บาลีวันละคำ

อาบเหงื่อต่างน้ำ (บาลีวันละคำ 1,430)

อาบเหงื่อต่างน้ำ

บาลีว่าอย่างไร

ถ้าถามนักเรียนบาลีที่เรียนวิชาแปลไทยเป็นมคธว่า ภาษาไทยว่า “อาบเหงื่อต่างน้ำ” แต่งเป็นภาษาบาลีว่าอะไร

นักเรียนบาลีจะต้องนึกถึงศัพท์ว่า “เสทาวกฺขิตฺต

เสทาวกฺขิตฺต” อ่านว่า เส-ทา-วัก-ขิด-ตะ ประกอบด้วย เสท + อวกฺขิตฺต

(๑) “เสท” (เส-ทะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สิทฺ (ธาตุ = ปล่อย, พ้น; ชุ่มชื้น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ สิ-(ทฺ) เป็น เอ (สิทฺ > เสท)

: สิทฺ + = สิทณ > สิท > เสท แปลตามศัพท์ว่า (1) “ของเหลวที่ไหลออก” (2) “สิ่งที่เปียกชุ่มอยู่

(2) เส (ธาตุ = หุง, ต้ม, สุก) + ปัจจัย, แผลง เป็น

: เส + = เสต > เสท แปลตามศัพท์ว่า “น้ำที่สุก” (คือถูกความร้อนภายนอกเผาเข้าไปภายในร่างกายจนน้ำในร่างกายสุกและไหลออกมา)

เสท” แปลว่า เหงื่อ (sweat)

(๒) “อวกฺขิตฺต” (อะ-วัก-ขิด-ตะ)

เป็นคำกริยา รากศัพท์มาจาก อว (คำอุปสรรค = ลง) + ขิตฺต (< ขิปฺ + = ซัดไป), ซ้อน กฺ

: อว + กฺ + ขิตฺต = อวกฺขิตฺต แปลว่า ถูกเอาออก, ได้รับ, ได้ผล, ผลิต, บรรลุ (thrown off, gained, produced, got)

: เสท + อวกฺขิตฺต = เสทาวกฺขิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เอาเหงื่อออก

เสทาวกฺขิตฺต” ใช้เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า สิ่งที่ได้มาโดยหยาดเหงื่อ, สิ่งที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง (gained by sweat, earned in the sweat of the brow)

คำที่อยู่ในชุด “เสทาวกฺขิตฺตอาบเหงื่อต่างน้ำ” ที่นิยมนำมาพูดควบกันเป็นชุด อันแสดงถึงลักษณะการประกอบอาชีพที่ใช้แรงงานตามอุดมคติของพระพุทธศาสนา ยังมีอีก 4 คำ คือ –

(1) อุฏฺฐานวิริยาธิคต (อุด-ถา-นะ-วิ-ริ-ยา-ทิ-คะ-ตะ) แปลว่า “บรรลุด้วยการลุกขึ้นและความกล้า” = หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร

(2) พาหาพลปริจิต (พา-หา-พะ-ละ-ปะ-ริ-จิ-ตะ) แปลว่า “สั่งสมไว้ด้วยกำลังแขน” = ทำมาเองกับมือ มิใช่ได้รับมรดกหรือถูกหวย

(3) ธมฺมิก (ทำ-มิ-กะ) แปลว่า “ประกอบด้วยธรรม” = เป็นอาชีพสุจริต ไม่ผิดกฎหมาย

(4) ธมฺมลทฺธ (ทำ-มะ-ลัด-ทะ) แปลว่า “ได้แล้วโดยธรรม” = ได้มาโดยไม่ผิดศีลธรรม (งานบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดศีลธรรม)

………

1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ

………

: เหงื่อของคนทำงานสุจริต

: ศักดิ์สิทธิ์กว่าน้ำมนต์ของอลัชชี

1-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย