บาลีวันละคำ

บุญกิริยาวัตถุ (บาลีวันละคำ 1,064)

บุญกิริยาวัตถุ

แปลว่า-วิธีทำบุญ

อ่านว่า บุน-ยะ-กิ-ริ-ยา-วัด-ถุ

บาลีเป็น “ปุญฺญกิริยาวตฺถุ” อ่านว่า ปุน-ยะ-กิ-ริ-ยา-วัด-ถุ

ประกอบด้วย ปุญฺญ + กิริยา + วตฺถุ

(๑) “ปุญฺญ” รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม, ลบ ณฺ, แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ > ปุน + ณฺย = ปุนฺย > ปุญ + = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุชฺช + ชนฺ + ณฺย = ปุนฺย > ปุญ + = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุณฺณ + กรฺ + ณฺย = ปุรย > ปุญ + = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ

ปุญฺญ” หมายถึง เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม (merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works)

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ” ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปคือ การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา

(๒) “กิริยา” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย แปลง ที่ เป็น อิ, ลง อิ อาคม ที่ –, ลบ ณฺ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กร > กิร + อิ = กิริ + ณฺย > = กิริย + อา = กิริยา

กิริยา” ตามความหมายทั่วไป คือ การกระทำ, การปฏิบัติ, กรรม; การที่กระทำลงไป (action, performance, deed; the doing)

กิริยา” ตามความหมายพิเศษ คือ การสัญญา, การสาบาน, การอุทิศ, การตั้งใจ, คำปฏิญาณ; ความยุติธรรม (promise, vow, dedication, intention, pledge; justice)

(๓) “วตฺถุ” รากศัพท์มาจาก วสฺ (ธาตุ = อยู่) + รตฺถุ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ และ

: วสฺ > + รตฺถุ > ตฺถุ = วตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้งอยู่” มีความหมายหลายอย่าง คือ :

(1) วัตถุ, ของจริง, ทรัพย์, สิ่งของ, ของที่เป็นสาระ (object, real thing, property, thing, substance)

(2) แหล่ง, ที่ตั้ง, สนาม, พื้นที่, ที่ดิน (site, ground, field, plot)

(3) มูลฐาน, รากฐาน, ฐานรองรับ, แก่นสาร, ธาตุ (basis, foundation, seat, (objective) substratum, substance, element)

(4) โอกาส, เหตุผล, พื้นฐาน (occasion for, reason, ground)

(5) เนื้อหา, รูปเรื่อง, เรื่องราว, รายงาน (subject matter, subject, story, account)

(6) ข้อ หรือกระทง (ในข้อความ) (object, item)

ปุญฺญ + กิริยา = ปุญฺญกิริยา แปลว่า “การทำบุญ”

ปุญฺญกิริยา + วตฺถุ = ปุญฺญกิริยาวตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้งแห่งการทำบุญ” หมายถึง วิธีทำบุญ (the three or ten items of meritorious action; way of making merit)

ปุญฺญกิริยาวตฺถุ เขียนในภาษาไทยว่า “บุญกิริยาวัตถุ

บุญกิริยาวัตถุ – วิธีทำบุญ ตามแนวพระพุทธศาสนามี 2 ชุด :

ชุดเล็กมี 3 วิธี คือ ทาน ศีล ภาวนา เป็นวิธีที่รู้จักกันทั่วไป

ชุดใหญ่มี 10 วิธี คือขยายต่อจากชุดเล็กไปอีก 7 วิธี รวมเป็น 10 วิธี

บุญกิริยาวัตถุ – วิธีทำบุญ ทั้ง 10 วิธี มีดังนี้ :

(1) ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่น (เรียกเพื่อจำง่ายว่า ทำบุญให้ทาน)

(2) ศีล ควบคุมการกระทำและคำพูดให้เรียบร้อย (ทำบุญถือศีล)

(3) ภาวนา อบรมบ่มจิตใจให้สงบและรู้แจ้งเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง (ทำบุญภาวนา)

(4) อปจายนะ อ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ รู้จักเคารพกราบไหว้ (ทำบุญไหว้พระ)

(5) เวยยาวัจจะ ช่วยขวนขวายรับเป็นภารธุระในกิจการที่ถูกที่ควร (ทำบุญช่วยงาน)

(6) ปัตติทาน แบ่งส่วนบุญ หรืออุทิศส่วนบุญ คือเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ทำบุญแบ่งบุญ)

(7) ปัตตานุโมทนา อนุโมทนาส่วนบุญ คือยินดีในความดีของผู้อื่น (ทำบุญโมทนา)

(8) ธัมมัสสวนะ ฟังธรรมคำสั่งสอน ศึกษาหาความรู้ในทางความดี (ทำบุญฟังเทศน์)

(9) ธัมมเทสนา แสดงธรรม สั่งสอนธรรม ให้วิชาความรู้ (ทำบุญให้ธรรม)

(10) ทิฏฐุชุกรรม ทำความคิดความเห็นให้ถูกให้ตรง ไม่เห็นผิดเป็นชอบ (ทำบุญเห็นถูก)

ข้อสังเกต :

ในการทำบุญทั้ง 10 วิธี มีเพียง “ทานทำบุญให้ทาน” เท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์ อีก 9 วิธี แม้ไม่มีทรัพย์ก็สามารถทำได้

ต่อไปนี้เมื่อทำบุญ :

ใครชวนให้ควักกระเป๋า

บอกเขา-ว่าฉันรู้วิธีทำบุญ

17-4-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย