บาลีวันละคำ

วุฒ – วุฒิ (บาลีวันละคำ 1,086)

วุฒวุฒิ

วุฒ อ่านว่า วุด

วุฒิ อ่านว่า วุด-ทิ ก็ได้ อ่านว่า วุด ก็ได้ (ตาม พจน.54) แต่ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย (วุฒิ-) อ่านว่า วุด-ทิ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) วุฒ : (คำวิเศษณ์) เจริญแล้ว; สูงอายุ. (ป. วุฑฺฒ; ส. วฺฤทฺธ).

(2) วุฒิ, วุฒิ– : (คำนาม) ภูมิรู้; ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่. (ป. วุฑฺฒิ; ส. วฺฤทฺธิ).

(๑) “วุฒ

บาลีเป็น “วุฑฺฒ” (วุด-ทะ) รากศัพท์มาจาก วฑฺฒฺ (ธาตุ = เจริญ) + ปัจจัย, แผลง อะ ที่ -(ฑฺฒ) เป็น อุ, แปลง ฑฺฒ เป็น , แปลง เป็น

: วฑฺฒฺ > วุฑฺฒ > วุฑ + = วุฑต > วุฑฺฒ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เจริญ” หมายถึงผู้มีพัฒนาการไปในทางใดทางหนึ่ง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วุฑฒ” ว่า old (แก่), venerable (เป็นที่เคารพสักการะ)

(๒) “วุฒิ

บาลีเป็น “วุฑฺฒิ” (วุด-ทิ) รากศัพท์มาจาก วทฺธฺ (ธาตุ = เจริญ) + ติ ปัจจัย, แผลง อะ ที่ -(ทฺธ) เป็น อุ, ลบ , แปลง ธฺ ที่สุดธาตุ เป็น ฑฺ, แปลง ที่ ติ ปัจจัยเป็น

: วทฺธฺ > วุทฺธ > วุธ > วุฑ + ติ = วุฑฺติ > วุฑฺฒิ

อีกนัยหนึ่ง “วุฑฺฒิ” รากศัพท์มาจาก วฑฺฒฺ (ธาตุ = เจริญ) + ติ ปัจจัย, แผลง อะ ที่ -(ฑฺฒ) เป็น อุ, แปลง ฑฺฒ เป็น , แปลง เป็น

: วฑฺฒ > วุฑฺฒ > วุฑ + ติ = วุฑติ > วุฑฺฒิ

วุฑฺฒิ” นักเรียนมักแปลกันว่า “ความเจริญ” และเข้าใจกันในภาษาอังกฤษว่า development แต่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วุฑฒิ” ว่า increase, growth, furtherance, prosperity (การเพิ่ม, ความงอกงาม, ความคืบหน้า, ความรุ่งเรือง)

หลักภาษา :

(1) “วุฑฺฒ” ในภาษาไทยตัด ออก เป็น “วุฒ” แปลว่า “ผู้เจริญ” (วุฒบุคคล) เป็นคุณศัพท์ หรือที่นักเรียนบาลีเรียกว่า “วิเสสนะ” (วิ-เส-สะ-นะ) ไวยากรณ์ไทยเรียกว่า “คำวิเศษณ์”

(2) “วุฑฺฒิ” ในภาษาไทยตัด ออก เป็น “วุฒิ” แปลว่า “ความเจริญ” เป็นคำนาม

ในคัมภีร์แสดงบุคคลที่เรียกว่า วุฑฺฒ > วุฒบุคคล ไว้ 3 จำพวก คือ :

1 ชาติวุฑฺฒ (ชา-ติ-วุด-ทะ) > ชาติวุฒ (ชาด-ติ-วุด) = ผู้เจริญโดยชาติตระกูล หรือตำแหน่งฐานะ

2 วยวุฑฺฒ (วะ-ยะ-วุด-ทะ) > วัยวุฒ (ไว-ยะ-วุด) = ผู้เจริญโดยวัย คือมีอายุมาก

3 คุณวุฑฺฒ (คุ-นะ-วุด-ทะ) > คุณวุฒ (คุน-นะ-วุด) = ผู้เจริญโดยคุณ คือผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และคุณธรรมความประพฤติดีงาม

: อย่าให้เขาไหว้ เพียงเพราะเกิดก่อน

: อย่าให้เขายอมอ่อน เพียงเพราะมีตำแหน่งฐานะสูงกว่า

: แต่จงให้เขาศรัทธา เพราะมีคุณธรรมความดี

11-5-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย