บาลีวันละคำ

สาธยาย (บาลีวันละคำ 1,090)

สาธยาย

อ่านว่า สา-ทะ-ยาย และ สาด-ทะ-ยาย

บาลีเป็น “สชฺฌาย” อ่านว่า สัด-ชา-ยะ

สชฺฌาย” รากศัพท์มาจาก (มี, พร้อม, ของตน) + อธิ (ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) อิ (ธาตุ = สวด, ศึกษา) + ปัจจัย, แปลง อธิ เป็น อชฺฌ, แปลง อิ เป็น , ทีฆะ (ยืดเสียง) (อะ) ที่ – เป็น อา

: + อธิ > อชฺฌ = สชฺฌ + อิ > = สชฺฌย > สชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสวดพร้อมหมดอย่างยิ่ง” “การศึกษาอย่างยิ่ง (ซึ่งมนตร์) ของตน

สชฺฌาย” หมายถึง การสาธยาย, การสวด, การท่อง (repetition, rehearsal study)

สชฺฌาย” สันสกฤตเป็น “สฺวาธฺยาย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สฺวาธฺยาย : (คำนาม) การอัธยายมนตร์เงียบๆ หรือสังวัธยายมนตร์ในใจ; เวทหรือพระเวท; การอัธยายหรือศึกษาพระเวท; inaudible reading or muttering of prayers; the Vedas or scripture; perusal or study of the Vedas.”

สชฺฌาย” ในภาษาไทยใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “สาธยาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาธยาย : (คำนาม) การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ภาษาปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).”

สชฺฌาย > สฺวาธฺยาย > สาธยาย หรือการท่องจำเป็นขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการศึกษาตามวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีป คือขั้นการรับรู้และซึมซับข้อมูล ต่อจากนั้นไปจึงเป็นการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล สังเคราะห์ ประมวลข้อมูล แล้วสรุปผลลงเป็นหลักวิชาแล้วนำไปใช้ตามประสงค์ และสุดท้ายก็วนกลับไปที่ “สาธยาย” อีก คือการทบทวนเพื่อมิให้ลืมเลือนกฎหรือสูตรของวิทยาการนั้นๆ รวมทั้งเป็นการสรุปความก้าวหน้าหรือข้อบกพร่องไปด้วยในตัว

ควรเข้าใจให้ตรงกัน :

๑ นักคิดบางสำนักในบ้านเราโจมตีวิธีท่องจำว่าเป็นการสอนคนให้เป็นนกแก้วนกขุนทอง คิดอะไรไม่เป็น จึงสอนนักเรียนโดยไม่ให้มีการท่องจำ

๒ ตามธรรมชาติ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท “ปัญจโวการภพ” (ปัน-จะ-โว-กา-ระ-พบ) คือมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ :

1 ร่างกาย (corporeality)

2 ความรู้สึก (feeling; sensation)

3 ความจำ (perception)

4 ความคิด (mental formations; volitional activities)

5 ความรู้เข้าใจ (consciousness)

๓ วิธีสาธยายหรือท่องจำเป็นการใช้งานตามธรรมชาติของชีวิต และเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเท่านั้นของกระบวนการศึกษา ไม่ใช่ทั้งหมดของการศึกษา และไม่ใช่จบลงเพียงแค่ท่องจำ แต่ยังจะต้องส่งต่อไปยังความคิด ความรู้เข้าใจต่อไปอีก

๔ การจะให้เกิดผลคือจำข้อมูลได้ การ “สาธยาย-ท่องจำ” นับว่าเป็นวิธีตามธรรมชาติของมนุษย์สากล สำหรับมนุษย์ที่รังเกียจวิธีนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะคิดค้นวิธีอื่นได้อีก แต่จะไม่ให้มนุษย์ต้องจำอะไรเลยนั้นคือผิดธรรมชาติ

อุปมาอุปไมย :

การสาธยายเป็นกระบวนการเก็บข้อมูลความรู้ไว้ในสมอง

เมื่อถึงเวลาต้องการ ก็เปิดออกมาใช้ได้ทันที ฉันใด

การทำบุญก็เป็นกระบวนการเก็บเสบียงไว้ในใจ

เมื่อถึงเวลาต้องจากไป ก็พร้อมเดินทางได้ทันที ฉันนั้น

15-5-58

ต้นฉบับ