บาลีวันละคำ

พระโสทรานุชา (บาลีวันละคำ 4,493)

พระโสทรานุชา

แปลว่าอะไร

อ่านว่า พฺระ-โส-ทะ-รา-นุ-ชา

แยกศัพท์เป็น พระ + โสทร + อนุชา

(๑) “พระ” 

มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะมาจาก “วร” (วะ-ระ) ในบาลีสันสกฤต แปลว่า “ประเสริฐ” แปลง เป็น ออกเสียงว่า พะ-ระ แล้วกลายเสียงเป็น พฺระ (ร กล้ำ)

ในที่นี้ใช้ตามที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ตอนหนึ่งว่า –

“… ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ … ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ …”

(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “พระ” ไว้ 13 อย่าง)

(๒) “โสทร” 

ภาษาไทยอ่านว่า โส-ทอน บาลีอ่านว่า โส-ทะ-ระ ประกอบขึ้นจากคำว่า สมาน + อุทร

(ก) “สมาน” บาลีอ่านว่า สะ-มา-นะ รากศัพท์มาจาก สมฺ (ธาตุ = ห้อย, ย้อย) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ยืดเสียง อะ ที่ –มฺ เป็น อา

: สมฺ + ยุ > อน = สมน > สมาน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ห้อยอยู่” คืออยู่เคียงคู่กัน หมายถึง เหมือนกัน, เสมอกัน, เท่ากัน, อย่างเดียวกัน (similar, equal, even, same)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมาน– ๑ : (คำวิเศษณ์) เสมอกัน, เท่ากัน. (ป., ส.).”

(ข) “อุทร” บาลีอ่านว่า อุ-ทะ-ระ รากศัพท์มาจาก อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, บน, นอก) + ทรฺ (ธาตุ = ไป) + (อะ) ปัจจัย

: อุ + ทรฺ = อุทรฺ + = อุทรฺ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่เดินขึ้นข้างบนแห่งลม” 

อุทร” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ท้อง, กระเพาะอาหาร (the belly, stomach)

(2) ช่อง, ภายใน, ข้างใน (cavity, interior, inside)

อุทร” ภาษาไทยอ่านว่า อุ-ทอน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

อุทร : (คำนาม) ท้อง. (ป., ส.).”

สมาน + อุทร ลดรูป “สมาน” เหลือเพียง “” หรือจะว่า ลบ มาน ก็ได้ (สมาน > ), แผลง อุ ที่ อุ-(ทร) เป็น โอ (อุทร > โอทร)

: สมาน > + อุทร = สุทร > โสทร แปลตามศัพท์ว่า “ท้องเสมอกัน” หมายถึงเกิดในท้องเดียวกัน คือมีพ่อและแม่คนเดียวกัน

ในภาษา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โสทร : (คำนาม) พี่น้องร่วมท้องกัน. (ป., ส.).”

(๓) “อนุชา

อ่านว่า อะ-นุ-ชา ประกอบขึ้นจาก อนุ +

(ก) “อนุ” อ่านว่า อะ-นุ เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า –

(1) ภายหลัง, ข้างหลัง (after, behind)

(2) ไปยัง, ตรงไปยังเป้าหมาย, ดำเนินต่อไป, ข้ามไปยัง, ข้างหน้า (for, towards an aim, on to, over to, forward)

นักเรียนบาลีท่องกันมาว่า “อนุ = น้อย, ภายหลัง, ตาม

(ข) “” อ่านว่า ชะ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กวิ 

: ชนฺ + กฺวิ = ชนกฺวิ > ชน > แปลตามศัพท์ว่า “(สิ่งที่) เกิด–” 

ขยายความแทรก :

” คำเดียวแปลว่า “เกิด” โดยปกติแล้วจะไม่ใช้เดี่ยว ๆ คือจะมีแต่คำว่า “” ตัวเดียวไม่ได้ จะต้องมีคำอื่นอยู่ข้างหน้า หรือเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายคำอื่น จึงจะแปลว่า “เกิด” ได้ เช่น –

วาริช” แปลว่า “สิ่งที่เกิดในน้ำ” “สิ่งที่เกิดจากน้ำ” หรือ “สิ่งที่เกิดเพราะน้ำ” แล้วแต่ว่าคำไหนจะมีความกลมกลืนดีกว่ากัน 

ภูริช” แปลว่า (1) “เกิดจากแผ่นดิน” (2) “เกิดจากปัญญา

อนุ + = อนุช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดภายหลัง” (born after) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ 2 คำ คือ “อนุช” และ “อนุชา” บอกไว้ดังนี้ –

(1) อนุช : (คำนาม) “ผู้เกิดภายหลัง”, น้องสาว, นิยมใช้ว่า นุช. (ป., ส.).

(2) อนุชา : (คำนาม) “ผู้เกิดภายหลัง”, น้องชาย, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระอนุชา. (ป., ส.).

ขยายความแทรก :

พึงทราบว่า ในภาษาบาลี “อนุช” เป็นคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ คือคำขยาย (วิชาวากยสัมพันธ์เรียกว่า “วิเสสนะ”) คำนามที่ตนขยายเป็นลิงค์อะไร ก็เปลี่ยนรูปไปตามลิงค์นั้น ๆ 

รูปศัพท์ “อนุช” ในบาลี ถ้าขยาย “คน” ก็หมายถึงคนนั้นเป็นผู้ชาย คือน้องชาย ถ้าเป็นน้องสาว จึงจะเป็น “อนุชา” (อนุช + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ = อนุชา)

แต่หลักนิยมในภาษาไทยตามคำนิยามของพจนานุกรมฯ ตรงกันข้าม “อนุช” คือ น้องสาว “อนุชา” คือ น้องชาย

ทำไมจึงกลับตาลปัตรเช่นนี้? เป็นหน้าที่ของผู้รักภาษาจะต้องหาเหตุผลกันต่อไป

การประสมคำ :

โสทร + อนุชา = โสทรานุชา (โส-ทะ-รา-นุ-ชา) หมายถึง น้องผู้ร่วมบิดามารดาเดียวกัน

พระ + โสทรานุชา = พระโสทรานุชา หมายถึง เจ้านายผู้เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน > พระอนุชาร่วมพระบิดาพระมารดาองค์เดียวกัน

ขยายความ :

ผู้เขียนบาลีวันละคำได้อ่านเฟซบุ๊กของผู้ใช้นามว่า “สาระ – บรรณ” โพสต์เรื่อง “สะพานภาณุพันธ์” มีข้อความตอนหนึ่งว่า –

…………..

สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระโสทรานุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

…………..

คำว่า “พระโสทรานุชา” เป็นคำที่น่าสนใจ บางท่านอาจจะไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร จึงเอามาเขียนเป็นบาลีวันละคำ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เราไม่อาจเกิดเป็นพี่น้องร่วมท้องกันได้ทุกคน

: แต่เราอาจรักกันเหมือนพี่น้องร่วมท้องได้ทุกคน

#บาลีวันละคำ (4,493)

30-9-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *