บาลีวันละคำ

คณะราษฎร (บาลีวันละคำ 1,125)

คณะราษฎร

อ่านว่า คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน

ประกอบด้วย คณะ + ราษฎร

(๑) “คณะ

บาลีเป็น “คณ” (คะ-นะ) รากศัพท์มาจาก คณฺ (ธาตุ = นับ) + ปัจจัย แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนย่อยที่นับรวมกัน

(1) เมื่อใช้คำเดียว หมายถึง กลุ่มคน, ฝูงชน, คนจำนวนมากมาย (a crowd, a multitude, a great many)

(2) เมื่อใช้เป็นส่วนท้ายคำสมาส หมายถึงการรวมเป็นหมู่ของสิ่งนั้นๆ (a collection of) กล่าวคือ กลุ่ม, ฝูงชน, มวล; ฝูง, ฝูงสัตว์; โขลง, หมู่, การรวมกันเป็นหมู่ (a multitude, mass; flock, herd; host, group, cluster)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “คณ-, คณะ” ไว้ดังนี้ –

(1) หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่).

(2) กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว.

(3) หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์.

(4) จำนวนคำที่กำหนดไว้ในการแต่งร้อยกรองแต่ละประเภท โดยแบ่งเป็นบท บาท และวรรค เช่น คณะของกลอนแปด ๑ บท มี ๒ บาท แต่ละบาทมี ๒ วรรค แต่ละวรรคมี ๖ ถึง ๙ คำ.

ในที่นี้ “คณะ” มีความหมายตามข้อ (2)

(๒) “ราษฎร

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “รฏฺฐ” (รัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) รฐฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ฐต เป็น ฏฐ

: รฐฺ + = รฐต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นที่เป็นไปแห่งชาวเมือง

(2) รชิ (ธาตุ = เจาะ, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบสระท้ายธาตุ, แปลง ชต เป็น ฏฐ

: รชิ > รช + = รชต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นเหตุให้พระราชาทั้งหลายทำลายป้อมค่ายกัน” (ในการเข้ายื้อแย่งเพื่อยึดครองดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง)

รฏฺฐ” ความหมายที่เข้าใจกันก็คือ ดินแดน, อาณาจักร, ประเทศ, แผ่นดิน, บ้านเมือง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รฏฺฐ” ว่า reign, kingdom, empire; country, realm (รัฐ, อาณาจักร, จักรวรรดิ, ประเทศ, แผ่นดิน)

รฏฺฐ สันสกฤตเป็น “ราษฺฏฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ, ความหมายที่ท่านให้ไว้ในภาษาไทยบางคำเข้าใจยาก ถ้าดูภาษาอังกฤษอาจช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น)

ราษฺฏฺร : (คำนาม) ประเทศ; ราษฎร, ประชา; ชนวิบัททั่วไป; a realm or region, a country; the people; any public calamity.”

รฏฺฐ > ราษฺฏฺร ภาษาไทยใช้เป็น “ราษฏร” (ราด-สะ-ดอน) และ “ราษฎร์” (ราด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ราษฎร, ราษฎร์ ๑ : (คำนาม) พลเมืองของประเทศ. (ส.).

(2) ราษฎร์ ๒ : (คำนาม) แว่นแคว้น, บ้านเมือง. (ส.; ป. รฏฺฐ).

โปรดสังเกตในพจนานุกรม :

๑ เขียน “ราษฎร” อ่านว่า ราด-สะ-ดอน เขียน “ราษฎร์” (การันต์ที่ ) อ่านว่า ราด

๒ “ราษฎร” (ราด-สะ-ดอน) หมายถึงพลเมืองของประเทศ ไม่ได้หมายถึงแว่นแคว้น, บ้านเมือง แต่ “ราษฎร์” (ราด) หมายถึงพลเมืองของประเทศด้วย หมายถึงแว่นแคว้น, บ้านเมืองด้วย

คณะ + ราษฎร = คณะราษฎร เป็นคำประสม หมายถึง คณะของราษฎร

คณะราษฎร” เป็นชื่อเรียกกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

———–

อำนาจของราษฎรมีอยู่แต่ในทฤษฎี

แต่ไม่เคยมีในความเป็นจริง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘

24-6-58

ต้นฉบับ