บาลีวันละคำ

วิจารณ์ – พิจารณา (บาลีวันละคำ 4,446)

วิจารณ์พิจารณา

คนละคำเดียวกัน

(๑) “วิจารณ์

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บเป็น “วิจาร” “วิจารณ-” และ “วิจารณ์” บอกไว้ว่า – 

วิจาร, วิจารณ-, วิจารณ์ : (คำกริยา) ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.”

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “วิจารณ์” เป็นอังกฤษว่า to adjudge, to consider (the merits and demerits); to comment on (a situation), to criticize, to be a (literary) critic

ในที่นี้เลือกคำอังกฤษคำหนึ่ง คือ criticize

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี สะกดเป็น criticise แปลเป็นบาลีดังนี้: 

(1) viveceti วิเวเจติ (วิ-เว-เจ-ติ) = แยกแยะออกให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

(2) guṇadosaṃ vicāreti คุณโทสํ วิจาเรติ (คุ-นะ-โท-สัง วิ-จา-เร-ติ) = ใคร่ครวญถึงข้อดีข้อเสีย, มองหาข้อดีข้อเสีย

(๒) “พิจารณา

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บเป็น “พิจาร” “พิจารณ์” และ “พิจารณา” บอกไว้ว่า – 

พิจาร, พิจารณ์, พิจารณา : (คำกริยา) ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน. (ป., ส. วิจาร, วิจารณ, วิจารณา).”

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “พิจารณา” เป็นอังกฤษว่า to consider, to peruse, to examine (the events in Laos)

ในที่นี้เลือกคำอังกฤษคำหนึ่ง คือ consider

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล consider เป็นบาลีดังนี้: 

(1) anucinteti อนุจินฺเตติ;(อะ-นุ-จิน-เต-ติ) = ใคร่ครวญ 

(2) vicāreti วิจาเรติ; (วิ-จา-เร-ติ) = ใคร่ครวญ, มองหา, สอดส่อง

(3) vīmaṃsati วีมํสติ; (วี-มัง-สะ-ติ) = ตรวจสอบ, ทดสอบ

(4) parituleti ปริตุเลติ; (ปะ-ริ-ตุ-เล-ติ) = ชั่งใจดู, เปรียบเทียบ

(5) samekkhati สเมกฺขติ; (สะ-เมก-ขะ-ติ) = พิจารณา, มองหา, แสวงหา

(6) upadhāreti อุปธาเรติ. (อุ-ปะ-ทา-เร-ติ) ไตร่ตรอง

วิจารณ์” และ “พิจารณา” รูปคำบาลีมาจากรากศัพท์เดียวกัน คือ “วิจารณ” อ่านว่า วิ-จา-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + จรฺ (ธาตุ = สั่งสม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น , ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (จรฺ > จาร

: วิ + จรฺ = วิจร + ยุ > อน = วิจรน > วิจารน > วิจารณ

วิจารณ” ยังมีรูปเป็น “วิจารณา” อีกด้วย รากศัพท์เหมือนกัน เพียงแต่ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: วิจารณ + อา = วิจารณา 

วิจารณ > วิจารณา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาเป็นเครื่องสั่งสมอย่างพิเศษ” หมายถึง :

(1) การสืบสวน, การตรวจสอบ, การพิจารณา, การไตร่ตรอง, การแสวงหา, การเอาใจใส่ (investigation, examination, consideration, deliberation, search, attention)

(2) การจัดแจง, การวางแผน, การดูแล, แผนการ (arranging, planning, looking after; scheme)

ในภาษาไทย แปลง เป็น ตามหลักนิยม

วิจารณ์ > พิจารณ์

วิจารณา > พิจารณา

…………..

โปรดสังเกตว่า คำว่า “วิจารณ์” กับ “พิจารณา” แม้จะมาจากรากศัพท์เดียวกัน แต่ในภาษาไทย ขอบเขตของความหมายต่างกัน

เวลาเห็นคำไทยที่มาจากบาลีสันสกฤต ลองฝึกคิดแปลเป็นบาลีและตรวจสอบที่มีผู้แปลเป็นอังกฤษ โยงกันไปโยงกันมา เป็นกีฬาอย่างหนึ่งของนักเรียนบาลี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แปลภาษาได้ ดี

ลงมือทำเรื่องนั้นได้ด้วย ดีกว่า

: เรียนบาลีจบ ดี

ลงมือทำงานบาลีได้ด้วย ดีกว่า

#บาลีวันละคำ (4,446)

14-8-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *