บาลีวันละคำ

สมเด็จพระนพรัตน์ (บาลีวันละคำ 4,287)

สมเด็จพระนพรัตน์

คำวิบัตินี้ท่านได้แต่ใดมา

พระมหาเถระสมัยอยุธยาที่เรียกขานกันว่า “สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว” เอกสารบางฉบับสะกดเป็น “สมเด็จพระพนรัต” 

กล่าวคือ คำว่า “วัน” ที่แปลว่า “ป่า” ในภาษาบาลีเขียนเป็น “วน” และในภาษาไทยมีหลักนิยมแผลง เป็น ดังนั้น “วน” จึงแผลงเป็น “พน” อ่านแบบไทยว่า พน กรณีมีคำว่า “รัต” มาสมาสข้างท้ายเป็น “พนรัต” อ่านว่า พน-นะ-รัด (มีเสียง –นะ– ด้วย)

คำว่า “สมเด็จพระพนรัต” นี่เองที่คนไม่คุ้นบาลี และไม่ได้นึกถึงหลักนิยมภาษาไทย มองพลาดตาเผลอ เห็น “พน” เป็น “นพ” แล้วสะกดขั้นแรกเป็น “สมเด็จพระนพรัต” และเพราะคุ้นกับคำว่า “นพรัตน์” ที่แปลว่า แก้วเก้าประการ ก็เลยสะกดก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เป็น “สมเด็จพระนพรัตน์” โดยไม่ได้เฉลียวใจว่าสะกดผิด คงเข้าใจดิ่งไปว่า ชื่อพระมหาเถระรูปนี้คือ “สมเด็จพระนพรัตน์” หมายถึง แก้วเก้าประการ

“สมเด็จพระนพรัตน์” คำวิบัติมีที่มาดังว่านี้

โปรดช่วยกันจำและบอกกล่าวต่อ ๆ กันไปว่า พระมหาเถระรูปนี้ชื่อ “สมเด็จพระพนรัต” ไม่ใช่ “สมเด็จพระนพรัตน์

“-พระพนรัต

ไม่ใช่ “-พระนพรัตน์”

พน

ไม่ใช่ “นพ”

ความหมายของศัพท์:

(๑) “วัน” หรือ “พน

เขียนแบบบาลีเป็น “วน” อ่านว่า วะ-นะ รากศัพท์มาจาก วนฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา, ส่งเสียง) + (อะ) ปัจจัย

: วนฺ + = วน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่เป็นที่เสพสุขแห่งเหล่าสัตว์” (2) “ที่เป็นที่ส่งเสียงแห่งเหล่าสัตว์” (3) “ที่อันผู้ต้องการวิเวกเสพอาศัย” 

วน” นักเรียนบาลีนิยมแปลกันว่า “ป่า

คำว่า “ป่า” ในภาษาไทยมักรู้สึกกันว่าเป็นสถานที่รกทึบ มีอันตรายจากสัตว์ป่า และเป็นสถานที่น่ากลัว

คำว่า “วน” ในภาษาบาลีมีความหมายดังนี้ –

(1) สถานที่อันน่ารื่นรมย์และเป็นที่เล่นกีฬา (as a place of pleasure & sport) : wood = ป่าไม้

(2) สถานที่มีอันตรายและน่าสะพรึงกลัว (as well as of danger & frightfulness) : jungle = ไพรสณฑ์

(3) สถานที่อาศัยของนักบวช มีชื่อเสียงในทางวิเวก (as resort of ascetics, noted for its loneliness) : forest = ป่าดงพงไพร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วน : (คำนาม) อรัณย์, ป่า; น้ำ; ที่อยู่, ที่อาศรัย, บ้าน, เรือน; น้ำตก; a forest, a wood, a grove; water; a residence, a dwelling or abode, a house; a cascade or waterfall.”

ในที่นี้ภาษาไทยสะกดเป็น “วัน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วัน ๓ : (คำนาม) ป่าไม้, ดง, เช่น อัมพวัน คือ ป่ามะม่วง. (ป. วน).”

และแผลง “วน” เป็น “พน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พน, พน– : (คำนาม) ป่า, พง, ดง. (ป., ส. วน).”

(๒) “รัต

เขียนแบบบาลีเป็น “รต” อ่านว่า ระ-ตะ รากศัพท์มาจาก รมฺ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (รมฺ > )

: รมฺ + = รมต > รต แปลตามศัพท์ว่า “ยินดีแล้ว” หมายถึง 

ยินดี, ตั้งใจ, เอาใจจดจ่อ (delighting in, intent on, devoted to)

รต” เป็นคำกริยาที่เรียกว่า “กิริยากิตก์” และใช้เป็นคุณศัพท์ได้ด้วย

รต” ในที่นี้เขียนแบบไทยเป็น “รัต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัต ๑ : (คำกริยา) ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).”

(๓) “รัตน์” 

บาลีเป็น “รตน” อ่านว่า ระ-ตะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รติ (ความยินดี) + ตนฺ (ธาตุ = ขยาย, แผ่ไป) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ติ ที่ รติ (รติ > )

: รติ + ตนฺ = รติตน + = รติตนณ > รติตน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายความยินดี” คือเพิ่มความยินดีให้

(2) รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ตน ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (รมฺ > )

: รมฺ + ตน = รมตน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้คน

(3) รติ (ความยินดี) + นี (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, ลบ อิ ที่ รติ (รติ > รต), ลบสระที่ธาตุ (นี > )

: รติ + นี = รตินี + = รตินี > รตนี > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่นำไปสู่ความยินดี

(4) รติ (ความยินดี) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ รติ เป็น ะ (รติ > รต), ลบ ต้นธาตุ (ชนฺ > )

: รติ + ชนฺ = รติชนฺ + = รติชน > รตชน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังความยินดีให้เกิดขึ้น” 

รตน” ในภาษาไทยเขียน “รัตน-” (รัด-ตะ-นะ- กรณีมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) “รัตน์” (รัด) “รัตนะ” (รัด-ตะ-นะ) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัตน-, รัตน์, รัตนะ : (คำนาม) แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).”

ย้ำ :

สมเด็จพระพนรัต” ไม่ใช่ “สมเด็จพระนพรัตน์” 

“-พระพนรัต” ไม่ใช่ “-พระนพรัตน์

พน” ไม่ใช่ “นพ

พน” แปลว่า ป่า 

นพ” แปลว่า เก้า (บางกรณีแปลว่า ใหม่)

ในที่นี้เป็น “พน” ไม่ใช่ “นพ

สมเด็จพระพนรัต” หมายถึง พระผู้ยินดีในการอยู่ป่า

ไม่ใช่ “สมเด็จพระนพรัตน์” 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สลับคำ ความหมายก็พิกล

: สลับคน งานก็พิการ

—————

ภาพประกอบ: โคลงบทหนึ่งจากลิลิตตะเลงพ่ายที่ระบุนาม “สมเด็จพนรัต”

#บาลีวันละคำ (4,287)

8-3-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *