บาลีวันละคำ

โรคนีฬ (บาลีวันละคำ 4,259)

โรคนีฬ

ไม่ยอมรับศัพท์ธรรม ก็ขอให้ยอมรับสัจธรรม 

อ่านแบบไทยตามประสงค์ว่า โรก-คะ-นีน

ประกอบด้วยคำว่า โรค + นีฬ

(๑) “โรค

บาลีอ่านว่า โร-คะ รากศัพท์มาจาก รุชฺ (ธาตุ = เสียดแทง, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ รุ-(ชฺ) เป็น โอ (รุชฺ > โรช), แปลง ชฺ เป็น  

: รุชฺ + = รุชณ > รุช > โรช > โรค แปลตามศัพท์ว่า (1) “อาการที่เสียดแทง” (2) “อาการที่ทำลายอวัยวะน้อยใหญ่” หมายถึง ความเจ็บป่วย, ความไข้ (illness, disease)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โรค, โรค– : (คำนาม) ภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปรกติเนื่องจากเชื้อโรคเป็นต้น. (ป., ส.).”

(๒) “นีฬ” 

บาลีอ่านว่า นี-ละ รากศัพท์มาจาก นีลฺ (ธาตุ = ดำคล้ำ) + (อะ) ปัจจัย, แปลง ลฺ เป็น

: นีลฺ + = นีล > นีฬ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีสีดำคล้ำ” หมายถึง รัง, รังนก (a nest)

ขยายความแทรก :

บาลี “นีฬ” สันสกฤตเป็น “นีฑ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

นีฑ : (คำนาม) รัง; สถาน, ที่; a nest; a place, a spot.”

นอกจาก “นีฬ” แล้ว บาลียังมี “นิฑฺฒ” (นิด-ทะ) อีกรูปหนึ่ง รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + สทฺ (ธาตุ = นั่ง) + (อะ) ปัจจัย, ลบต้นธาตุแล้วแปลง ทฺ เป็น ฑฺฒ (สทฺ > > ฑฺฒ)

: นิ + สทฺ = นิสทฺ + = นิสท > นิท > นิฑฺฒ 

หรือจะว่า แปลง สทฺ เป็น ฑฺฒ ก็ได้

: นิ + สทฺ = นิสทฺ + = นิสท > นิฑฺฒ 

นิฑฺฒ” แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่นั่ง” หมายถึง รัง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นิฑฺฒ” ว่า nest, place, seat (รัง, ที่อยู่, ที่นั่ง) 

ว่าทางรูปศัพท์ บาลี “นีฬ” สันสกฤตเป็น “นีฑ” ก็คือ ในบาลี เป็น ในสันสกฤต คำที่พอเทียบให้เห็นคุ้น ๆ คำหนึ่ง คือ “ครุฬ” ในบาลี เป็น “ครูฑ” ในสันสกฤต ไทยเราเอามาใช้เป็น “ครุฑ

สันสกฤตเป็น “นีฑ” บาลีก็มีรูป “นิฑฺฒ” อีกคำหนึ่ง ใกล้เคียงกันเข้าไปอีกนิด

: นีฑ < นิฑฺฒ < นีฬ > นิฑฺฒ > นีฑ 

รูป “นิฑฺฒ” ของบาลี เท่าที่ตรวจดูในคัมภีร์ของเรา ท่านสะกดเป็น “นิทฺธ” (ใช้ ทหาร+ ธง แทน มณโฑ+ ผู้เฒ่า) ทุกแห่ง แต่ก็มีเชิงอรรถบอกความแตกต่างไว้ด้วยเสมอ 

เป็นอันว่า ศัพท์นี้สะกดได้ 3 รูป คือเป็น “นีฬ” “นิฑฺฒ” “นิทฺธ” ไปพบรูปไหนก็อย่าแปลกใจหรือเข้าใจว่าสะกดผิด เพราะใช้ได้ทั้ง 3 รูป

ในที่นี้ขอใช้รูป “นีฬนี + จุฬา

โรค + นีฬ = โรคนีฬ บาลีอ่านว่า โร-คะ-นี-ละ แปลว่า “รังของโรค

โรคนีฬ” ใช้ในภาษาไทยคงรูปตามบาลี แต่เจตนาให้อ่านว่า โรก-คะ-นีน

โรคนีฬ” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 และยังไม่มีใช้ในภาษาไทย

ขยายความ :

ปกติเมื่อนำคำแปลกใหม่มาเขียนเป็นบาลีวันละคำ ผู้เขียนจะบอกว่า ขอฝากไว้ในวงวรรณอีกคำหนึ่ง หรือพูดเป็นสำนวนนักจัดรายการเพลงทางวิทยุในสมัยหนึ่งว่า “ขอฝากไว้ในอ้อมใจของมิตรรักแฟนเพลง” 

แต่คำว่า “โรคนีฬ” นี้ ผู้เขียนบาลีวันละคำไม่คิดจะฝาก เพราะประเมินทั้งรูป ทั้งเสียง (โรก-คะ-นีน) ทั้งความหมายแล้ว เชื่อว่าไม่มีใครอยากจะเอาไปใช้แน่นอน แปลว่าคำนี้ปลูกไม่ขึ้นในภาษาไทย นำมาเสนอไว้เพียงเพื่อบอกให้รู้ว่า คำแบบนี้ก็มี และในบาลีมีคำทำนองนี้อีกเป็นอเนกอนันต์ที่เรายังไม่รู้จัก

แต่ในคัมภีร์ ท่านใช้คำว่า “โรคนีฬ” แสดงสัจธรรมของชีวิตไว้อย่างน่าสนใจ ขอยกมาเสนอในที่นี้สำนวนหนึ่ง ดังนี้ –

…………..

ปริชิณฺณมิทํ รูปํ

โรคนิทฺธํ ปภงฺคุณํ

ภิชฺชติ ปูติ สนฺเทโห

มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ.

(ปะริชิณณะมิทัง รูปัง

โรคะนิทธัง ปะภังคุณัง

ภิชชะติ ปูติ สันเทโห

มะระณันตัง หิ ชีวิตัง)

ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว 

เป็นที่อาศัยของโรค แตกทำลายง่าย 

ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้จักแตกสลายพังภินท์ 

เพราะชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย 

Thoroughly worn out is this body, 

A net of diseases and very frail. 

This heap of corruption breaks to pieces. 

For life indeed ends in death.

ที่มา: 

คำบาลี: ชราวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 21

คำแปลไทย-อังกฤษ: หนังสือ “พุทธวจนะในธรรมบท” โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

…………..

ดูก่อนภราดา!

: กายป่วยก็ป่วยไป

: ใจอย่าป่วย

#บาลีวันละคำ (4,259)

9-2-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *