บาลีวันละคำ

อบายมุข (บาลีวันละคำ 1,050)

อบายมุข

อ่านว่า อะ-บาย-ยะ-มุก

บาลีเป็น “อปายมุข” อ่านว่า อะ-ปา-ยะ-มุ-ขะ

ประกอบด้วย อปาย + มุข

(๑) “อปาย” (อะ-ปา-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อป (ปราศจาก, ไม่มี) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ เป็น , ยืดเสียง อะ ที่ -(ย) เป็น อา

: อป + อิ > อย + = อปย > อปาย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเหตุให้ไปปราศจากความสุข

(2) อป (ปราศจาก, ไม่มี) + อย (ความสุข, ความเจริญ, ความดี, บุญ), ยืดเสียง อะ ที่ -(ย) เป็น อา

: อป + อย = อปย > อปาย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะหรือภพภูมิที่ปราศจากความสุข” “ภาวะหรือภพภูมิที่ปราศจากความเจริญ” “ภาวะหรือภพภูมิที่ปราศจากความดี” “ภาวะหรือภพภูมิที่ปราศจากบุญ

(3) (ไม่, ไม่มี) + ปาย (ความเจริญ), แปลง เป็น

: > + ปาย = อปาย แปลตามศัพท์ว่า “ภพที่ไม่มีความเจริญ

อปาย” หมายถึง ความเสื่อม, ความฉิบหาย, ภพภูมิหรือกำเนิดที่ไม่มีโอกาสเจริญบุญกุศล

อปาย” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “อบาย

(๒) “มุข” (มุ-ขะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มุขฺ (ธาตุ = เปิด, ไป, เป็นไป) + ปัจจัย = มุข แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะอันเขาเปิดเผย” (2) “อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข

(2) มุ (ธาตุ = ผูก) + ปัจจัย = มุข แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องผูก

มุข” หมายถึงอวัยวะ 2 อย่าง คือ ปาก (the mouth) และ หน้า (the face) จะหมายถึงอะไรต้องสังเกตที่บริบท

แต่เมื่อ “มุข” เป็นส่วนท้ายคำสมาส เช่นในคำว่า อปาย + มุข = อปายมุข ความหมายของ “มุข” ก็เปลี่ยนไป

อปายมุข > อบายมุข มีความหมายว่า :

(1) การแยกออกจากกัน, ความสูญเสีย (separation, loss)

(2) การสูญหาย (เกี่ยวกับทรัพย์สมบัติ) (loss [of property])

(3) การรั่วไหล, การไหลออกไป (เกี่ยวกับน้ำ) (leakage, out flow [of water])

(4) การกระทำพลั้งพลาด (ในเรื่องความประพฤติ) (lapse, falling away [in conduct])

(5) ทางแห่งความเสื่อม (cause of ruin; ways of squandering wealth; ruinous ways of life; vicious ways of conduct)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า :

อบายมุข : ช่องทางของความเสื่อม, เหตุเครื่องฉิบหาย, เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์, ทางแห่งความพินาศ มี 4 อย่าง คือ 1. เป็นนักเลงหญิง 2. เป็นนักเลงสุรา 3. เป็นนักเลงการพนัน 4. คบคนชั่วเป็นมิตร; อีกหมวดหนึ่ง มี 6 คือ 1.ติดสุราและของมึนเมา 2. ชอบเที่ยวกลางคืน 3. ชอบเที่ยวดูการเล่น 4. เล่นการพนัน 5. คบคนชั่วเป็นมิตร 6.เกียจคร้านการงาน.”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำว่า “อปายมุข” ตามความหมายว่า leading to destruction (ทางที่นำไปสู่ความเสื่อม) แต่แปลตามตัวอักษรคมคายดีนัก คือ “facing ruin” = เผชิญหน้ากับความฉิบหาย

การ “เผชิญหน้ากับความฉิบหาย” ก็คล้ายกับเผชิญหน้ากับมัจจุราช

ต่างกันที่ว่า เผชิญหน้ากับมัจจุราชไม่ว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลังไม่มีทางรอดเลย

แต่เผชิญหน้ากับความฉิบหายนั้น เดินหน้ามีแต่พัง ถ้าถอยหลังก็รอด

: ดูก่อนภราดา ! ผิว่าท่านเป็นนายทัพแลกำลังเผชิญศึกอบายมุขอยู่ตรงหน้า

ท่านจะสั่งทัพเป็นประการไร ?

3-4-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย