บาลีวันละคำ

กัปปิยภัณฑ์ (บาลีวันละคำ 1,149)

กัปปิยภัณฑ์

อ่านว่า กับ-ปิ-ยะ-พัน

บาลีเป็น “กปฺปิยภณฺฑ” อ่านว่า กับ-ปิ-ยะ-พัน-ดะ

ประกอบด้วย กปฺปิย + ภณฺฑ

(๑) “กปฺปิย” (กับ-ปิ-ยะ)

รากศัพท์มาจาก กปฺป + อิย ปัจจัย

(1) กปฺป รากศัพท์มาจาก กปฺป (ธาตุ = กำหนด) + ปัจจัย

: กปฺป + = กปฺป แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะอันเขากำหนดขึ้น

(2) กปฺป + อิย = กปฺปิย มีความหมายว่า เหมาะสม, สมควร, ถูกต้อง, เหมาะเจาะ (fitting, suitable, proper)

(๒) “ภณฺฑ” (พัน-ดะ)

รากศัพท์มาจาก ภฑิ (ธาตุ = ห่อ, เก็บ) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (ภฑิ > ภํฑิ) แล้วแปลงเป็น , ลบ และสระที่สุดธาตุ

: ภฑิ > ภํฑิ > ภณฺฑิ + = ภณฺฑิก > ภณฺฑิ > ภณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบุคคลพึงห่อเก็บ” เดิมหมายถึงสิ่งซึ่งสามารถห่อแล้วเก็บไว้ได้ ต่อมาความหมายขยายไปถึงสิ่งของทั่วไป

ภณฺฑ หมายถึง (1) ของค้าขาย; สินค้า, สิ่งของ, ทรัพย์สมบัติ (stock in trade; collectively goods, wares, property, possessions) (2) เครื่องใช้, วัตถุ, เครื่องมือ (implement, article, instrument)

กปฺปิย + ภณฺฑ = กปฺปิยภณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งของอันสมควร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กปฺปิยภณฺฑ” ว่า utensils allowable to the Bhikkhus (เครื่องใช้ที่อนุญาตให้ภิกษุใช้ได้)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กัปปิยภัณฑ์ : (คำนาม) สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือจีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.”

เก็บไว้เป็นความรู้ :

๑ ถวาย “สังฆทาน” เป็นอาหาร (ถวายก่อนเที่ยง) คำถวายว่า อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ …

๒ ถวาย “สังฆทาน” เป็น “ของใช้” คือสิ่งของต่างๆ ที่สมควรแก่ภิกษุ และไม่มี “ของฉัน” คืออาหาร (ถวายได้ทั้งวัน) อย่าใช้คำว่า “สังฆะทานานิ” แทนคำว่า “ภัตตานิ” ให้ใช้คำว่า “กัปปิยะภัณฑานิ” และไม่ต้องมีคำว่า “สะปะริวารานิ”

——

เหมาะสม อาจจะไม่ดีเสมอไป ?

: ถ้าเอาความดีเป็นความเหมาะสม

: ก็ไม่ต้องปรารมภ์ว่าเหมาะสมแล้วจะไม่ดี

18-7-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย