บาลีวันละคำ

สาธารณโภคี (บาลีวันละคำ 4,331)

สาธารณโภคี

ผู้ไม่หวงดีไว้คนเดียว

อ่านวา สา-ทา-ระ-นะ-โพ-คี

ประกอบด้วยคำว่า สาธารณ + โภคี 

(๑) “สาธารณ” 

บาลีอ่านว่า สา-ทา-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก – 

(1) สห (คำบุรพบทและอุปสรรค = พร้อม, กับ, พร้อมด้วย) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลง สห เป็น , ทีฆะ อะ ต้นธาตุเป็น อา (ธรฺ > ธาร), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น (ยุ > อน > อณ

: สห + อา + ธรฺ = สหาธรฺ + ยุ > อน = สหาธรน > สาธรน > สาธารน > สาธารณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปพร้อมกับการรองรับทั่วไป” 

(2) สม (เสมอกัน) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลง สม เป็น , ทีฆะ อะ ต้นธาตุเป็น อา (ธรฺ > ธาร), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น (ยุ > อน > อณ

: สม + อา + ธรฺ = สมาธรฺ + ยุ > อน = สมาธรน > สาธรน > สาธารน > สาธารณ แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่อันบุคคลรับรองสิ่งทั้งหลายเสมอภาคกัน” 

สาธารณ” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ทั่วไป, ธรรมดา, ร่วมกัน (general, common, joint)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาธารณ-, สาธารณะ : (คำวิเศษณ์) เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).”

(๒) “โภคี” 

อ่านว่า โพ-คี รูปคำเดิมมาจาก โภค + อี ปัจจัย

(ก) “โภค” บาลีอ่านว่า โพ-คะ รากศัพท์มาจาก ภุชฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อุ ที่ ภุ-(ชฺ) เป็น โอ, แปลง เป็น

: ภุชฺ + = ภุชณ > ภุช > โภช > โภค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนใช้สอย” หรือ “สิ่งที่ต้องใช้สอย” 

โภค” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การเสพหรือบริโภค (enjoyment) 

(2) สมบัติ, ความร่ำรวย (possession, wealth) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

โภค, โภค-, โภคะ : (คำนาม) สมบัติ เช่น ถึงพร้อมด้วยโภคะ. (คำกริยา) กิน, ใช้สอย. (ป., ส.).”

(ข) โภค + อี ปัจจัย

: โภค + อี = โภคี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีโภคะ” หรือ “ผู้บริโภค” (คือกินใช้สมบัติที่มีหรือที่หามาได้)

โภคี” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นคุณศัพท์: บริโภคหรือเสพ, มีหรือมีมาก, มีส่วนร่วมหรืออุทิศตนให้เพื่อความสุข (enjoying, owning, abounding in, partaking in or devoted to pleasure) 

(2) เป็นนาม: เจ้าของ (ผู้มีทรัพย์), คนร่ำรวย (owner, wealthy man) 

สาธารณ + โภคี = สาธารณโภคี แปลว่า “ผู้มีของกินของใช้ทั่วไปแก่คนอื่น” หมายความว่า มีของกินของใช้ที่พอจะแบ่งให้คนอื่นได้กินได้ใช้ด้วย ก็แบ่งให้ ไม่หวงไว้กินไว้ใช้คนเดียว เป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของคนที่อยู่ร่วมสังคมกัน เรียกว่า “สารณียธรรม” หรือ “สาราณียธรรม

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [273] แสดงสารณียธรรมไว้ดังนี้ –

(“สาธารณโภคี” อยู่ในข้อ 4 ชื่อ สาธารณโภคิตา : สาธารณโภคี + ตา ปัจจัย = สาธารณโภคิตา แปลว่า “ความเป็นผู้มีของกินของใช้ทั่วไปแก่คนอื่น”)

…………..

สารณียธรรม 6 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน, ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี, หลักการอยู่ร่วมกัน — Sāraṇīyadhamma: states of conciliation; virtues for fraternal living) สาราณียธรรม ก็ใช้

1. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมหมู่คณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง — Mettākāyakamma: to be amiable in deed, openly and in private)

2. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — Mettāvacīkamma: to be amiable in word, openly and in private)

3. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน — Mettāmanokamma: to be amiable in thought, openly and in private)

4. สาธารณโภคิตา (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน — Sādhāraṇabhogitā: to share any lawful gains with virtuous fellows) ข้อนี้ ใช้ อัปปฏิวิภัตตโภคี ก็ได้

5. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ — Sīlasāmaññatā: to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows, openly and in private)

6. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา — Diṭṭhisāmaññatā: to be endowed with right views along with one’s fellows, openly and in private)

ธรรม 6 ประการนี้ มีคุณคือ เป็น สารณียะ (ทำให้เป็นที่ระลึกถึง — making others to keep one in mind) เป็น ปิยกรณ์ (ทำให้เป็นที่รัก — endearing) เป็น ครุกรณ์ (ทำให้เป็นที่เคารพ — bringing respect) เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ (ความประสานกลมกลืน — conducing to sympathy or solidarity) เพื่อ ความไม่วิวาท (to non-quarrel) เพื่อ ความสามัคคี (to concord; harmony) และเพื่อ เอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน — to unity)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แบ่งกันกิน ยอดดี

: แบ่งกันโกง ยอดเลว

#บาลีวันละคำ (4,331)

21-4-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *