บาลีวันละคำ

เปรียญลาพรต (บาลีวันละคำ 1,471)

เปรียญลาพรต

อ่านว่า ปะ-เรียน-ลา-พฺรด

ประกอบด้วย เปรียญ + ลาพรต

(๑) “เปรียญ” (ปะ-เรียน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เปรียญ : (คำนาม) ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป”

มีผู้สันนิษฐานว่า คำว่า “เปรียญ” น่าจะมีที่มาจาก 2 ทาง คือ –

(1) กลายรูปและเสียงมาจากคำว่า “ปริญญา

คือ อิ ที่ –ริ– เป็น เอีย เทียบกับคำว่า “วชิรอิ ที่ –ชิ– เป็น เอีย = วเชียร > วิเชียร

: ปริญญา > ปเรียญญา แล้วกร่อนเหลือเพียง ปเรียญ > เปรียญ

ปริญญา” บาลีเขียน “ปริญฺญา” (มีจุดใต้ ญฺ เป็นตัวสะกด) แปลว่า ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความเข้าใจ, ความรู้รอบ (knowing, recognising, understanding)

(2) เลือนมาจากคำว่า “บาเรียน

: บาเรียน > บเรียน > ปเรียน > เปรียน > เปรียญ

พจน.54 บอกไว้ว่า –

(1) บา : (คำนาม) ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม

(2) บาเรียน : (คำนาม) ผู้เล่าเรียน, ผู้รู้ธรรม, ผู้คงแก่เรียน, เปรียญ

ปกติผู้ที่จะได้ชื่อว่า “เปรียญ” จะต้องบวชเป็นภิกษุหรือสามเณรแล้วศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ 3 ประโยคขึ้นไป

(๒) “ลาพรต

ลา” เป็นคำไทย หมายถึง ออกไปจากฐานะ ภาวะ ตำแหน่งหน้าที่ หรือกิจที่ทำ

พรต” บาลีเป็น “วต” (วะ-ตะ) และ “วตฺต” (วัด-ตะ)

ก. “วต” รากศัพท์มาจาก –

(1) วต (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย

: วต + = วต แปลตามศัพท์ว่า “กิจที่เป็นไปตามปกติ

(2) วช (ธาตุ = ปรุงแต่ง, กระทำ) + ปัจจัย, แปลง ที่ (ว)-ชฺ เป็น (วชฺ > วต)

: วชฺ + = วช > วต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาปรุงแต่ง

ข. “วตฺต” รากศัพท์มาจาก วตฺต (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย

: วตฺต + = วตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ข้อที่ควรถือประพฤติ

วต” หรือ “วตฺต” หมายถึง วัตร, การถือปฏิบัติทางศาสนา, พิธีการ, แนวปฏิบัติ, ประเพณี (a religious duty, observance, rite, practice, custom)

วต” หรือ “วตฺต” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “วัตร” และแผลงเป็น “พรต

พจน.54 บอกไว้ว่า –

พรต : (คำนาม) กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภคอาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).”

ลาพรต” หมายถึง ลาออกจากเพศนักบวช หรือลาออกจากการประพฤติพรหมจรรย์คืนสู่ความเป็นชาวบ้านธรรมดา

เปรียญลาพรต” หมายถึง พระภิกษุสามเณรที่เป็นเปรียญแล้วลาสิกขาคืนสู่ความเป็นชาวบ้านธรรมดา คำพูดนี้มีนัยแฝงความรู้สึกในทางลบอยู่ในที

ผู้เขียนบาลีวันละคำจำได้ว่า ได้เห็นคำนี้ครั้งแรกจากข้อเขียนของ ส. ศิวรักษ์ แต่ท่านจะคิดคำนี้ขึ้นเองหรือได้มาจากคำของใครอีกต่อหนึ่งยังไม่ได้สืบทราบ

ดูก่อนภราดา!

นักพรตที่ดีพึงมีอิสระที่จะอยู่หรือลาพรตโดยไม่ต้องให้ใครบังคับ

: บวชอยู่ก็เป็นศรีแก่พระศาสนา

: ลาสิกขาก็เป็นศรีแก่สังคม

(อภินันทนาการแด่ อ้นพัดยศ เปรียญลาพรต ผู้ลาพรตโดยอิสระและสง่างาม)

12-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย