บาลีวันละคำ

อับหายาคีรี (บาลีวันละคำ 1,127)

อับหายาคีรี

จาก “อภัยคีรี” ถึง “อภัยมณี

มีคำที่เขียนเป็นอักษรโรมันคำหนึ่งว่า Abhayagiri

มีผู้ถอดคำนี้เป็นอักษรไทยว่า “อับหายาคีรี” คือแยกเป็น Ab-ha-ya-giri

ความจริงคำ Abhayagiri นี้ มีชื่อเรียกในคัมภีร์บาลีอยู่แล้วว่า “อภยคิริ” คือต้องแยกเป็น A-bha-ya-giri ที่แยกเป็น Ab-ha-ya-giri เข้าใจว่าเกิดจากผู้ถอดคำไม่คุ้นหรือไม่รู้จักชื่อนี้

อภยคิริ เขียนแบบไทยเป็น “อภัยคีรี” ประกอบด้วย อภัย + คีรี

(๑) “อภัย

บาลีเป็น “อภย” (อะ-พะ-ยะ) ประกอบด้วย (= ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + ภย

(1) “ภย” รากศัพท์มาจาก ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี (ที่ ภี) เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ภี + = ภีณ > ภี > เภ > ภย แปลตามศัพท์ว่า “ความกลัว” หมายถึง ความกลัว, ความตกใจกลัว, ความหวาดหวั่น (fear, fright, dread)

(2) + ภย

กฎการประสมของ + :

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น อ-

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ แปลง เป็น อน-

ในที่นี้ “ภย” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น

: > + ภย = อภย

อภย” ใช้เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า ปลอดจากความกลัวหรืออันตราย, ไม่มีความกลัว, ปลอดภัย (free from fear or danger, fearless, safe) ใช้เป็นคำนาม มีความหมายว่า ความไว้วางใจ, ความปลอดภัย (confidence, safety)

(๒) “คีรี

บาลีเป็น “คิริ” (คิ-ริ) รากศัพท์มาจาก คิรฺ (ธาตุ = ไหลออก, คาย) + อิ ปัจจัย

: คิรฺ + อิ = คิริ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่คายสมุนไพรออกมา” “สถานที่คายน้ำและตัวยาออกมา” หมายถึง ภูเขา (a mountain)

คิริ” ในภาษาไทยใช้เป็น “คีรี” (โปรดสังเกต บาลีเป็น คิริ -สระ อิ, ไทยเป็น คีรี -สระ อี)

อภย + คิริ = อภยคิริ > อภัยคีรี

อภัยคีรี” ชื่อเดิมคำเต็มคือ “อภยคิริวิหาร” หรือ “อภัยคีรีวิหาร

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

(1) อภยคิริวิหาร : ชื่อวัดที่พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ได้สร้างถวายพระติสสเถระในเกาะลังกา ซึ่งได้กลายเป็นเหตุให้สงฆ์ลังกาแตกแยกกัน แบ่งเป็นคณะมหาวิหารเดิมฝ่ายหนึ่ง คณะอภยคิริวิหารฝ่ายหนึ่ง; มักเรียก อภัยคีรี

(2) วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 505–527 ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รับความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ 5 ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้

ลากเข้าวัด :

นิทานคำกลอนที่ขึ้นชื่อที่สุดของสุนทรภู่ คือ “พระอภัยมณี” ขนาดเรียกกันสั้นๆ ว่า “พระอภัย” ก็เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึง “พระอภัยมณี” ชื่อนิทานเรื่องนี้ตั้งตามชื่อพระเอกในเรื่อง คือ “พระอภัยมณี

สถานที่ในเรื่องพระอภัยมณีเกี่ยวข้องกับเกาะลังกา และในเกาะลังกาก็มีพระเจ้าแผ่นดินที่มีชื่อเสียงโด่งดังพิเศษปรากฏอยู่ในพงศาวดาร คือ พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย

จึงมีผู้สันนิษฐานว่า ชื่อ “อภัยมณี” นี้สุนทรภู่น่าจะแปลงมาจากชื่อพระเจ้า “วัฏฏคามณีอภัย” นี่เอง

เพิ่มเติม : มณี

มณี” บาลีเป็น “มณิ” (ภาษาไทยสระ อี บาลีสระ อิ แต่ที่เป็น “มณี” เหมือนในภาษาไทยก็มีบ้าง) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สิ่งที่ให้รู้ถึงความมีค่ามาก” (หมายถึงเป็นของที่มีค่ามาก)

(2) “สิ่งที่เป็นเหตุให้นับถือเครื่องอาภรณ์” (หมายถึงทำให้เครื่องประดับมีคุณค่า)

(3) “สิ่งที่ยังความมืดให้พินาศไป” (ธรรมชาติของมณีจะมีแสงในตัว)

ความหมายที่รู้กัน “มณี” ก็คือ แก้วมณี, รัตนะ, เพชรพลอย (a gem, jewel)

อภัยมณี : เมื่อให้อภัย หัวใจก็เป็นแก้วทันที

26-6-58

ต้นฉบับ