บาลีวันละคำ

คิชฌกูฏ (บาลีวันละคำ 1,780)

คิชฌกูฏ

อ่านว่า คิด-ชะ-กูด

แยกศัพท์เป็น คิชฌ + กูฏ

(๑) “คิชฌ

บาลีเขียน “คิชฺฌ” (มีจุดใต้ ชฺ) อ่านว่า คิด-ชะ รากศัพท์มาจาก คิธฺ (ธาตุ = หวัง, ต้องการ) + ปัจจัย, แปลง ธฺ ที่สุดธาตุ กับ เป็น , ซ้อน ชฺ

: คิธฺ + = คิธย > (ธย > : คิ + ชฺ + ) คิชฺฌ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “นกที่หวัง” (คือบินหาเหยื่อด้วยความหวัง) หมายถึง แร้ง (a vulture)

(๒) “กูฏ” ( – ฏ ปฏัก)

บาลีอ่านว่า กู-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุฏฺ (ธาตุ = ตัด; เบียดเบียน; ร้อน; ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ทีฆะ อุ ที่ กุ-(ฏฺ) เป็น อู (กุฏฺ > กูฏฺ)

: กุฏฺ + = กุฏ > กูฏ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งอันเขาตัดแต่ง” (2) “ก้อนเหล็กเป็นเครื่องเบียดเบียน” (3) “ส่วนที่ร้อน” (4) “ส่วนที่ยื่นขึ้นไป

(2) กุ (น่ารังกียจ) + อฏฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ทีฆะ อุ ที่ กุ เป็น อู (กุ > กู)

: กุ + อฏฺ = กุฏ > กูฏ แปลตามศัพท์ว่า “กิจที่เป็นไปโดยอาการที่น่ารังเกียจ

กูฏ” (ปุงลิงค์) (นปุงสกลิงค์) (คุณศัพท์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สิ่งที่เด่น, ยอด (prominence, top)

(2) ส่วนยอดของบ้าน, หลังคา, ยอดแหลมของอาคาร (the top of a house, roof, pinnacle)

(3) จุดสูงสุด (the topmost point)

(4) กอง, สิ่งที่รวม ๆ กันขึ้นมา (a heap, an accumulation)

(5) ค้อน (a hammer)

(6) แร้ว, หลุมพรางหรือกับดัก (a trap, a snare)

(7) ความเท็จ, ความหลอกลวง (falsehood, deceit)

(8) เท็จ, โกง, หลอกลวง (false, deceitful, cheating)

ในที่นี้ “กูฏ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) (2) (3)

คิชฺฌ + กูฏ = คิชฺฌกูฏ (คิด-ชะ-กู-ตะ) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภูเขาที่มียอดเหมือนแร้ง” (2) “ภูเขาที่มียอดเป็นที่อาศัยอยู่ของแร้ง” (3) “ภูเขาที่มีแร้งอาศัยอยู่บนยอด

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “คิชฺฌกูฏ” ว่า ‘Vulture’s Peak’ Np. of a hill near Rājagaha (‘ยอดคล้ายแร้ง’, คิชฌกูฏ ชื่อของภูเขาซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองราชคฤห์)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต

“คิชฌกูฏ : ‘[ภูเขา]มียอดดุจแร้ง’, ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเบญจคีรี (ภูเขาห้าลูก คือ ปัณฑวะ คิชฌกูฏ เวภาระ อิสิคิลิ และเวปุลละ ที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์) ซึ่งได้ชื่ออย่างนี้ เพราะคนมองเห็นยอดเขานั้นมีรูปร่างเหมือนแร้ง (อีกนัยหนึ่งว่า เพราะมีแร้งอยู่บนยอดเขานั้น), ยอดเขาคิชฌกูฏเป็นที่ซึ่งพุทธศาสนิกชนรู้จักกันมากแม้ในบัดนี้ เพราะเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับบ่อย และยังมีซากพระคันธกุฎี ที่ผู้จาริกมักขึ้นไปสักการบูชา.”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เป็นแร้งยังฝากชื่อ ให้โลกลือในพุทธประวัติ

: เป็นคนไร้กุศลสมบัติ ก็อายสัตว์เสียชาติคน

22-4-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย