บาลีวันละคำ

โสรจสรง (บาลีวันละคำ 1,062)

โสรจสรง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) โสรจ [โสด] : (คำกริยา) อาบ, สรง, ชําระ, ทําให้สะอาด. (ข. โสฺรจ; ป. โสจ; ส. เศาจ).

(2) สรง [สง] : (คำกริยา) อาบนํ้า, รดน้ำ (ใช้แก่เจ้านายและพระภิกษุสามเณร), ประพรม เช่น สรงพระบรมอัฐิ. (ข.).

(3) โสรจสรง [โสดสง] : (คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง) (คำกริยา) อาบนํ้า.

สรุปตาม พจน. ว่า –

1) “โสรจ” :

คำเขมรเป็น “โสฺรจ

บาลีเป็น “โสจ

สันสกฤตเป็น “เศาจ

2) “สรง” เป็นคำเขมร

………..

โสจ” บาลีอ่านว่า โส-จะ รากศัพท์มาจาก สุจฺ (ธาตุ = เปียกชุ่ม, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ สุ– เป็น โอ

: สุจฺ + = สุจ > โสจ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งของสะอาด” หมายถึง –

(1) การทำความสะอาด, การชำระล้าง, การอาบน้ำ (cleaning, washing, bathing)

(2) ความบริสุทธิ์, สิ่งที่บริสุทธิ์ (purity, pure things)

(3) ความดี, คุณความดี (goodness, merit)

ส่วน “เศาจ” ในสันสกฤต สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ, ความหมายที่ท่านให้ไว้ในภาษาไทยบางคำเข้าใจยาก ถ้าดูภาษาอังกฤษอาจช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น)

เศาจ : (คำนาม) การชำระหรือทำให้บริศุทธ์ด้วยการสนาน; ความบริศุทธิ; purification by ablution; purity.”

ความคิดเห็น :

๑ พนจ. ว่า “โสรจ” คำเขมรเป็น “โสฺรจ” นั้น เขมรก็คงเอาไปจาก “โสจ” บาลีนั่นเอง “โสจ” บาลีไม่เอามาจาก “โสฺรจ” เขมรอย่างแน่นอน

๒ ส่วน “สรง” พนจ. ว่าเป็นคำเขมร ก็คงต้องว่าตาม พจน.ไปก่อน

๓ ถ้า “สรง” เป็นคำเขมรแท้ “โสรจสรง” ก็น่าจะเป็นคำซ้ำความของเขมร ทำนองเดียวกับ ถนนหนทางมารควิถี เสื่อสาดอาสนะ ในภาษาไทยนั่นเอง

: สรงน้ำพระตามวิถีพุทธ

: คือครองชีวิตให้บริสุทธิ์ถ้วนทั้งไตรทวาร

————-

(ได้โอกาสชำระหนี้พระคุณท่าน ปริญช์ ชุติญาณวงษ์ ที่ติดค้างมาตั้งแต่ 31 ก.ค.57)

15-4-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย