บาลีวันละคำ

บริเวณ (บาลีวันละคำ 1,132)

บริเวณ

อ่านว่า บอ-ริ-เวน

บาลีเป็น “ปริเวณ” อ่านว่า ปะ-ริ-เว-นะ

ปริเวณ” รากศัพท์มาจาก : ปริโต เวตีติ ปริเวณํ

ปริ (รอบ) + วี (ธาตุ = เป็นไป, แผ่ไป) + ปัจจัย, แปลง อี (ที่ วี) เป็น เอ, คง ปัจจัยไว้ ( ปัจจัย ปกติเมื่อลงแล้วจะลบออก)

: ปริ + วี + = ปริวีณ > ปริเวณ แปลตามศัพท์ว่า “พื้นที่ที่เป็นไปโดยรอบ” “พื้นที่ที่แผ่ไปโดยรอบ

ปริเวณ” หมายถึง :

(1) บริเวณ, อาณาเขต, สิ่งทั้งหมดที่เป็นของปราสาทหรือบ้านและส่วนประกอบ (compound, precinct, all that belongs to a castle, a mansion and its constituents)

(2) กุฎีหรือห้องส่วนตัวของภิกษุ (a cell or private chamber for a bhikkhu)

ปริเวณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “บริเวณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บริเวณ : (คำนาม) พื้นที่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ เช่น บริเวณบ้าน บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง. (ป., ส. ปริเวณ).

ความรู้เพิ่มเติม :

ปริเวณ” ในภาษาบาลีมักหมายถึง –

๑ เขตย่อยในพื้นที่ส่วนรวมที่กำหนดไว้เป็นส่วนตัวของบุคคล เช่นภายในวัด ( = พื้นที่ส่วนรวม) ในสมัยพุทธกาลแบ่งเป็นเขตที่พระภิกษุแต่ละองค์พักอาศัย ( = พื้นที่ส่วนตัว) ก็เรียกว่า “บริเวณ (ของพระองค์นั้น)” เช่น “บริเวณพระมหากัสสปะ” “บริเวณพระอานนท์

๒ พื้นที่ทั่วไปที่มีสิ่งสำคัญ เช่นมีต้นมหาโพธิ์หรือเจดีย์ มีผู้กั้นรั้วล้อมรอบสิ่งนั้นไว้ภายใน ก็เรียกว่า “บริเวณ” เช่น “บริเวณโพธิ์” “บริเวณเจดีย์

ปริเวณบริเวณ” ตามนัยนี้จะเห็นว่ามุ่งหมายถึงเขตที่มีบุคคลหรือสิ่งสำคัญอยู่ภายใน มิได้มุ่งหมายถึงพื้นที่รอบๆ ของอาคารหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือพื้นที่ว่างทั่วไปดังที่เข้าใจกันในชั้นหลัง

: โปรดช่วยกันจำกัดบริเวณของความชั่ว

: ระวังอย่าให้รั่วออกมาจากไตรทวาร

1-7-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย