บาลีวันละคำ

กาเมสุมิจฉาจาร (บาลีวันละคำ 1,154)

กาเมสุมิจฉาจาร

อ่านว่า กา-เม-สุ-มิด-ฉา-จาน

ประกอบด้วย กาเมสุ + มิจฉาจาร

(๑) “กาเมสุ” (กา-เม-สุ)

ศัพท์เดิมคือ “กาม” (กา-มะ) รากศัพท์มาจาก กมุ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(มุ) เป็น อา, ลบสระที่สุดธาตุ (-มุ > )

: กมุ + = กมุณ > กมุ > กามุ > กาม แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทำให้ปรารถนา” หมายถึง –

(1) ความรื่นรมย์, สิ่งที่ให้ความเพลิดเพลิน, สิ่งที่ให้ความบันเทิงทางกาม pleasantness, pleasure-giving, an object of sensual enjoyment;

(2) ความสนุกเพลิดเพลิน, การพึงพอใจจากการรู้สึก (enjoyment, pleasure on occasion of sense) ความใคร่ (sense-desire)

(๒) “มิจฉาจาร

บาลีเป็น “มิจฺฉาจาร” (มิด-ฉา-จา-ระ) ประกอบด้วย มิจฺฉา (ผิด) + จาร (ความประพฤติ, การปฏิบัติ)

: มิจฺฉา + จาร = มิจฺฉาจาร แปลว่า ความประพฤติผิด, การปฏิบัติผิด (wrong behaviour)

กาเมสุ + มิจฺฉาจาร = กาเมสุมิจฺฉาจาร เขียนแบบไทยเป็น “กาเมสุมิจฉาจาร” (ไม่มีจุดใต้ ที่ –มิจ-) แปลตามศัพท์ว่า “ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย” หมายถึงการล่วงละเมิดทางเพศกับบุคคลต้องห้าม

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

กาเมสุมิจฉาจาร (Kāmesumicchācāra) : sexual misconduct; sensual misconduct; unlawful sexual intercourse; adultery.”

ควรรู้ :

กาเมสุมิจฉาจาร” คำนี้เป็นบาลีไม่ลบวิภัตติ กล่าวคือ :

๑ ศัพท์เดิมเป็น “กาม” (กา-มะ) นำไปแจกวิภัตติเป็น “กาเมสุ” (กา-เม-สุ) แปลตามศัพท์ว่า “ในกามทั้งหลาย

๒ เมื่อนำมาสมาสกับคำว่า “มิจฺฉาจาร” เป็น กาเมสุ + มิจฺฉาจาร ตามกฎทั่วไป “กาเมสุ” ต้องคืนรูปเป็น “กาม” คือ : กาเมสุ + มิจฺฉาจาร = กามมิจฺฉาจาร

๓ แต่คำนี้คงรูป “กาเมสุ” ไว้ ดังนั้น : กาเมสุ + มิจฺฉาจาร = กาเมสุมิจฺฉาจาร

กาเมสุมิจฉาจาร” เป็นศีลข้อที่ 3 ในศีล 5 เป็นข้อ 3 ในกรรมกิเลส 4 และเป็นข้อ 3 ในอกุศลกรรมบถ 10

องค์ประกอบที่ตัดสินว่าเป็น “กาเมสุมิจฉาจาร” มี 4 คือ :

(1) อคมนียวตฺถุ บุคคลต้องห้าม คือเป็นผู้ที่มีเจ้าของหวงห้าม และตนไม่มีสิทธิ์ที่จะร่วมอภิรมย์

(2) ตสฺมึ  เสวนจิตฺตํ มีจิตเจตนาที่จะเสพสม

(3) เสวนปฺปโยโค ลงมือปฏิบัติการ

(4) มคฺเคน  มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสนํ อวัยวะถึงอวัยวะ

: ยุ่งยากที่จะหยุดอยาก

: แต่ถ้าไม่หยุดอยาก ก็ยากที่จะหยุดเรื่องยุ่งยาก

23-7-58

ต้นฉบับ