บาลีวันละคำ

ลัทธิ (บาลีวันละคำ 1,028)

ลัทธิ

อ่านว่า ลัด-ทิ

ลัทธิ” บาลีเขียน “ลทฺธิ” (ลัด-ทิ) รากศัพท์มาจาก ลภฺ (ธาตุ = ได้) + ติ ปัจจัย, แปลง เป็น , เป็น

: ลภฺ > ลท + ติ > ธิ = ลทฺธิ แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “การได้รับ” คือการรับเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาไว้

(2) “สิ่งอันควรรับไว้” คือสิ่งที่แต่ละคนเห็นว่าตนควรรับเอาไว้

ลทฺธิ” หมายถึง ความเชื่อ, ทัศนะ, ทฤษฎี อันเกี่ยวกับศาสนา, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเห็นที่นอกรีต (religious belief, view, theory, esp. heretical view)

พจนานุกรมบางฉบับ แปล “ลทฺธิ” เป็นอังกฤษว่า a view of theory

พจนานุกรมบาลี-ไทย สำหรับนักศึกษา BUDSIR 7 for Windows บอกว่า –

ลทฺธิ : ลัทธิ, ความเห็น.”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกว่า –

ลัทธิ : ความเชื่อถือ, ความรู้และประเพณีที่ได้รับและปฏิบัติสืบต่อกันมา”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ลัทธิ : (คำนาม) คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น, ความได้).”

ลัทธิ” ที่เกิดขึ้นและดำเนินไปได้จะต้องประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ายเสมอ คือ :

(1) ผู้ตั้งลัทธิ หรือ “ศาสดา

(2) ผู้เลื่อมใสในลัทธิ หรือ “สาวก

ในพระไตรปิฎกแห่งหนึ่งแสดงลักษณะของศาสดาและสาวกในลัทธิทั้งหลายไว้ 4 แบบ คือ :

(1) ศาสดาสอนผิด สาวกไม่ใส่ใจคำสอน เหมือนบุรุษรุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังถอยหลังหนี หรือเหมือนบุรุษที่กอดสตรีที่หันหลังให้

(2) ศาสดาสอนผิด แต่สาวกใส่ใจคำสอน เหมือนบุคคลทิ้งนาของตน แล้วสำคัญนาของผู้อื่นว่าเป็นที่ที่ตนควรทำให้ดี

(3) ศาสดาสอนถูก แต่สาวกไม่ใส่ใจคำสอน เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว สร้างเครื่องจองจำอย่างอื่นขึ้นใหม่

(4) ศาสดาสอนถูก และสาวกใส่ใจคำสอน เหมือนบุรุษผู้หนึ่งฉวยผมบุรุษอีกผู้หนึ่งซึ่งกำลังจะตกไปสู่เหวคือนรกไว้ ฉุดขึ้นให้ยืนอยู่บนบก

พึงพิจารณาเนืองๆ :

: เรามีศาสดาแบบไหน

: และเราเป็นสาวกประเภทไหน

————

(ตามคำปรารภของพระคุณ Pra Srikanet Phanyapachotho เมื่อ 18 ธ.ค.57)

12-3-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย