บาลีวันละคำ

สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ (บาลีวันละคำ 4,469)

สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ

เข้าใจธรรมะถูก ดีมาก

เขียนคำบาลีถูกด้วย ดีมาก ๆ

คำบาลีข้างต้นเขียนแบบคำอ่าน จึงไม่ควรมีปัญหาว่าอ่านอย่างไร

เขียนแบบบาลีเป็น สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย

เป็นคำบาลี 4 คำ

สพฺเพ อ่านว่า สับ-เพ 

ธมฺมา อ่านว่า ทำ-มา 

นาลํ อ่านว่า นา-ลัง 

อภินิเวสาย อ่านว่า อะ-พิ-นิ-เว-สา-ยะ

(๑) “สัพเพ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สพฺเพ” อ่านว่า สับ-เพ รูปคำเดิมเป็น “สพฺพ” อ่านว่า สับ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สรฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น , แปลง รฺ ที่ สรฺ เป็น พฺ (สรฺ > สพฺ)

: สรฺ + = สรฺว > สรฺพ > สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

(2) สพฺพฺ (ธาตุ = เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: สพฺพฺ + = สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

สพฺพ” (คุณศัพท์) หมายถึง ทั้งหมด, ทั้งปวง, ทั้งสิ้น, ทุกอย่าง (whole, entire; all, every)

สพฺพ” ในที่นี้เป็นคำขยาย “ธมฺมา” ซึ่งเป็นปุงลิงค์ แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) พหูวจนะ จึงต้องเปลี่ยนรูปตามคำนามที่ตนขยายเป็น “สพฺเพ” (สับ-เพ) เขียนแบบคำอ่านเป็น “สัพเพ

(๒) “ธัมมา” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ธมฺมา” อ่านว่า ทำ-มา รูปคำเดิมเป็น “ธมฺม” อ่านว่า ทำ-มะ รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)

(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)

(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)

(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลาง ๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้

บาลี “ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8 ) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ธมฺม” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) พหุวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “ธมฺมา” แปลว่า “อันว่าธรรมทั้งหลาย” ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค

(๓) “นาลํ

เขียนแบบบาลีเป็น “นาลํ” อ่านว่า นา-ลัง แยกศัพท์เป็น + อลํ

(ก) “” อ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “อลํ” อ่านว่า อะ-ลัง เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” ศัพท์จำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คงรูปเดิมเสมอ บาลีไวยากรณ์จัดไว้ในจำพวกนิบาตบอกปฏิเสธ นักเรียนบาลีท่องจำกันว่า “อลํ พอ” แต่นิยมแปลกันว่า “อลํ อย่าเลย”

อลํ” ในบาลีมีความหมายที่พอประมวลได้ดังนี้ – 

(1) แน่นอน, เป็นอย่างนั้นแน่, จริง ๆ, แน่แท้ (sure, very much so, indeed, truly)

(2) พอ! เท่านั้นละ! หยุด! แหม! (enough! have done with! fie! stop! alas!) (ใช้ในความหมายตำหนิ)

(3) พอกันที (enough of) 

ในกรณีใช้ร่วมกับคำอื่น ความหมายขยายตัวออกไปอีก เช่น –

(4) อลํ+อตฺถ = อลมตฺถ (อะ-ละ-มัด-ถะ): นั่นแหละถูกแล้ว, ดีจริง ๆ, ได้ประโยชน์มาก, มีประโยชน์ (quite the thing, truly good, very profitable, useful)

(5) อลํ+อริย = อลมริย (อะ-ละ-มะ-ริ-ยะ): แท้จริง, ประเสริฐแน่, มีเกียรติยศจริง ๆ (truly genuine, right noble, honourable indeed)

(6) อลํ+กมฺมนิย = อลงฺกมฺมนิย (อะ-ลัง-กำ-มะ-นิ-ยะ): เหมาะจริง ๆ หรือเหมาะทุกประการ (quite or thoroughly suitable)

+ อลํ = นาลํ (นา-ลัง) เป็นคำสนธิ (น ยังคงเป็น น, อลํ ยังคงเป็น อลํ) เขียนแบบไทยเป็น “นาลัง” แปลว่า “ไม่ควร (ที่จะ-)” “ไม่พอ (ที่จะ-)

(๔) “อะภินิเวสายะ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อภินิเวสาย” อ่านว่า อะ-พิ-นิ-เว-สา-ยะ รูปคำเดิมเป็น “อภินิเวส” อ่านว่า อ่านว่า อะ-พิ-นิ-เว-สะ รากศัพท์มาจาก อภิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, เฉพาะ, ข้างหน้า) + นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + วิสฺ (ธาตุ =อยู่, พำนัก; เข้าอยู่; ชอบใจ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อิ ที่ วิ-(สฺ) เป็น เอ (วิสฺ > เวส)

: อภิ + นิ + วิสฺ = อภินิวิสฺ + = อภินิวิสณ > อภินิวิส > อภินิเวส แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปยึดมั่น” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อภินิเวส” ตามศัพท์ว่า “settling in” (ความยึดมั่น) และบอกความหมายว่า wishing for, tendency towards, inclination, adherence (ความปรารถนา, ความเอนเอียง, ความโน้มเอียง, ความยึดเหนี่ยว)

อภินิเวส” แจกด้วยวิภัตตินามที่สี่ (จตุตถีวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “อภินิเวสาย” 

อภินิเวสาย” เขียนแบบนี้ คงมีคนอ่านว่า อะ-พิ-นิ-เว-สาย คือ “-สาย” ท้ายคำอ่านว่า สาย เหมือน-เช้า สาย บ่าย เย็น มาสาย สายแล้ว

โปรดทราบว่าไม่ใช่เช่นนั้น “-สาย” คำนั้น อ่านว่า สา-ยะ ไม่ใช่ -สาย

อภินิเวสาย” อ่านว่า อะ-พิ-นิ-เว-สา-ยะ แปลว่า “เพื่อการยึดถือ” “เพื่อการยึดมั่นถือมั่น”

ขยายความ :

คำบาลีทั้ง 4 คำ ประกอบเข้าเป็นประโยค –

เขียนแบบบาลีเป็น “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” 

เขียนแบบไทยเป็น “สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ” 

อ่านว่า สับ-เพ / ทำ-มา / นา-ลัง / อะ-พิ-นิ-เว-สา-ยะ

ที่ทำเครื่องหมาย / เพื่อบอกให้รู้ว่า คำบาลีทั้ง 4 คำ เวลาอ่าน แม้เสียงอ่านจะติดต่อกันไป แต่ต้องกำหนดรู้ด้วยว่าเป็นคนละคำกัน 

แปลโดยพยัญชนะว่า อันว่าธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่ควร เพื่อการเข้าไปยึดมั่น

แปลโดยอรรถว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

แถม :

โปรดสังเกตวิธีเขียนคำบาลีในภาพประกอบ จะเห็นว่าไม่ถูกต้องตามหลักการเขียนคำบาลี ทั้งเขียนแบบบาลีและเขียนแบบไทย

ที่ถูกต้องเขียนอย่างไร แสดงไว้แล้วข้างต้น

ลงภาพประกอบให้ดูเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้ฉุกคิดว่า ในขณะที่เราส่งเสริมการเรียนบาลีกันอย่างแพร่หลายนั้น คนไทยก็ยังคงเขียนคำบาลีผิด ๆ กันอย่างแพร่หลายอยู่นั่นเอง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าปล่อยสิ่งที่ไม่มีสาระ

: ก็มีโอกาสที่จะไปถึงสิ่งที่มีสาระ

#บาลีวันละคำ (4,469)

6-9-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *