บาลีวันละคำ

ชิตํ เม (บาลีวันละคำ 1,027)

ชิตํ เม

อ่านว่า ชิ-ตัง เม

เป็นบาลี 2 คำ คือ “ชิตํ” คำหนึ่ง “เม” คำหนึ่ง

(๑) “ชิตํ” รากศัพท์มาจาก –

(1) ชิ (ธาตุ = ชนะ) + ปัจจัย

: ชิ + = ชิต (ชิ-ตะ) แปลว่า “ชนะแล้ว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ชิต” ว่า conquered, subdued, mastered (พิชิต, ปราบ, เอาชนะได้)

ชิต” ถ้าเป็นคำนาม แปลว่า ชัยชนะ (victory)

ข้อควรทราบคือ “ชิ” ธาตุ เมื่อประกอบรูปเป็นคำกริยา สามารถแปลได้ว่า พิชิต, มีชัย; ได้เปรียบ, ปล้น, มีกำลังเหนือ, ทำให้พ่ายแพ้ (to conquer, surpass; to pillage, rob, to overpower, to defeat)

(2) ชิต + สิ (วิภัตตนาม ที่ 1, เอกพจน์) แปลง สิ เป็น อํ ตามกฎการแปลงศัพท์นามที่เป็นนปุงสกลิงค์

: ชิต + สิ > อํ = ชิตํ

ที่ต้องประกอบวิภัตติทำให้ “ชิต” เป็น “ชิตํ” ก็เพราะในที่นี้ “ชิตํ” ใช้เป็นคำกริยาในประโยค

(๒) “เม” เป็นคำสรรพนาม รูปคำเดิมตามหลักไวยากรณ์คือ “อมฺห” (อำ-หะ) แปลว่า ข้าพเจา, ฉัน, ข้า, กู

อมฺห + นา (วิภัตตนาม ที่ 3, เอกพจน์) แปลง อมฺห กับ นา เป็น “เม” แปลตามสำนวนแปลของนักเรียนบาลีในเมืองไทยว่า “อันเรา

ชิตํ เม” เป็นรูปประโยค “ภาววาจก” (พา-วะ-วา-จก) ตามหลักบาลีไวยากรณ์ แปลตามศัพท์ว่า “อันเราชนะแล้ว” = เราชนะแล้ว

ข้อควรเข้าใจ :

๑ ในคัมภีร์พบว่า คำว่า “ชิตํ เม” เป็นคำอุทานของผู้ที่เอาชนะใจตัวเองได้จากความตระหนี่และความยึดติดเพราะหวงแหนทรัพย์สิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตัดใจสละสิ่งนั้นได้จึงอุทานออกมาว่า “ชิตํ เม

๒ “ชิตํ เม” เป็นคำที่พูดกับตัวเอง คือบอกตัวเองว่า “เราชนะใจของเราได้แล้ว

๓ ผู้เขียนบาลีวันละคำยังไม่พบว่าในคัมภีร์มีผู้ใช้คำนี้ด้วยเจตนาจะพูดกับผู้อื่น เพราะคำนี้ถ้าใช้พูดกับผู้อื่นจะมีความหมายว่า “ข้าพเจ้าชนะท่าน” แต่ถ้าผู้พูดเป็นบรรพชิตก็จะหมายถึงการบอกแก่ผู้อื่นว่า “ข้าพเจ้าบรรลุธรรมแล้ว” (ท่านผู้ใดพบว่าในคัมภีร์มีการใช้คำนี้พูดกับคนอื่น กรุณาแนะนำเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ)

: ถ้ายังเอาชนะใจตัวเองไม่ได้

: อย่าเที่ยวไปบอกใครว่า ชิตํ เม

11-3-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย