บาลีวันละคำ

พยายาม (บาลีวันละคำ 1,047)

พยายาม

ทับศัพท์เป็นไทย เข้าใจโดยไม่ต้องแปล

แต่ถ้าถามว่า แปลว่าอะไร ? ….

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พยายาม [พะยา-] : (คำกริยา) ทําโดยมานะบากบั่น. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม)”

พจน.54 บอกว่า “พยายาม” สันสกฤตเป็น “วฺยายาม” บาลีเป็น “วายาม

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ, ความหมายที่ท่านให้ไว้ในภาษาไทยบางคำเข้าใจยาก ถ้าดูภาษาอังกฤษอาจช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น)

วฺยายาม : น. ‘พยายาม’ ความเหนื่อย; พยาบาล (= การงานที่ต้องออกแรงทำด้วยความเหนื่อยยากพากเพียร); วา; มัลลกรีฑา, ไทปรากฤตว่า- ‘กายกรรม’ บุรุษภาพ; กฐินตา, ความขลุกขลัก, ความยากหรือลำบาก การย์; (= กิจ); fatigue; labour; a fathom; athletic exercise; manhood, manliness; difficulty; business, occupation.”

วายาม” (วา-ยา-มะ) ในบาลี มีรากศัพท์มาจาก –

(1) วายมฺ (ธาตุ = พยายาม) + ปัจจัย, ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ –– เป็น อา, ลบ

: วายมฺ + = วายม > วายาม แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเหตุให้พยายาม” คือแม้อยากจะนิ่งเฉยก็นิ่งอยู่ไม่ได้เพราะมีเหตุมากระตุ้นให้ต้องขับเคลื่อนอยู่เสมอ

(2) วยฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อาม ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ – เป็น อา

: วยฺ > วาย + อาม = วายาม แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ดำเนินไปตลอดกาล” คือไม่หยุดยั้งหรือย่อท้อ

(3) วาย (ลม) + อมฺ (ธาตุ ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ต้นธาตุ คือ -(มฺ) เป็น อา

: วาย + อมฺ = วายม > วายาม + = วายาม แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เป็นไปทุกเมื่อเหมือนลม” คือไม่อยู่นิ่ง มีอาการรวดเร็วว่องไว ไม่อาจจะแชเชือนเฉยเมยอยู่ได้

วายาม” มีความหมายว่า ความเพียร, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความบากบั่น (striving, effort, exertion, endeavour)

บาลี วายาม สันสกฤต วฺยายาม ไทยใช้อิงสันสกฤต แผลง เป็น > พยายาม

พยายาม” (= วายามะ) หรือความเพียร เป็นธรรมะที่เป็นกลางๆ ใช้ไปในทางถูกก็ได้ ในทางผิดก็ได้

พยายามในทางถูก เรียกว่า “สัมมาวายามะ” เป็นไปในงาน 4 อย่าง คือ :

(1) พยายามระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

(2) พยายามละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นไป

(3) พยายามเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

(4) พยายามรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์

พยายามในทางผิด เรียกว่า “มิจฉาวายามะ” เป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ :

(1) บุญที่ยังไม่เคยทำ ก็พยายามที่จะไม่ทำ

(2) บุญที่เคยทำอยู่แล้ว ก็พยายามที่จะเลิกทำ

(3) บาปที่ยังไม่เคยทำ ก็พยายามที่จะทำ

(4) บาปที่ทำอยู่แล้ว ก็พยายามทำให้มากขึ้น

พยายาม : ทับศัพท์เป็นไทย เข้าใจโดยไม่ต้องแปล

ถ้ารู้คำแปลด้วย รู้วิธีใช้ในทางที่ถูกด้วย ก็ยิ่งช่วยให้เข้าถึงใจ

: พยายามถึงที่สุดแล้ว แม้จะไม่สำเร็จ

: ก็ยังน่าภูมิใจกว่าสำเร็จโดยไม่ได้พยายาม

31-3-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย