บาลีวันละคำ

วิจารณ์ พิจารณ์ พิจารณา วิจารณญาณ (บาลีวันละคำ 1,079)

วิจารณ์ พิจารณ์ พิจารณา วิจารณญาณ

ทั้ง 4 คำนี้มีคำที่เป็นหลักอยู่ 2 คำ คือ “วิจารณ” และ “ญาณ

(๑) “วิจารณ

บาลีอ่านว่า วิ-จา-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก วิ (พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + จรฺ (ธาตุ = สั่งสม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น , ยืดเสียง อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา

: วิ + จรฺ = วิจร + ยุ > อน = วิจรน > วิจารน > วิจารณ

วิจารณ” ยังมีรูปเป็น “วิจารณา” อีกด้วย รากศัพท์เหมือนกัน เพียงแต่ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: วิจารณ + อา = วิจารณา

วิจารณ > วิจารณา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาเป็นเครื่องสั่งสมอย่างพิเศษ” หมายถึง :

(1) การสืบสวน, การตรวจสอบ, การพิจารณา, การไตร่ตรอง, การแสวงหา, การเอาใจใส่ (investigation, examination, consideration, deliberation, search, attention)

(2) การจัดแจง, การวางแผน, การดูแล, แผนการ (arranging, planning, looking after; scheme)

(๒) “ญาณ

บาลีอ่านว่า ยา-นะ รากศัพท์มาจาก ญา (ธาตุ = รู้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น

: ญา + ยุ > อน = ญาน > ญาณ แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องช่วยรู้” “สิ่งที่เป็นเหตุให้รู้” “รู้สิ่งที่พึงรู้” หมายถึง ความรู้, ปัญญา, การหยั่งเห็น, ความเข้าใจ, การหยั่งรู้, การรับรู้, ความคงแก่เรียน, ทักษะ, ความฉลาด (knowledge, intelligence, insight, conviction, recognition, learning, skill)

ญาณ” ในความหมายพิเศษ หมายถึงปัญญาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างแจ่มชัดจนเกิดความสว่างไสวในดวงจิต หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษถึงเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ญาณ” ในภาษาไทย :

– ถ้ามีคำอื่นมาสมาสท้าย อ่านว่า ยา-นะ- หรือ ยาน-นะ- เช่น ญาณสังวร (ยา-นะ-สัง-วอน, ญาน-นะ-สัง-วอน)

– ถ้าอยู่เดี่ยวหรือเป็นส่วนท้ายของสมาส อ่านว่า ยาน เช่น วชิรญาณ (วะ-ชิ-ระ-ยาน)

วิจารณ และ วิจารณา ใช้ในภาษาไทยเปลี่ยนรูปและความหมายไปตามหลักนิยมของไทย ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ดังนี้ :

(1) วิจารณ์ การันต์ที่ อ่านว่า วิ-จาน

ความหมาย : วิจารณ์ : (คำกริยา) ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.

(2) พิจารณ์ แปลง เป็น การันต์ที่ อ่านว่า พิ-จาน

(3) พิจารณา แปลง เป็น อ่านว่า พิ-จา-ระ-นา

ความหมาย : พิจารณ์, พิจารณา : (คำกริยา) ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน.

(4) วิจารณ + ญาณ = วิจารณญาณ อ่านว่า วิ-จา-ระ-นะ-ยาน (เป็นคำผสมแบบบาลีไทย ยังไม่พบรูปคำเช่นนี้ในคัมภีร์บาลี)

ความหมาย : วิจารณญาณ : ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้องได้.

: ถ้าไร้วิจารณญาณ

: บัณฑิตกับพาลก็ไม่ต่างกัน

————-

(คงจะติดหนี้กันมานาน วัชรวุฒิ รักในหลวง จึงทวงขอให้ชำระความหมาย)

4-5-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย