บาลีวันละคำ

เพล (บาลีวันละคำ 1,038)

เพล

อ่านว่า เพน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เพล : (คำนาม) เวลาพระฉันกลางวัน คือ เวลาระหว่าง ๑๑ นาฬิกาถึงเที่ยง เรียกว่า เวลาเพล. (ป., ส. เวลา ว่า กาล).”

ตามนัยแห่ง พจน.54 “เพล” มาจาก “เวลา” แผลง เป็น ตามสูตรที่เข้าใจกันแล้วทั่วไป เป็น “เพลา” (เพ-ลา) พจน.54 บอกความหมายว่า กาล, คราว

เพลา” ลบสระ อา (หรืออาจเป็นเพราะเสียง อา กร่อนหายไป) ก็เป็น “เพล

เวลา” บาลีมีรากศัพท์มาจาก :

(1) วิ (แทนคำว่า “วินาส” = เสื่อม, สูญ) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ (ที่ วิ) เป็น เอ

: วิ > เว + ลา = เวลา + = เวลา แปลตามศัพท์ว่า “ผู้กำหนดความเสื่อมไป

(2) เวลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย + อา ปัจจัยอิตถีลิงค์

: เวลฺ + = เวล + อา = เวลา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปโดยขณะหนึ่งครู่หนึ่ง

เวลา” หมายถึง เวลา, กาลเวลา (time, point of time)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เวลา : (คำนาม) ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกําหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง ขอเวลาสักครู่. (ป., ส.).”

ข้างต้นนั้น พจน.54 บอกว่า “เวลา” บาลีสันสกฤตว่า “กาล

คำว่า “กาล” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็แปลว่า time เช่นกัน

เป็นอันว่า “กาล” กับ “เวลา” ในแง่หนึ่งหมายถึงสิ่งเดียวกันคือ time

ในสมัยพุทธกาล เมื่อมีผู้นิมนต์พระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์ไปฉันที่บ้าน เมื่อทางบ้านเจ้าภาพจัดภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะส่งคนไปแจ้งแก่พระสงฆ์ สำนวนบาลีพูดว่า “กาเล อาโรจิเต” แปลว่า “เมื่อแจ้งเวลาแล้ว” หมายความว่า ได้เวลาไปฉันแล้ว

ตามบ้านเศรษฐีที่ตั้งโรงทานเลี้ยงคนอนาถา ก็ใช้สำนวน “กาเล อาโรจิเต” เช่นกัน ในความหมายว่า บัดนี้ได้เวลาเปิดโรงทานประจำวันแล้ว เชิญท่านผู้อนาถาทั้งหลายมารับอาหารได้แล้ว

ในแง่นี้ “เวลา” (คือ “กาล”) จึงเป็นสำนวนที่หมายถึง “เวลาอาหาร

ที่วามานี้เป็นการอธิบายแบบลากเข้าความว่า ทำไม เพล < เพลา < เวลา จึงมีความหมายว่า “เวลาพระฉันกลางวัน

ปริศนาธรรม :

พระอดเพล เณรอดเช้า” มีความหมายว่าอย่างไร ?

(พรุ่งนี้มีคำตอบ)

22-3-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย