บาลีวันละคำ

อัมมตาตา (บาลีวันละคำ 4,231)

อัมมตาตา

พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย!

อัมมตาตา” อ่านว่า อำ-มะ-ตา-ตา ประกอบด้วยคำว่า อัมม + ตาตา

(๑) “อัมม” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อมฺม” อ่านว่า อำ-มะ รูปคำเดิมเป็น “อมฺมา” อ่านว่า อำ-มา รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; บูชา) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ 

: อมฺ + = อมฺม + อา = อมฺมา แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้อันบุตรธิดาไปหา” (คือเข้ามาคลอเคลีย) (2) “ผู้อันบุตรธิดาบูชา” หมายถึง แม่ (mother) 

(๒) “ตาตา

อ่านตรงตัวว่า ตา-ตา รูปคำเดิมเป็น “ตาต”อ่านว่า ตา-ตะ รากศัพท์มาจาก ตา (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย 

: ตา + = ตาต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแลบุตร” หมายถึง พ่อ (father) 

การประสมคำ :

(1) อมฺมา + ตาต ลบสระหน้า (อมฺมา > อมฺม

: อมฺมา + ตาต = อมฺมาตาต > อมฺมตาต แปลว่า “แม่และพ่อ” 

(2) “อมฺมตาต” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) พหุวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “อมฺมตาตา” (อำ-มะ-ตา-ตา) แปลว่า “แม่และพ่อทั้งหลาย” 

อมฺมตาตา” เขียนแบบไทยเป็น “อัมมตาตา” อ่านว่า อำ-มะ-ตา-ตา

ขยายความ :

อมฺม” ใช้เป็นคำเรียกสตรี เด็กหญิง หรือลูกสาว แต่โดยปกติใช้ในกรณี –

(1) เด็ก ๆ ร้องเรียกมารดา = แม่จ๋า, คุณแม่ที่รัก (by children in addressing their mother = mammy, mother dear)

(2) โดยทั่วไป เมื่อร้องเรียกสตรีอย่างคุ้นเคย = คุณนาย, คุณหญิง, ที่รัก (in general when addressing a woman familiarly = good woman, my lady, dear)

ตาต” ใช้เป็นคำเรียกคนคนเดียวหรือมากกว่านั้นด้วยความรัก, อย่างเพื่อนฝูง หรือด้วยความเคารพ, ทั้งที่หนุ่มกว่าและแก่กว่าผู้พูด, ไม่ว่าจะเหนือกว่าหรือต่ำกว่า (used as term of affectionate, friendly or respectful address to one or more persons, both younger & older than the speaker, superior or inferior)

บางกรณี “ตาต” ใช้เป็นคำที่ลูกเรียกพ่อก็ได้ พ่อแม่เรียกลูกชายก็ได้

อมฺมตาต” เมื่อลูกเรียกพ่อแม่ มีความหมายเหมือน mammy – daddy ในภาษาอังกฤษ

เมื่อรวมกันเป็น “อมฺมตาตา” ใช้ในกรณีร้องทักที่ชุมนุมชน ตรงกับคำอังกฤษว่า Ladies and gentlemen หรือที่นักการเมืองบ้านเรานิยมใช้ในการปราศรัยหาเสียงขึ้นต้นว่า “พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย” นั่นเอง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ร้องทักกันดี ๆ ดีไปครึ่งหนึ่งแล้ว

: แต่ถ้าพูดกันไม่ดี เสียทั้งหมด-รวมทั้งครึ่งที่ดีนั้นด้วย

#บาลีวันละคำ (4,231)

12-1-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *