บาลีวันละคำ

ทูตกรรม (บาลีวันละคำ 4,486)

ทูตกรรม

กรรมของใคร

อ่านว่า ทู-ตะ-กำ

ประกอบด้วยคำว่า ทูต + กรรม

(๑) “ทูต” 

บาลีอ่านว่า ทู-ตะ รากศัพท์มาจาก ทุ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป, เดือดร้อน) + ปัจจัย, ทีฆะ อุ ที่ ทุ เป็น อู (ทุ > ทู)

: ทุ + = ทุต > ทูต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันเขาส่งไป” “ผู้เดือดร้อน” (เพราะจะต้องผจญการต่างๆ แทนเจ้าของเรื่อง) หมายถึง คนสื่อสาร, ผู้ไปทำการแทน (a messenger, envoy)

บางตำราว่า “ทูต” ใช้ “ทูร” (ทู-ระ) แทนได้ 

ทูร” แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่ไปถึงโดยยาก” หมายถึง ไกล, ห่าง, ห่างไกล 

ตามนัยนี้ ทูร < ทูต มีความหมายว่า “ผู้ถูกส่งออกไปไกล” (one who is sent far away) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ทูต : (คำนาม) ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือเจริญสัมพันธไมตรีเป็นทางราชการ. (ป.).”

อนึ่ง ควรเข้าใจให้ถูกต้องว่า “ทูต” คำนี้ใช้ ทหาร ไม่ใช่ มณโฑ 

ย้ำ: “ทูต” ใช้ ทหาร ไม่ใช่ มณโฑ

(๒) “กรรม” 

บาลีเป็น “กมฺม” อ่านว่า กำ-มะ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ธาตุ : กรฺ > ก- และ ที่ปัจจัย : รมฺม > -มฺม

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม (นปุงสกลิงค์)

กมฺม” สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม” มีความหมายหลายอย่าง –

(1) การกระทำทั้งปวง เรียกว่า กรรม 

(2) การถูกทำ, สิ่งที่ถูกทำ, ผลของการกระทำ ก็เรียกว่า กรรม

(3) การทำกิจการงาน, การประกอบอาชีพ ก็เรียกว่า กรรม

(4) พิธีกรรม, พิธีการต่างๆ ก็เรียกว่า กรรม

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปก็คือ การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (action, the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ทูต + กมฺม = ทูตกมฺม (ทู-ตะ-กำ-มะ) แปลว่า “การกระทำของทูต” “งานของทูต” 

ทูตกมฺม” หมายถึง –

(1) การทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว หรือทูต (doing a messenger’s duty) 

(2) การส่งข่าวและเดินข่าว (sending & going on messages)

บาลี “ทูตกมฺม” ในภาษาไทยใช้เป็น “ทูตกรรม

ขยายความ :

ทูตกรรม” เป็นคำที่ใช้ในทางวินัย คือห้ามภิกษุไม่ให้ทำ “ทูตกรรม

เพื่อให้เห็นว่า “ทูตกรรม” คือการทำอะไร ขอยกข้อความในพระไตรปิฎกแห่งหนึ่งมาแสดงไว้ในที่นี้ ดังนี้ –

…………..

ยถา  วา  ปเนเก  โภนฺโต  สมณพฺราหฺมณา  สทฺธาเทยฺยานิ  โภชนานิ  ภุญฺชิตฺวา  เต  เอวรูปํ  ทูเตยฺยปหิณคมนานุโยคมนุยุตฺตา  วิหรนฺติ  ฯ

ท่านสมณพราหมณ์บางจำพวกบริโภคโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้เห็นปานนี้

เสยฺยถีทํ  ฯ  

กล่าวคือ –

รญฺญํ  ราชมหามตฺตานํ  ขตฺติยานํ  พฺราหฺมณานํ  คหปติกานํ  กุมารานํ  

รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ ขัตติยะ พราหมณ์ คฤหบดี และกุมาร ว่า –

อิธ  คจฺฉ  

ท่านจงไปในที่นี้

อมุตฺร  คจฺฉ  

ท่านจงไปในที่โน้น

อิทํ  หร  

ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป

อมุตฺร  อิทํ  อาหราติ  อิติ  วา  ฯ

ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้

อิติ  เอวรูปา  ทูเตยฺยปหิณคมนานุโยคา  ปฏิวิรโต  โหติ  ฯ

ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้เห็นปานนั้น ดังที่กล่าวมา

อิทํปิสฺส  โหติ  สีลสฺมึ  ฯ 

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

ที่มา: สามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 9 ข้อ 112

…………..

สรุปว่า “ทูตกรรม” ก็คือ การที่ภิกษุรับธุระของชาวบ้าน ด้วยการไปติดต่อเรื่องราวให้ ส่งข่าวสารให้ รับส่งสิ่งของให้ จะด้วยเจตนาใด ๆ ก็ตาม (เช่นถือว่าพระต้องช่วยเหลือประชาชนเป็นต้น) การกระทำอย่างนี้คือ “ทูตกรรม

ทูตกรรม” เป็นกิจที่พระภิกษุควรทำหรือไม่ พึงศึกษาจากข้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมา-รวมทั้งในที่อื่น ๆ ที่มิได้ยกมานั้น เทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

เมื่อเข้ามาอยู่ในระเบียบวินัยของพระศาสนา –

: อย่าเปลี่ยนระเบียบวินัยให้เป็นไปตามความเห็นของเรา

: แต่จงปรับความเห็นของเราให้ตรงกับระเบียบวินัย

#บาลีวันละคำ (4,486)

23-9-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *