บาลีวันละคำ

กากบาท (บาลีวันละคำ 627)

กากบาท

อ่านว่า กา-กะ-บาด

บาลีเป็น “กากปาท” อ่านว่า กา-กะ-ปา-ทะ

กาก” (กา-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “ทำเสียงว่ากา” “ส่งเสียงว่ากา” รากศัพท์มี 2 ทาง คือ –

1. กา (เสียงว่า “กา”) + กร (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย ลบ รฺ ที่สุดธาตุ

: กา + กรฺ > + = กาก = “ผู้ทำเสียงว่ากา

2. กา (เสียงว่า “กา”) + กา (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย ลบ อา ที่ธาตุ

: กา + กา > + = กาก = “ผู้ส่งเสียงว่ากา

กาก” ภาษาไทยใช้ว่า “กา” หรือ “อีกา” พจน.42 บอกไว้ว่า –

กา : ชื่อนกชนิด Corvus macrorhynchos ในวงศ์ Corvidae ตัวดํา ร้องกา ๆ, อีกา ก็เรียก”

ฝรั่งแปล “กาก” ว่า the crow

กา” ผู้ร้อนวิชารุ่นเก่าเคยเขียนเป็น “กาก์” (การันต์ที่ ท้ายศัพท์ อ่านว่า “กา”) เพราะเชื่อว่าชื่อนกชนิดนี้มาจากบาลีว่า “กาก” แน่นอน

ปาท” แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องดำเนินไป” ใช้ในความหมายว่า เท้า, โคนไม้, รากไม้, เชิงเขาหรือส่วนล่างของภูเขา, วรรคหนึ่งของฉันท์หรือคาถา (กาพย์กลอนในบาลี), อัตราหนึ่งของเงินที่ใช้ซื้อขาย

ในที่นี้ “ปาท” หมายถึง เท้า หรือตีน

กาก + ปาท = กากปาท ภาษาไทยใช้ว่า “กากบาท

พจน.42 บอกไว้ว่า –

กากบาท : ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ x; ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา”

ฝรั่งแปล “กากปาท” ว่า crow’s foot or footmark

ในภาษาไทยมีคำว่า “กา” ที่หมายถึง “ทําเครื่องหมายเป็นรูปกากบาท, ทำเครื่องหมายไว้ให้สังเกตได้ เช่น ดูเฉพาะที่กาไว้” (พจน.42) “กา” คำนี้ก็กร่อนมาจาก “กากบาท” นั่นเอง

: กากบาทตีนกา คือความชรามาร้องตะโกน

: เข้าคูหากากบาท อย่าขายชาติให้โจร

2-2-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย