บาลีวันละคำ

สารพัดสารพัน (บาลีวันละคำ 4,460)

สารพัดสารพัน

มาจากภาษาอะไร

อ่านว่า สา-ระ-พัด-สา-ระ-พัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

(1) สารพัด : (คำวิเศษณ์) ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทุก, ทุกอย่าง, เช่น ร้านชำมีของขายสารพัด, เขียนเป็น สารพัตร ก็มี.

(2) สารพัน : (คำวิเศษณ์) สารพัด เช่น สารพันปัญหา, มักใช้เข้าคู่กัน เป็น สารพัดสารพัน ก็มี.

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า “สารพัดสารพัน” มาจากภาษาอะไร

คำที่ขึ้นต้น “สารพ…” คำหนึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คือคำว่า “สารพางค์” อ่านว่า สา-ระ-พาง บอกไว้ดังนี้ – 

สารพางค์ : (คำนาม) ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สารพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสารพางค์กาย, สรรพางค์ ก็ว่า. (ดู สรรพ, สรรพ-).”

ตามไปดูที่คำว่า “สรรพ, สรรพ-” พจนานุกรมฯ บอกไว้ดังนี้ –

สรรพ, สรรพ– : (คำวิเศษณ์) ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. (ส. สรฺว; ป. สพฺพ).”

สรุปว่า: สารพัดสารพัน <> สารพางค์ <> สรรพ 

คือสรุปว่า “สารพัดสารพัน” น่าจะมาจาก “สรรพ

สรรพ” บาลีเป็น “สพฺพ” อ่านว่า สับ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สรฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น , แปลง รฺ ที่ สรฺ เป็น พฺ (สรฺ > สพฺ)

: สรฺ + = สรฺว > สรฺพ > สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

(2) สพฺพฺ (ธาตุ = เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: สพฺพฺ + = สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

สพฺพ” (คุณศัพท์) หมายถึง ทั้งหมด, ทั้งปวง, ทั้งสิ้น, ทุกอย่าง (whole, entire; all, every)

บาลี “สพฺพ” สันสกฤตเป็น “สรฺว” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

สรฺวฺว, สรฺว : (คำวิเศษณ์) ‘สรรพ,’ สกล, ปวง, สิ้นเชิง; all, whole, entire.”

ขยายความ :

ขั้นที่ 1 “สรฺว” ในสันสกฤต ยืดเสียงก็จะเป็น “สารฺว

ขั้นที่ 2 “สารฺว” แปลง ว เป็น พ ก็จะเป็น “สารฺพ

ขั้นที่ 3 “สารฺพ” เขียนแบบไทยเป็น “สารพ” ออกเสียงแบบไทยก็จะเป็น สา-ระ-พะ

ขั้นที่ 4 สา-ระ-พะ ออกเสียงเพี้ยนก็จะเป็น สา-ระ-พัด

ขั้นที่ 5 สา-ระ-พัด เขียนแบบไทยก็จึงเป็น “สารพัด

แถม :

ใครเห็นด้วย ยกมือขึ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำกลายได้ง่าย

: แต่คนกลายได้ง่ายกว่าคำ

#บาลีวันละคำ (4,460)

28-8-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *