บาลีวันละคำ

เหรัญญิก (บาลีวันละคำ 1,135)

เหรัญญิก

อ่านว่า เห-รัน-ยิก

บาลีเป็น “เหรญฺญิก” อ่านว่า เห-รัน-ยิ-กะ

เหรญฺญิก” ประกอบด้วย หิรญฺญ + ณิก ปัจจัย

(๑) “หิรญฺญ” (หิ-รัน-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) หรฺ (ธาตุ = แสวงหา, นำไป) + ปัจจัย, แปลง ะ ที่ -(รฺ) เป็น อิ, ซ้อน

: หรฺ > หิร + + = หิรญฺญ แปลตามศัพท์ว่า (1) “วัตถุอันคนแสวงหากันเพราะเป็นของล้ำค่า” (2) “วัตถุที่ดึงดูดใจสัตว์โลก

(2) หา (ธาตุ = ละ, ทิ้ง, ถึง) + ญฺญ ปัจจัย, แปลง หา เป็น หิร

: หา > หิร + ญฺญ = หิรญฺญ แปลตามศัพท์ว่า (1) “วัตถุที่สละประโยชน์เพื่อสัตว์โลก” (เสมือนวัตถุชนิดนั้นสละตัวเองเพื่อประโยชน์ของผู้คน) (2) “วัตถุที่ถึงความล้ำค่า

หิรญฺญ” หมายถึง เงิน, ทอง, ชิ้นเงิน (gold, gold-piece) คือหมายถึงตัววัตถุ ไม่ใช่ราคาค่าของวัตถุ

(๒) หิรญฺญ + ณิก, ลบ ที่ ณิก (ณิก > อิก), แผลง อิ ที่ หิ-(รญฺญ) เป็น เอ (หิ > เห)

: หิรญฺญ + ณิก > อิก = หิรญฺญิก > เหรญฺญิก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประกอบอยู่ในทองคำเป็นต้นที่ยังไม่แปรรูป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เหรญฺญิก” ว่า banker, money-changer (ผู้เก็บเงิน, ผู้แลกเงิน)

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล “เหรัญญิก” ว่า treasurer of an association

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล treasurer เป็นบาลีว่า

(1) bhaṇḍāgārika ภณฺฑาคาริก (พัน-ดา-คา-ริ-กะ) = ผู้ดูแลคลัง

(2) kosarakkhaka โกสรกฺขก (โก-สะ-รัก-ขะ-กะ) = ผู้รักษาคลัง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภณฺฑาคาริก” ว่า keeper of stores; surveyor of the warehouses, royal treasurer (ผู้รักษาพัสดุ; ผู้ตรวจคลัง, พระยาคลัง)

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ไม่ได้แปล treasurer เป็นบาลีว่า “เหรญฺญิก” และพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็ไม่ได้แปล “เหรญฺญิก” เป็นอังกฤษว่า treasurer

คำบาลีที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า treasurer คือ “ภณฺฑาคาริก

ในภาษาบาลี “เหรญฺญิก” หมายถึงผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการผลิตและเก็บรักษาตัวเงินคือเหรียญกษาปณ์ (ถ้าเป็นสมัยนี้ก็รวมทั้งธนบัตรด้วย) เชี่ยวชาญเฉพาะทางตรวจสอบเงินปลอมเงินแท้ ไม่ได้เล็งถึงผู้ทำหน้าที่รับ-จ่ายเงินของหน่วยงาน ที่เราเรียกกันว่า “เจ้าหน้าที่การเงิน” อันเป็นความหมายของ “เหรัญญิก” ในภาษาไทย ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เหรัญญิก : (คำนาม) ตําแหน่งกรรมการเจ้าหน้าที่ของสมาคมเป็นต้น ทําหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน.”

: จงแปรรูปเงินทองให้เป็นบุญ

: แต่อย่าแปรรูปบุญออกมาเป็นเงินทอง

4-7-58

ต้นฉบับ