บาลีวันละคำ

อดิเรกลาภ (บาลีวันละคำ 1,043)

อดิเรกลาภ

อ่านว่า อะ-ดิ-เหฺรก-กะ-ลาบ

บาลีเป็น “อติเรกลาภ” อ่านว่า อะ-ติ-เร-กะ-ลา-พะ

ประกอบด้วย อติเรก + ลาภ

(๑) “อติเรก

รูปคำนี้อธิบายกันว่ามาจาก อติ (ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + เอก (หนึ่ง), ลง อาคม

: อติ + + เอก = อติเรก แปลตามศัพท์ว่า “ยิ่งกว่าหนึ่ง” “เกินหนึ่งขึ้นไป” หมายถึง เหลือล้น, มากเกินไป; เกิน, เลย, ในปริมาณที่สูง; พิเศษ (surplus, too much; exceeding, excessive, in a high degree; extra)

(๒) “ลาภ

รากศัพท์มาจาก ลภฺ (ธาตุ = ได้) + ปัจจัย, ทีฆะต้นธาตุ เป็น ลา

: ลภฺ > ลาภ + = ลาภ แปลตามศัพท์ว่า การได้, ของที่ได้ เรานิยมพูดทับศัพท์ว่า ลาภ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ลาภ” ว่า receiving, getting, acquisition, gain, possession (การรับ, การได้, การได้มา, กำไร, สิ่งที่ได้มา, สมบัติ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

ลาภ : (คำนาม) สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้, การได้, กําไร)”

อติเรก + ลาภ = อติเรกลาภ แปลตามศัพท์ว่า “ลาภที่ล้นเหลือ

อติเรก” ใช้ในภาษาไทยว่า “อดิเรก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อดิเรก, อดิเรก-: (คำวิเศษณ์) พิเศษ. (คำนาม) ชื่อพรพิเศษที่พระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะถวายพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์หรือสามัญชนที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในคําว่า ถวายอดิเรก. (ป., ส.).

(2) อดิเรกลาภ : (คำนาม) อติเรกลาภ, ลาภพิเศษ. (ป., ส. อติเรกลาภ).

อีกคำหนึ่งที่เราคุ้นกันดี คือ

(3) งานอดิเรก : (คำนาม) งานที่ทำเพื่อความเพลิดเพลิน.

คำว่า “อดิเรกลาภ” นี้เคยได้ยินพระรุ่นเก่าท่านพูดเพี้ยนเป็น “เอกลาภ” (เอก-กะ-ลาบ) ก็มี เช่น “อยู่วัดในเมืองสบาย เอกลาภเยอะ

ในหลักพระธรรมวินัย “อดิเรกลาภ” หมายถึง ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้บริโภคใช้สอยได้เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิม กล่าวคือ :

(๑) ปิณฑิยาโลปโภชนะ : โภชนะที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้ง คือเที่ยวบิณฑบาต

ภัตตาหารที่เป็นอดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท

หมายความว่าถ้ามีภัตเหล่านี้เกิดขึ้น จะไม่ต้องไปบิณฑบาตก็ได้

(๒) บังสุกุลจีวร : ผ้านุ่งห่มที่ทำจากของเขาทิ้ง

ผ้าที่เป็นอติเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน. (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)

หมายความว่าถ้ามีผู้ถวายผ้าเหล่านี้ จะใช้สอยก็ได้

(๓) รุกขมูลเสนาสนะ : ที่อยู่อาศัยคือโคนไม้

ที่อยู่อาศัยที่เป็นอดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ

หมายความว่าถ้าได้ที่อยู่เช่นนี้ หรือมีผู้ทำที่อยู่เช่นนี้ถวาย จะอาศัยอยู่ก็ได้

(๔) ปูติมุตตเภสัช : ยาน้ำมูตรเน่า

เภสัชที่เป็นอดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

หมายความว่าถ้ามีผู้ถวายเภสัชเหล่านี้ จะบริโภคก็ได้

จะเห็นได้ว่า แม้จะกำหนดปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเพื่อความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย แต่ก็มิได้จำกัดตัดสิทธิ์ที่จะบริโภคใช้สอยสิ่งของที่เป็น “อดิเรกลาภ” เพียงแต่จำกัดว่าต้องเป็นของที่ “สมควรแก่สมณบริโภค

: อดิเรกลาภ เป็นเพียงของแถม

: คนมีปัญญาแหลมย่อมแทงทะลุหลุดออกไปได้

27-3-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย