บาลีวันละคำ

ศิลปกรรมศาสตร์ (บาลีวันละคำ 4,468)

ศิลปกรรมศาสตร์

ควรสอนให้ฉลาดในการทำความดีด้วย

อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กำ-มะ-สาด

แยกศัพท์เป็น ศิลปกรรม + ศาสตร์

(๑) “ศิลปกรรม” 

อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กำ ประกอบด้วยคำว่า ศิลป + กรรม 

(ก) “ศิลฺป” เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “สิปฺป” อ่านว่า สิบ-ปะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สปฺปฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย, ลง อิ อาคมต้นธาตุ (สปฺป > สิปฺป)

: สปฺป > สิปฺป + = สิปฺป แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องดำเนินไปแห่งชีวิต” = อาศัย “สิ่งนั้น” จึงเลี้ยงชีวิต คือทำชีวิตให้ดำเนินไปได้

(2) สิ (ธาตุ = เสพ) + ปัจจัย, ซ้อน ปฺ

: สิ + ปฺ + = สิปฺป แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ปรารถนาประโยชน์แห่งตนเสพอาศัย” = ถ้าต้องการประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องอาศัยศึกษาเรียนรู้ “สิ่งนั้น” จนทำได้ทำเป็น แล้วใช้สิ่งนั้นยังประโยชน์ให้เกิดตามต้องการ

สิปฺป” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ศิลปะ, แขนงของความรู้, การช่าง (art, branch of knowledge, craft)

บาลี “สิปฺป” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ศิลป” 

กฎการสะกด :

(1) คำนี้ถ้าอยู่คำเดียว 

– ต้องการให้อ่านว่า สิน-ละ-ปะ เขียนว่า “ศิลปะ” (ประวิสรรชนีย์ที่

– ต้องการให้อ่านว่า สิน เขียนว่า “ศิลป์” (การันต์ที่ )

– เขียนว่า “ศิลป” จะอ่านว่า สิน-ละ-ปะ ไม่ได้ อ่านว่า สิน ก็ไม่ได้ 

(2) ถ้าสมาสกับคำอื่น อยู่ต้นหรือกลางคำ และอ่านว่า สิน-ละ-ปะ ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ที่ เช่น ศิลปศาสตร์ (สิน-ละ-ปะ-สาด) ไม่ใช่ ศิลปะศาสตร์

คำว่า สิปฺป > ศิลป หมายถึงอะไรได้บ้าง :

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สิปฺป” คำหนึ่งว่า art

พจนานุกรมสอ เสถบุตร แปล art ว่า วุฒิสามารถ, เล่ห์กระเท่ห์, อุบาย

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล art กลับเป็นบาลีว่า –

(1) sippa สิปฺป (สิบ-ปะ) = หลักความรู้

(2) kosalla โกสลฺล (โก-สัน-ละ) = ความฉลาด

(3) nepuñña เนปุญฺญ (เน-ปุน-ยะ) = ความจัดเจน

(4) cittakamma จิตฺตกมฺม (จิด-ตะ-กำ-มะ) = ภาพวาด, การวาดภาพ

(5) kalā กลา (กะ-ลา) = ชั้นเชิง > กล

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศิลป-, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : (คำนาม) ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์ เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น วิจิตรศิลป์ ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).”

สิปฺป” (สิบ-ปะ) ในบาลี หมายถึง ความรู้ความสามารถที่จะจัดจะทำอะไร ๆ ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้น ๆ จะเป็นอะไรก็ตาม ชั้นที่สุดเอาใบไม้มาเป่ากับปากให้เป็นเพลง ก็เรียกว่า “สิปฺป” หรือ “ศิลปะ” ได้เช่นกัน

(ข) “กรรม” บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺมมนฺ” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กมฺม” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (กรฺ > ) และ ที่ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำ” หมายถึง การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ศิลป + กรรม = ศิลปกรรม อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กำ 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศิลปกรรม : (คำนาม) สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ, เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรมจัดเป็นศิลปกรรม.”

(๒) “ศาสตร์” 

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “สตฺถ” อ่านว่า สัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่ (ส)-สฺ เป็น ตฺ

: สสฺ + = สสฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุเป็นเครื่องเบียดเบียนสัตว์” คำเดิมหมายถึง “ของมีคม” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “ศสฺตฺร” แปลว่า ดาบ, มีด, อาวุธ ใช้ในภาษาไทยว่า ศัสตรา หรือ ศาสตรา บางทีก็พูดควบกันว่า ศาสตราวุธ หรือ ศาสตราอาวุธ (weapon, sword, knife)

(2) สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย แปลง รฺ เป็น ตฺ

: สรฺ + = สรฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “หมู่เป็นที่เป็นไปแห่งส่วนย่อยทั้งหลาย” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “สารฺถ” หมายถึง กองเกวียนของพ่อค้า, กองคาราวาน, ขบวนยานพาหนะ (caravan)

(3) สาสฺ (ธาตุ = สอน) + ปัจจัย, รัสสะ (หดเสียง) อา ที่ สา-(สฺ) เป็น อะ (สาสฺ > สสฺ), แปลง สฺ เป็น ตฺ

: สาสฺ + = สาสฺถ > สสฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องสอนเนื้อความ” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “ศาสฺตฺร” หมายถึง คัมภีร์, ตำรา, ศิลปะ, วิชาความรู้ (science, art, lore)

ศาสตร” มีความหมาย 2 อย่าง คือ 

(ก) หมายถึง “ของมีคม” ตามบาลี “สตฺถ” ในข้อ (1) ความหมายนี้สันสกฤตเป็น “ศสฺตฺร” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศสฺตฺร : (คำนาม) ‘ศัสตระ,’ อายุธ, อาวุธทั่วไป; เหล็ก; เหล็กกล้า; ดาพ, กระบี่; มีด, พร้า; a weapon in general, iron; steel; a sword; a knife.”

ความหมายนี้ในภาษาไทยสะกดเป็น “ศัสตรา” และ “ศาสตรา” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ศัสตรา, ศัสตราวุธ : (คำนาม) ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธต่าง ๆ. (ส.).

(2) ศาสตรา : (คำนาม) ศัสตรา.

(ข) หมายถึง “วิชาความรู้” ตามบาลี “สตฺถ” ในข้อ (3) ความหมายนี้สันสกฤตเป็น “ศาสฺตฺร” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศาสฺตฺร : (คำนาม) ‘ศาสตร์’ คำสั่งหรือบัญชา; เวท, วิทยา, ธรรมศาสตร์, กฎหมาย; หนังสือทั่วไป; an order or command; scripture or Veda, science, institutes of religion, law; a book in general.”

ความหมายนี้ในภาษาไทยสะกดเป็น “ศาสตร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศาสตร-, ศาสตร์ : (คำนาม) ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).”

ศิลปกรรม + ศาสตร์ = ศิลปกรรมศาสตร์ อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กำ-มะ-สาด 

โปรดสังเกต : “ศิลปกรรม” อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กำ แต่เมื่อมี “ศาสตร์” มาสมาสข้างท้ายเป็น “ศิลปกรรมศาสตร์” อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กำ-มะ-สาด 

มี -มะ- เพิ่มหลัง -กำ- อีกพยางค์หนึ่ง 

สิน-ละ-ปะ-กำ-มะ-สาด

ไม่ใช่ สิน-ละ-ปะ-กำ-สาด

คำว่า “ศิลปกรรมศาสตร์” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

ขยายความ :

คำว่า “ศิลปกรรมศาสตร์” มีความหมายว่าอย่างไร?

ถอดความหมายตามศัพท์ อาจเป็นดังนี้ –

ศาสตร์อันว่าด้วยสิ่งที่เป็นศิลปะ

ศาสตร์อันว่าด้วยสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ

วิชาว่าด้วยสิ่งที่เป็นศิลปะ

วิชาว่าด้วยสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ

การศึกษาสิ่งที่เป็นศิลปะ 

การศึกษาสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ

ประมวลความตามความเข้าใจของผู้เขียนบาลีวันละคำ “ศิลปกรรมศาสตร์” คือ กระบวนวิชาที่ศึกษาว่างานศิลปะคืออะไร และการสร้างสรรค์งานที่เป็นศิลปะทำอย่างไร

…………..

บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา คำว่า “ศิลปกรรม” ที่ขอนำเสนอต่อไปนี้อาจพอช่วยให้เข้าใจได้ชัดขึ้นว่า “ศิลปกรรมศาสตร์” มีความหมายว่าอย่างไร

…………..

                              ศิลปกรรม

          คำว่า ศิลปกรรม มี ๒ ความหมาย ความหมายแรกเป็นการพูดรวม ๆ หมายถึง กิจกรรมและผลงานทางศิลปะ เช่น ขอเชิญชมงานแสดงศิลปกรรมครั้งสำคัญ ที่หอศิลป์ วังท่าพระ.

          อีกความหมายหนึ่ง ได้แก่วิชาสาขาต่าง ๆ ที่เป็นความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและการสร้างสรรค์เชิงศิลปะซึ่งเกิดจากจินตนาการเกี่ยวกับรูป เสียง ความคิด เช่น จิตรกรรม ดนตรี วรรณกรรม ฯลฯ

          ศิลปกรรม อาจแบ่งย่อยเป็นหลายประเภท เช่น ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ วรรณศิลป์ ศิลปการแสดง สถาปัตยศิลป์ วิจิตรศิลป์ และ ประยุกต์ศิลป์. เรียกรวมว่า ศิลปกรรมศาสตร์ เมื่อใช้เป็นชื่อคณะวิชาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เปิดสอนวิชาด้านศิลปกรรม

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

…………..

แถม :

ที่ยกคำว่า “ศิลปกรรมศาสตร์” ขึ้นมาเขียนเป็นบาลีวันละคำ เพราะได้ยินนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ออกเสียงคำนี้ว่า สิน-ละ-ปะ / กำ-มะ-สาด คือแบ่งกลุ่มคำเป็น “ศิลป” และ “กรรมศาสตร์” อย่างชัดเจน

โปรดทราบว่า คำว่า “ศิลปกรรมศาสตร์” ต้องแบ่งกลุ่มคำเป็น “ศิลปกรรม” และ “ศาสตร์” ไม่ใช่ “ศิลป” และ “กรรมศาสตร์

ศิลปกรรม + ศาสตร์ ✔ ถูก

ศิลปกรรม + ศาสตร์ ✔ ถูก

ศิลปกรรม + ศาสตร์ ✔ ถูก

ศิลป + กรรมศาสตร์ ✘ ผิด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มนุษย์ธรรมดาย่อมทำผิดได้เป็นธรรมดา

: การสำเหนียกศึกษาช่วยให้ทำผิดน้อยลง

#บาลีวันละคำ (4,468)

5-9-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *