บาลีวันละคำ

นิคหกรรม (บาลีวันละคำ 1,087)

นิคหกรรม

อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ

ประกอบด้วย นิคห + กรรม

(๑) “นิคห

บาลีเป็น “นิคฺคห” (นิก-คะ-หะ) รากศัพท์มาจาก นิ (เข้า, ลง, ไม่มี, ออก) + คหฺ (ธาตุ = ถือ, จับ, ยึด) + ปัจจัย, ซ้อน คฺ

: นิ + + คหฺ + = นิคฺคห แปลตามศัพท์ว่า “ถือลง” หมายถึง ข่ม, ควบคุม, ตำหนิ, ติเตียน, กล่าวโทษ (restraint, control, rebuke, censure, blame)

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กรรม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย –

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

นิคฺคห + กมฺม = นิคฺคหกมฺม > นิคหกรรม แปลตามศัพท์ว่า “กรรมคือการข่ม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิคหกรรม : (คำนาม) ชื่อกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

นิคหกรรม : การลงโทษตามพระธรรมวินัย, สังฆกรรมประเภทลงโทษผู้ทำความผิด ท่านแสดงไว้ 6 อย่างคือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม และ ตัสสปาปิยสิกากรรม”

(1) ตัชชนียกรรม = “กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงขู่” คือปรามให้เข็ดหลาบ หรือขนาบให้เกรงกลัว, ข่มไว้ด้วยการตำหนิโทษ (the formal act of censure.)

(2) นิยสกรรม = “กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ” คือถอดยศ ลดฐานะ ทำให้หมดอำนาจหน้าที่ (the formal act of subordination; giving guidance; causing (a monk) to live (again) in dependence.)

(3) ปัพพาชนียกรรม = “กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย” คือการไล่ออกจากวัด, ขับออกจากหมู่คณะ, ให้สึก (the act of banishment; exile; the punishment made to a monk deserving to be expelled.)

(4) ปฏิสารณียกรรม = “กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุให้สำนึกผิด” คือบังคับให้ขอขมาเมื่อล่วงเกินคฤหัสถ์ (formal act of reconciliation.)

(5) อุกเขปนียกรรม = “กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย” คือตัดสิทธิ์ที่จะพึงได้บางอย่าง (the formal act of suspension; ostracism.)

(6) ตัสสปาปิยสิกากรรม = “กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม” คือลงโทษหนักกว่าความผิดฐานให้การกลับไปกลับมา (inflicting a penalty on one who is at fault; decision for specific depravity.)

: ไม่ลงโทษคนผิด บัณฑิตไม่ทำ

: ลงโทษคนไม่ผิด บัณฑิตก็ไม่ทำ

————–

(ชำระหนี้พระคุณท่าน Sunant Pramaha ติดค้างมาตั้งแต่ 22 มีนาคม 2558)

12-5-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย