บาลีวันละคำ

อุปมาตา – ธาติ (บาลีวันละคำ 4,444)

อุปมาตาธาติ 

แม่ผู้ปิดทองหลังพระ = แม่นม

(๑) “อุปมาตา

อ่านว่า อุ-ปะ-มา-ตา แยกศัพท์เป็น อุป + มาตา

(ก) “อุป” อ่านว่า อุ-ปะ รูปศัพท์เป็นคำอุปสรรค ( = เข้าไป, ใกล้, มั่น) แต่ในที่นี้แทนศัพท์ “อปฺปธานภูต” = ผู้ไม่ได้เป็นประธาน 

(ข) “มาตา” อ่านว่า มา-ตา รูปคำเดิมเป็น “มาตุ” (มา-ตุ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มานฺ (ธาตุ = รัก, ทะนุถนอม) + ราตุ ปัจจัย, ลบ ที่ าตุ (ราตุ > อาตุ), ลบพยัญชนะที่สุดธาตุและสระ (มานฺ > มา >

: มานฺ > มา > + ราตุ > อาตุ = มาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักบุตรโดยธรรมชาติ

(2) ปา (ธาตุ = ดื่ม) + ตุ ปัจจัย, แปลง ที่ ปา เป็น (ปา > มา)

: ปา + ตุ = ปาตุ > มาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังบุตรให้ดื่มนม

มาตุ + สิ วิภัตติ, แปลง อุ กับ สิ เป็น อา = มาตา หมายถึง แม่ (mother) 

อุป + มาตา = อุปมาตา (อุ-ปะ-มา-ตา) แปลตามศัพท์ว่า “แม่ผู้มิได้เป็นใหญ่” หมายถึง ดูแลเด็กเหมือนเป็นแม่ แต่ไม่ใช่แม่จริง ๆ

ผู้เขียนบาลีวันละคำมีความเห็นว่า “อุปมาตา” น่าจะแปลได้ว่า “ผู้ใกล้แม่” เทียบได้กับ “อุปราชา” = ผู้ใกล้พระราชา คือผู้รองลงมาจากพระราชา 

อุปมาตา” ก็คือ ผู้รองลงมาจากแม่ หรือผู้ใกล้จะเป็นแม่ คือดูแลเด็กเท่า ๆ กับแม่ เพียงแต่ไม่ใช่แม่ผู้ให้กำเนิดโดยตรงเท่านั้น

(๒) “ธาติ” 

อ่านว่า ทา-ติ รากศัพท์มาจาก ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ติ ปัจจัย

: ธา + ติ = ธาติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ทรงไว้ซึ่งเด็ก” (คือคอยดูแลเด็ก) (2) “ผู้ทรงไว้ซึ่งบุตรของหญิงอื่น” (3) “ผู้ทรงไว้ซึ่งน้ำนม” 

ธาติ” หมายถึง แม่นม, แม่เลี้ยง (wet nurse, foster mother)

ธาติ” ศัพท์นี้พบว่าใช้เป็น “ธาตี” (ธาติ + อี ปัจจัย หรือทีฆะ อิ เป็น อี) ก็มี

ขยายความ :

หนังสือ อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ 244 แสดงคำศัพท์ที่หมายถึง “แม่” และ “แม่นม” ไว้ดังนี้ –

…………..

อมฺมา’มฺพา  ชนนี  มาตา

ชเนตฺติ  ชนิกา  ภเว,

อุปมาตา  ธาติ’ตฺถี

สาโล  ชายาย  ภาติโก.

…………..

“แม่” 6 ศัพท์ คือ –

(1) อมฺมา (อำ-มา) = “ผู้อันบุตรธิดาไปหา” (คือเข้ามาคลอเคลีย) “ผู้อันบุตรธิดาบูชา” 

(2) อมฺพา = (อำ-พา) “ผู้รักษาบุตรธิดา” “ผู้อันบุตรธิดาเข้าไปหาด้วยความรัก” “ผู้อันบุตรธิดาไปหา” (คือเข้ามาคลอเคลีย) “ผู้อันบุตรธิดาบูชา” 

(3) ชนนี (ชะ-นะ-นี) = “ผู้ยังบุตรให้เกิด” “ผู้ให้กำเนิดบุตร

(4) มาตา (รูปคำเดิม มาตุ) = “ผู้รักบุตรโดยธรรมชาติ” “ผู้ยังบุตรให้ดื่มนม

(5) ชเนตฺติ (ชเนตฺตี) (ชะ-เนด-ติ) = “ผู้ยังบุตรให้เกิด” “ผู้ให้กำเนิดบุตร

(6) ชนิกา (ชะ-นิ-กา) = “ผู้ยังบุตรให้เกิด” “ผู้ให้กำเนิดบุตร

…………..

“แม่นม” 2 ศัพท์ คือ –

(1) อุปมาตา (อุ-ปะ-มา-ตา) = “แม่ผู้มิได้เป็นใหญ่” (“หญิงผู้รองลงมาจากแม่”)

(2) ธาติ (ธาตี) (ทา-ติ) = “ผู้ทรงไว้ซึ่งเด็ก” (คือคอยดูแลเด็ก) “ผู้ทรงไว้ซึ่งบุตรของหญิงอื่น” “ผู้ทรงไว้ซึ่งน้ำนม

…………..

อุปมาตา” และ “ธาติ” (ธาตี) ไม่มีใช้ในภาษาไทย ขอนำมาเสนอไว้ในวงวรรณ เพื่อเตือนใจว่า วันแม่ เรามักจะนึกถึงแม่ผู้ให้กำเนิด แต่มักจะไม่ได้นึกถึงหรือไม่ได้พูดถึง “แม่นม” 

แม้ว่าลูกส่วนใหญ่จะไม่มี “แม่นม” เนื่องจากมีแม่ผู้ให้กำเนิดเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก แต่ลูกส่วนหนึ่งเป็นลูกที่มี “แม่นม” ด้วยความจำเป็นต่าง ๆ กัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

แม่นม = แม่ผู้ปิดทองหลังพระ

: เมื่อนึกถึงแม่จริง

: โปรดอย่าทิ้งแม่นม

#บาลีวันละคำ (4,444)

12-8-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *