำลังใจอย่างหนึ่ง ทำให้คนไม่อยากพูดความจริง ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้คนพูดความเท็จไปในตัว

คำสัตย์” ในภาษิตนั้นท่านหมายถึง “สัจธรรม” คือหลักธรรมอันแสดงข้อปฏิบัติที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อนำมาแสดงแล้วมีผู้ปฏิบัติดำเนินตามก็จะเป็นเหตุให้บรรลุอมตธรรมคือพระนฤพานอันไม่มีภพใหม่ คือไม่ต้องเกิดอีก เมื่อไม่มีเกิด ก็เป็นอันไม่มีแก่เจ็บตาย อันเป็นความหมายของ “อมตะ” ที่แปลว่า “ไม่ตาย”

สจฺจํ  เว  อมตา  วาจา” มีความหมายเช่นนี้ 

แต่เพราะไม่ศึกษาสำเหนียก จึงไม่รู้ เมื่อไม่รู้แล้วเอาไปพูดตามที่เข้าใจเอาเอง ความหมายของภาษิตจึงผิดเพี้ยนไป

คนควรพูดคำสัตย์ นี่คือหลักปฏิบัติของคนที่เจริญแล้ว

พระพุทธศาสนาไม่ได้หลับตาสอนให้พูดแต่คำสัตย์ แต่สอนองค์ประกอบของการพูดที่ถูกต้องควบคู่ไว้ด้วยเสมอ กล่าวคือ – 

กาเลน ภาสิตา = รู้กาลเทศะที่จะพูด 

สจฺจา ภาสิตา = พูดเรื่องจริง 

สณฺหา ภาสิตา = พูดอย่างสุภาพ 

อตฺถสญฺหิตา ภาสิตา = พูดสร้างสรรค์ 

เมตฺตจิตฺเตน ภาสิตา = พูดด้วยไมตรีจิต 

เวลาจะเหน็บแนมหรือเย้ยหยันว่า คำจริงไม่ตาย แต่คนพูดความจริงมักตาย ขอได้โปรดระลึกถึงหลักการพูดเหล่านี้ด้วย 

ยิ่งระลึกไว้เสมอๆ ไม่ว่าจะพูดอะไร ก็ยิ่งดี

และโดยเฉพาะเมื่อจะเหน็บแนมสุภาษิต “สจฺจํ  เว  อมตา  วาจา” ขอได้โปรดศึกษาความหมายจนเข้าใจถูกต้องถ่องแท้เสียก่อน

การยกเอามาพูดโดยไม่คิด จะกลายเป็นการช่วยกันบิดเบือนหลักธรรมไปโดยไม่รู้ตัว

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงปรับความเชื่อให้ตรงกับความจริง

: อย่าเกณฑ์ความจริงให้ตรงกับความเชื่อ

#บาลีวันละคำ (4,414)

13-7-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *