บาลีวันละคำ

อัตหิต-ปรหิต (บาลีวันละคำ 4,477)

อัตหิต-ปรหิต

ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน

อ่านว่า อัด-ตะ-หิด / ปะ-ระ-หิด

มีคำบาลี 3 คำ คือ “อัต” “ปร” “หิต

(๑) “อัต” 

บาลีเป็น “อตฺต” อ่านว่า อัด-ตะ มาจากรากศัพท์ดังนี้ :

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้) 

๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ) 

๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง เป็น  

: อทฺ + = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > )และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตติที่หนึ่ง (อตฺต เป็นรูปคำเดิม อตฺตา เป็นรูปคำที่แจกวิภัตติ)

อตฺตา” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul) หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ

อตฺตา ในภาษาไทยเขียนเป็น “อัตตา” ในที่นี้ใช้เป็น “อัตต” และเพราะสมาสกับคำอื่นจึงตัด ออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมในคำไทย จึงเป็น “อัต-” 

(๒) “ปร” 

บาลีอ่านว่า ปะ-ระ รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ว่า “เบียดเบียน”) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ มฺ ที่สุดธาตุ

: + รมฺ = ปรมฺ + กฺวิ = ปรมกฺวิ > ปรม > ปร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีในการเบียดเบียน” ความหมายเดิมคือ “ปรปักษ์” ซึ่งหมายถึงผู้ที่อยู่อีกข้างหนึ่ง หรืออยู่คนละข้างกัน ซึ่งตามปกติย่อมพอใจที่จะเบียดเบียนคือทำร้ายกัน

จากความหมายเดิมนี้ “ปร” จึงหมายถึง อีกข้างหนึ่ง, โพ้น; เหนือ, อีกอันหนึ่ง, อื่นอีก, อื่น (on the further side of, beyond; over, another, other)

(๓) “หิต

บาลีอ่านว่า หิ-ตะ รากศัพท์มาจาก ทหฺ (ธาตุ = ทรงไว้, ตั้งไว้) + ปัจจัย, ลบ – ต้นธาตุ (ทหฺ > ), ลง อิ อาคมหน้าปัจจัย (ทหฺ + อิ +

: ทหฺ + อิ + = ทหิต > หิต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาตั้งไว้

หิต” ในบาลี ถ้าเป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง เพื่อน, ผู้มีบุญคุณ (a friend, benefactor) และคำนาม (นปุงสกลิงค์) หมายถึง คุณประโยชน์, พร, ความดี (benefit, blessing, good) 

หิต” ถ้าใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง มีประโยชน์, เหมาะสม, เป็นประโยชน์, เป็นมิตร (useful, suitable, beneficial, friendly) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

หิต, หิต– : (คำนาม) ความเกื้อกูล, ประโยชน์. (ป., ส.).”

การประสมคำ :

อตฺต + หิต = อตฺตหิต (อัด-ตะ-หิ-ตะ) แปลว่า “ประโยชน์เพื่อตน

ปร + หิต = ปรหิต (ปะ-ระ-หิ-ตะ) แปลว่า “ประโยชน์เพื่อผู้อื่น

ขยายความ :

อตฺตหิต” ในภาษาไทย “อตฺต” ตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “อัตหิต” อ่านแบบไทยว่า อัด-ตะ-หิด

ปรหิต” ใช้ในภาษาไทยได้รูปตรงตามบาลี เป็น “ปรหิต” อ่านแบบไทยว่า ปะ-ระ-หิด

อัตหิต” และ “ปรหิต” เอามาพูดรวมกันเป็น “อัตหิตปรหิต” อัด-ตะ-หิด / ปะ-ระ-หิด) แปลตามลีลาภาษาไทยว่า “ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน

แถม :

คำว่า “ท่าน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ท่าน : (คำสรรพนาม) คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. (คำนาม) คำที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.”

…………..

คำว่า “ท่าน” ในคำว่า “ประโยชน์ท่าน” เป็นคำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงโดยไม่เจาะจง เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ หมายถึง บุคคลอื่นนอกจากตัวเรา หรือบุคคลทั่วไป 

เวลาพูดถึงการทำงานหรือทำอะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและแก่บุคคลอื่น เช่นงานอาสาสมัคร หรือที่สมัยนี้นิยมเรียกว่า งานจิตอาสา ผู้เขียนบาลีวันละคำขอเสนอคำเรียกเผื่อเลือกไว้อีกคำหนึ่ง คือ “งานอัตหิตปรหิต” (งาน-อัด-ตะ-หิด-ปะ-ระ-หิด)

หากจะไม่มีใครเรียกเพราะเรียกยากหรือไม่อยากเรียกก็ตาม ก็เสนอไว้เพื่อเป็นอลังการแห่งภาษา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ค่าของสิ่งของ อยู่ที่มองให้เห็นคุณค่า

ใช่อยู่ที่ราคาว่าเป็นเงินตราเท่าไร

: ค่าของคน อยู่ที่ทำตนให้มีคุณค่า

ใช่อยู่ที่ไขว่คว้าแล้วอวดว่าข้ารวยกว่าใคร

#บาลีวันละคำ (4,477)

14-9-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *