บาลีวันละคำ

กิริยามารยาท (บาลีวันละคำ 601)

กิริยามารยาท

(บาลีแบบไทย)

อ่านว่า กิ-ริ-ยา-มา-ระ-ยาด

ประกอบด้วย กิริยา + มารยาท

กิริยา” รากศัพท์มาจาก กร (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย แปลง ที่ เป็น อิ, ลง อิ อาคม ที่ , ลบ ณฺ ที่ ณฺย, แปลง ที่ เป็น อา (เพื่อให้เป็นอิตถีลิงค์)

: กร > กิร + อิ = กิริ + ณฺย > = กิริย > กิริยา

กิริยา” ในบาลีมีความหมายว่า การกระทำ, การปฏิบัติ, กรรม; การที่กระทำลงไป, การสัญญา, การสาบาน, การอุทิศ, การตั้งใจ, คำปฏิญาณ; ความยุติธรรม (ดูเพิ่มเติมที่ “กิริยากริยา” บาลีวันละคำ (396) 15-6-56)

ในภาษาไทย พจน.42 บอกไว้ว่า –

กิริยา : การกระทํา; อาการที่แสดงออกมาด้วยกาย, มารยาท, บางทีใช้ในอาการที่ดี เช่น มีกิริยา หมายความว่า มีกิริยาดี

มารยาท” บาลีเป็น “มริยาท” (มะ-ริ-ยา-ทะ) (เป็น “มริยาทา” ก็มี) รากศัพท์มาจาก ปริ (= รอบ) + อา (= กลับความ) + ทา (ธาตุ = ให้.กลับความ = ยึดเอา) แปลง เป็น , ลง อาคม ระหว่าง ปริ + อา

: ปริ > มริ + + อา = มริยา + ทา = มริยาทา (มริยาท)

มริยาท” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดยึดถือ” หมายถึง กรอบ, ขอบเขต, เขตแดน, ขีดคั่น, ฝั่ง, เขื่อน, กฎ, การควบคุม, อยู่ในเส้นหรือเขตแดน, ปฏิบัติตามกฎ, อยู่ในความควบคุม (ดูเพิ่มเติมที่ “มริยาท” บาลีวันละคำ (279) 12-2-56)

มริยาท” สันสกฤตเป็น “มรฺยาทา” ภาษาไทยใช้ว่า “มารยาท” และ “มรรยาท” (มัน-ยาด) พจน.42 บอกความหมายไว้ว่า “กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ

สรุป :

กิริยา = อาการที่ดีที่แสดงออกมาด้วยกาย

มารยาท = กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ

กิริยา + มารยาท = กิริยามารยาท เป็นการเอาคำ ๒ คำมาพูดรวมกัน

ในทางปฏิบัติ “กิริยามารยาท” ก็คือ ไม่ทำไม่พูดตามที่อยาก แต่ทำและพูดตามที่ควร และให้เรียบร้อยถูกกาลเทศะ

: อยากในทางเอาดี อย่าเอาดีในทางอยาก

7-1-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย