บาลีวันละคำ

มนสิการ (บาลีวันละคำ 4,458)

มนสิการ

สิ่งที่กำลังขาดแคลน

อ่านว่า มะ-นะ-สิ-กาน

ประกอบด้วยคำว่า มนสิ + การ

(๑) “มนสิ” 

อ่านว่า มะ-นะ-สิ คำเดิมคือ มน อ่านว่า มะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มนฺ (ธาตุ = รู้) + (อะ) ปัจจัย 

: มน + = มน แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้” (คือสิ่งที่ทำหน้าที่รู้)

(2) มา (ธาตุ =นับ, กะ, ประมาณ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลบสระที่สุดธาตุ (มา > )

: มา > + ยุ > อน : + อน = มน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดนับอารมณ์

มน” (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) หมายถึง ใจ, ความคิด (mind, thought)

ขยายความแทรก :

มน” เป็นศัพท์พิเศษที่เรียกว่า “มโนคณศัพท์” (มะ-โน-คะ-นะ-สับ) แปลว่า “ศัพท์ในกลุ่มของ มน

หนังสือบาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ 2 นามและอัพพยศัพท์ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตอนที่ว่าด้วย “มโนคณะศัพท์” กล่าวไว้ว่า “ศัพท์ชื่อมโนคณะ” มี 12 ศัพท์ ดังนี้ –

…………..

(1) มน = ใจ > (คำในภาษาไทยเช่น) มโนภาพ

(2) อย = เหล็ก > อโยโลห (บาลี: เหล็กและโลหะ)

(3) อุร = อก > ?

(4) เจต = ใจ > เจโตวิมุติ

(5) ตป = ความร้อน > ตโปทาราม

(6) ตม = มืด > ตโมนุท (“ผู้ขจัดความมืด” คือดวงอาทิตย์)

(7) เตช = เดช > เดโชชัย

(8 ) ปย = น้ำนม > ปโยธร (“ผู้ทรงไว้ซึ่งน้ำนม” คือถัน)

(9) ยส = ยศ > ยโสธร

(10) วจ = วาจา > วโจกร (บาลี: “ผู้ตามถ้อยคำ” คือสาวก)

(11) วย = วัย > วโยหร (บาลี: “ผู้นำไปซึ่งวัย” คือผู้ทำให้แก่)

(12) สิร = หัว > ศิโรราบ

…………..

มน” แจกรูปด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) เอกพจน์ คือ “สฺมึ” วิภัตติ (อ่านว่า สะหฺมิง, – ออกเสียงครึ่งเสียง) มีคำแปลประจำวิภัตติว่า ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ, แปลง สฺมึ เป็น อิ, ลง อาคม

: มน + = มนส + สฺมึ > อิ = มนสิ แปลว่า “ในใจ

(๒) “การ” 

บาลีอ่านว่า กา-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (กรฺ > การ)

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ” 

การ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ (doing, manner, way)

(2) กรรม, การบริการ, การกระทำที่แสดงความเมตตา หรือความเคารพ หรือความนับถือ (deed, service, act of mercy or worship, homage)

(3) ผู้ทำ หรือผู้จัดการ หรือผู้ค้า (one who does, handles or deals)

มนสิ + การ ตามกฎทั่วไปต้องลบ สิ ออก เหลือแต่ มน = มนการ หรือ มนกฺการ แต่เฉพาะคำนี้ใช้กฎการสมาสที่เรียกว่า “อลุตตสมาส” (อะ-ลุด-ตะ-สะ-หฺมาด) คือ “ไม่ลบวิภัตติ” ดังนั้น –

: มนสิ + การ = มนสิการ แปลว่า “การทำไว้ในใจ

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “มนสิการ” ไว้ว่า –

…………..

มนสิการ : การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา; เป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิกอย่างหนึ่ง.

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “มนสิการ” เป็นอังกฤษดังนี้ –

…………..

มนสิการ (Manasikāra) : attention; pondering; attentiveness; advertence; mental application; reflection.

…………..

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

มนสิการ : (คำนาม) การกำหนดไว้ในใจ. (ป., ส.).”

อภิปรายแถม :

คำว่า สังเกต อนุญาต อิริยาบถ ได้มีการบอกกล่าว แนะนำ สั่งสอนให้รู้กันเป็นสาธารณะมานานนักหนาแล้วว่า สะกดอย่างนี้ถูกต้อง

แต่ทุกวันนี้ ในเฟซบุ๊กนี่เอง ก็ยังมีผู้สะกดเป็น –

สังเกตุ  มีสระ อุ ด้วย ซึ่งคือคำผิด

อนุญาติ มีสระ อิ ด้วย ซึ่งคือคำผิด

อิริยาบท -บท สะกดด้วย ท ทหาร ซึ่งคือคำผิด

ชื่อพระพุทธรูป “หลวงพ่อแก่นจันทน์” ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้มีการบอกกล่าว แนะนำ สั่งสอนให้รู้กันเป็นสาธารณะมานานนักหนาแล้วว่า -จันทน์ น หนู การันต์ ก็ยังมีผู้สะกดเป็น “หลวงพ่อแก่นจันทร์” -จันทร์ ร เรือ การันต์ อยู่เสมอ วันนี้ก็ยังเห็นมีผู้สะกดผิด

“เขาแก่นจันทน์” ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้มีการบอกกล่าว แนะนำ สั่งสอนให้รู้กันเป็นสาธารณะมานานนักหนาแล้วว่า -จันทน์ น หนู การันต์ ก็ยังมีผู้สะกดเป็น “เขาแก่นจันทร์” -จันทร์ ร เรือ การันต์ วันนี้ก็ยังเห็นมีผู้สะกดผิด

ผู้ที่สะกดคำเหล่านี้ผิดไม่ใช่ไม่รู้ รู้อยู่เต็มอกว่าสะกดอย่างไรถูก แต่เวลาเขียนคำเหล่านี้เผยแพร่ต่อสาธารณะ ก็พากันสะกดผิดอย่างหน้าตาเฉย

สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะขาด “มนสิการ” = การกำหนดไว้ในใจ

…………..

ดูก่อนภราดา!

ภาษาเป็นสมบัติวัฒนธรรมประจำชาติ

: ไม่มีมนสิการในภาษา

ชาติก็บรรลัย

: ไม่มีมนสิการในพระธรรมวินัย

พระศาสนาก็วินาศ

#บาลีวันละคำ (4,458)

26-8-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *